สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

เรื่องเล่าจากเบลเยียม 25 : รถราง เสน่ห์แห่งขนส่งมวลชน

photo  , 640x480 pixel , 69,692 bytes.

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

รถรางเป็นระบบขนส่งที่มีสำคัญและเป็นเสน่ห์ของเมืองใหญ่ในยุโรป ให้ความรู้สึกเหมือนการได้นั่งรถไฟที่วิ่งกลางถนน ซึ่งให้ความรู้สึกดีกว่าการนั่งรถบัสมากๆ ที่เมือง Antwerp เริ่มมีระบบรถรางในปี 1873 โดยเป็นรถรางที่ใช้ม้าลาก หลังจากนั้นอีกถึง 30 ปีคือในปี 1902 หลังจากวางระบบสายไฟฟ้าเสร็จ จึงเริ่มระบบรถรางไฟฟ้าจนถึงปัจจุบัน ใช้กระแสไฟฟ้า 600 โวลท์เป็นพลังงาน รถรางที่นี่ส่วนใหญ่วิ่งบนดิน มีเพียงบางส่วนระยะทางสั้นๆที่วิ่งใต้ดิน การวิ่งไปตามท้องถนนจึงไม่ได้วิ่งเร็วเหมือนรถไฟใต้ดิน ต้องติดไฟแดง ต้องใช้ถนนร่วมกับรถยนต์ แต่ก็ถือว่าเป็นเจ้าถนนที่รถอื่นๆต้องเกรงใจ

ราคาตั๋วเดินทางใบละ 1.2 ยูโร ราวๆ 50 บาทครับต่อครั้ง (คิดอัตราแลกเปลี่ยน 40 บาท/ยูโร) ซึ่งถือว่าแพง หากเป็นตั๋วใบเดียวที่ใช้ 10 ครั้งก็จะเหลือครั้งละ 0.9ยูโร แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ เขาใช้ระบบตั๋วปี คือเราจ่ายล่วงหน้าทั้งปีไปเลย ราคานักเรียนอย่างผมก็ 30 ยูโร/ปี นั่งกี่ครั้งก็ได้ ซึ่งถือว่าถูกมากๆ ที่นี่บนรถรางมีเจ้าหน้าที่เพียงคนเดียวคือคนขับรถราง ไม่มีพนักงานตรวจตั๋ว ใช้ระบบสุภาพชน คือเชื่อใจ หากเราไม่มีตั๋วเดือนหรือตั๋วปี ก็สามารถซื้อตั๋วกับคนขับรถรางได้ หรือหากมีตั๋วที่ซื้อจากเครื่องอัตโนมัติอยู่แล้ว ก็นำมาตอกตั๋วเองกับเครื่องอ่านตั๋วอัตโนมัติ นานๆเจ้าหน้าที่ก็จะมาสุ่มตรวจครั้งหนึ่ง หากพบว่าไม่มีตั๋วก็ปรับหนักคือราว 80 ยูโร ดังนั้นคนส่วนใหญ่ก็ยอมซื้อตั๋วปีไปเลยเพราะถูกกว่าค่าปรับเพียงครั้งเดียว

เมืองไทยเราก็มีรถรางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ในปีพศ. 2431 หรือ คศ.1888 เป็นประเทศแรกในเอเชีย เรียกว่าตามหลังเมืองแอนเวิร์ปมาติดๆ แรกๆใช้ม้าลากเหมือนกัน อีก 7 ปีต่อมาไทยเราเปลี่ยนเป็นรถรางไฟฟ้า ตอนนั้นแอนเวิร์ปยังใช้ม้าลากอยู่เลย เรานำหน้าเขาไปแล้วก้าวหนึ่ง แต่เราชิงเลิกระบบรถรางปิดตำนานไปก่อนในปี พศ.2511 การฟื้นระบบรถรางในกรุงเทพที่รถติดสาหัสคงสิ้นหวัง แต่สำหรับหัวเมืองภูมิภาคเช่นเชียงใหม่ หาดใหญ่ โคราช ขอนแก่น น่าจะมีความเป็นไปได้สูงมาก ทำแล้วจะกำไรขาดทุนนั้นอันนี้ผมไม่รู้ รู้แต่ว่าเราจะพึ่งพาระบบรถสองแถวไปตลอดก็คงไม่ใช่

คนไทยในหัวเมืองก็ต้องการระบบขนส่งมวลชนเหมือนกันครับ สร้างแต่รถไฟฟ้าในกรุงเทพ ช่างสองมาตรฐานจริงๆประเทศไทย

Relate topics

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว