ประชุมวางแนวทางการจัดตั้งศูนย์จดทะเบียน และชมรมผู้พิการระดับอำเภอสิงหนคร
ประชุมวางแนวทางการจัดตั้งศูนย์จดทะเบียนและชมรมผู้พิการระดับอำเภอสิงหนคร วันที่ 14 พฤศจิกายน 2549 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสิงหนคร อ. สิงหนคร จ. สงขลา
- การดำเนินด้านคนพิการของเทศบาล
- อุดหนุนเบี้ยยังชีพ เดือนละ 500 บาท จำนวน 140 คน ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาล สิงหนคร ได้แก่
1.1 ต. สทิงหม้อ จำนวน 6 หมู่บ้าน 1.2 ต. ชิงโค จำนวน 4 หมู่บ้าน และมี หมู่ที่ 5 และ 6 บางส่วน 1.3 ต. หัวเขา จำนวน 8 หมู่บ้าน 1.4 ต. ทำนบ (บางส่วนรวมอยู่ในตำบลสทิงหม้อ) หน่วยงานที่ดำเนินงานด้านนี้ คือ กองสวัสดิการสังคม ซึ่งจะดูแลงานด้านผู้สูงอายุ คนพิการ เด็ก ได้มีการดำเนินกิจกรรม อบรมอาชีพ โดยจังหวัดได้มีการสนับสนุนงบประมาณ 50,000 บาท อุดหนุนเบี้ยยังชีพ โดยเป็นงบตั้งเบิกจากเทศบาล ปี 2549 รายละ 500 บาท เป็นจำนวน 128 ราย
- อุดหนุนเบี้ยยังชีพ เดือนละ 500 บาท จำนวน 140 คน ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาล สิงหนคร ได้แก่
- การดำเนินงานด้านคนพิการโรงพยาบาลสิงหนคร
- มีการจดทะเบียนผู้พิการไปแล้ว 55 ราย ยังไม่มีการจดทะเบียนจำนวน 12 ราย รับผิดชอบพื้นที่ จำนวน 4 หมู่บ้าน
- ดำเนินโครงการอบรมฟื้นฟูคนพิการ พัฒนาเครือข่าย อสม. เพื่อให้ อสม. ได้มีการทำงานในพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ มีการลงพื้นที่ดูแลสุขภาพผู้ป่วย การเยี่ยมบ้าน
- ให้ความรู้ในเรื่องสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆแก่ผู้พิการ รวมทั้งประสานงานในเรื่องสิทธิต่างๆ เช่น เบี้ยยังชีพ การทำบัตร ท.74 ออกใบรับรองความพิการ
แผนงานในอนาคต ประสานงานร่วมกับ อสม. สำรวจกลุ่มผู้พิการที่ยังไม่จดทะเบียน และเตรียมขยายเครือข่ายทั้ง อสม. ตัวแทนผู้พิการ และ สถานีอนามัย
การดำเนินงานของ อสม. ด้านคนพิการ
- ดำเนินงานควบคู่กับ อ.พมก. ในพื้นที่ ให้คำแนะนำแก่ผู้พิการ มารับรู้สิทธิ โดยในแต่ละตำบลจะมี อ.พมก. 1 คน รวมทั้งหมด 12 คน
4.การดำเนินงานด้านคนพิการขององค์การบริหารส่วนตำบล 1. สนับสนุนเงินยังชีพแก่ผู้พิการ รายละ 500 บาท ต่อเดือน 5.สถานีอนามัย 1. ให้ความรู้ในเรื่องสิทธิ ประสานฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สำรวจผู้พิการในพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดทำบัตรประจำตัวผู้พิการ 2. ประสานงานอำนวยความสะดวกในการนำส่งผู้พิการ ผู้ป่วย โดยการแบ่งพื้นที่โซน จำนวน 2 โซน ได้แก่ พื้นที่ ต. ชิงโค และต. ทำนบ
แนวทางการดำเนินชมรมผู้พิการ
1. โรงพยาบาลไม่สามารถจัดตั้งศูนย์จดทะเบียนคนพิการได้ ด้วยข้อจำกัดด้านบุคลากรแต่สามารถเปิดคลีนิคบริการด้านสุขภาพแก่ผู้พิการในช่วงบ่ายของทุกวัน
2. ควรให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพในชุมชน ผ่านกลไก อสม.
3. อ.พมก. ค้นหาคนพิการมาประชุม เพื่อคัดเลือกตัวแทนในระดับเครือข่าย วางโครงสร้างคณะทำงาน จัดตั้งกลุ่มชมรมคนพิการระดับตำบลและอำเภอ นำเสนอต่อ อบต. เพื่อให้อบต. รับทราบแนวทางการดำเนินงานด้านคนพิการ
4. ควรให้ อบต. มีการจัดทำแผนดูแลผู้พิการ และเป็นหน่วยสนับสนุนศูนย์เครือข่ายในพื้นที่ อบต. ซึ่งมีแนวทางว่า ผู้พิการควรมีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นในระดับตำบล แล้วค้นหาตันแทนทำงานขึ้นมาเป็นตัวแทนในระดับเครือข่าย เพื่อนำเสนอกิจกรรมของเครือข่าย เมื่อมีการทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอสิงหนคร
จบการประชุม
Relate topics
- ขาเทียมสำหรับผู้พิการขา
- เครือข่ายคนพิการในสงขลา
- "แม่นก" เธอมีความสุขแม้ลูกพิการ
- เร่งหาทางออกให้สถานประกอบการจ้างงานคนพิการ
- สธ.ทุ่ม 10 ล้านจัดหน่วยแพทย์ให้บริการผู้พิการและผู้สูงวัยใน ตจว.
- รายงานการประชุมวางแนวทางการจัดตั้งศูนย์จดทะเบียน และชมรมคนพิการ อ. จะนะ
- รายงานประชุมแนวทางการจัดตั้งชมรมคนพิการระดับอำเภอระโนด ในแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
- แผนสุขภาพประเด็นการดูแลผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
- รายงานการประชุมทำความเข้าใจและติดตามแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
- ร่างแผนสุขภาพจังหวัดสงขลาประเด็น การสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการและผู้ด้อยโอกาส