สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

เรื่องเล่าจากเบลเยียม 72 : สิทธิด้านสุขภาพของคนเข้าเมืองผิดกฎหมายในฝรั่งเศส

photo  , 720x960 pixel , 32,762 bytes.

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

เนื่องจากผมทำวิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสุขภาพสำหรับคนไร้รัฐ :กรณีศึกษาประเทศไทย ทำให้ได้ทบทวนบทเรียนจากประเทศต่างๆ และบทเรียนวิธีคิดของการดูแลคนไร้รัฐและคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของฝรั่งเศสนั้น น่าสนใจอย่างยิ่ง

ฝรั่งเศสผ่านการถกเถียงยาวนานระหว่างฝ่ายที่มีมุมมองด้านสิทธิมนุษยชนที่เห็นว่าเราควรดูแลคนทุกคนโดยไม่สนใจว่าชาติไหนหรือเข้าเมืองถูกกฎหมายหรือไม่ กับอีกฝ่ายที่ชาตินิยมกว่ามองว่าต้องให้ความเป็นธรรมกับคนฝรั่งเศสเองที่เสียภาษีด้วย และยิ่งช่วยมากเขาก็ยิ่งเข้ามามาก ถึงขนาดบางคนอพยพมายอมอยู่อย่างผิดกฎหมายเพื่อการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังที่รักษาได้ไม่ดีในบ้านเกิดของเขา

จนในที่สุดปี 2010 รัฐบาลก็ปรับระบบการดูแลสุขภาพผู้หลบหนีเข้าเมืองที่ผิดกฎหมายหรือคนที่เข้ามาอยู่เป็นพลเมืองแฝง รวมทั้งคนที่ขอลี้ภัยแต่ไม่ตรงเงื่อนไขใหม่ ซึ่งล้วนไม่ยอมกลับบ้านเกิดด้วยสารพัดเหตุผล ด้วยการตั้งองค์กรเฉพาะมาดูแลและใช้กลไกบันได 3 ขั้นในการค่อยๆเพิ่มสิทธิในการเข้าถึงระบบริการสุขภาพ

ในสามเดือนแรก เขาเหล่านั้นจะมีสิทธิรักษาฟรีเฉพาะโรคที่ฉุกเฉิน โรคติดต่อที่อาจแพร่ระบาดได้ การคลอดบุตร การทำแท้งหรืออุบัติเหตุเท่านั้น ด้วยความเชื่อว่าจะสามารถกีดกันคนต่างชาติไม่ให้อพยพเข้ามาเพื่อรับบริการทางการแพทย์ฟรีได้ แต่หากอยู่อาศัยครบสามเดือน ก็ให้นำหลักฐานเท่าที่มีเช่นบิลค่าน้ำค่าไฟไปแสดงตนว่าอยู่มาครบสามเดือนแล้ว สามารถขอรับสิทธิในการรักษาพยาบาลได้ แต่สิทธิยังจำกัด ไม่สามารถเข้าถึงการแพทย์ที่มีค่าใช้จ่ายสูงเช่น ทำฟันปลอม ผ่าตาต้อกระจกได้ แต่หากอยู่ทนจนครบ 3 ปี จะสามารถเข้าระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศเฉกเช่นประชาชนฝรั่งเศส คือหากยากจนก็มีสิทธิรักษาฟรี หากทำงานมีรายได้ในระดับหนึ่งขึ้นไปก็ต้องร่วมจ่ายตามกติกา เขาแยกแยะสิทธิในการขอเป็นพลเมืองออกจากสิทธิในการได้รับการดูแลทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

กลไกบันได 3 นี้คือสมดุลของทางออกระหว่างแนวคิดชาตินิยมกับแนวคิดอุดมตินิยมของรัฐฝรั่งเศสที่เชื่อใน เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ นับจากการปฏิวัติฝรั่งเศสถึงวันนี้ เสาหลักสามต้นนี้ยังดำรง

Relate topics

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว