สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

ร่างแผนสุขภาพจังหวัดสงขลาประเด็น การสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการและผู้ด้อยโอกาส

photo  , 600x450 pixel , 84,478 bytes.

(ร่าง) แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา ประเด็น 5. การสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการและผู้ด้อยโอกาส

1. หลักการและเหตุผล

โดยภาพรวมของสุขภาวะของคนพิการจังหวัดสงขลา พบว่า คนพิการจำนวนมากยังคงไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือการบริการสุขภาพตามสิทธิ์ที่มีอยู่และระบบการบริการสุขภาพก็ยังไม่มีการประกันการเข้าถึงข้อมูลและการบริการตามสิทธิที่มีอยู่ได้  คนพิการไม่สามารถรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสมตามสภาพความพิการ ขาดข้อมูลข่าวสารในเรื่องสิทธิต่าง ๆ  ที่เป็นปัจจุบัน และมีความต้องการบริการสุขภาพส่วนบุคคลนอกเหนือจากการฟื้นฟูสมรรถภาพ คือด้านการป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรคเหมือนกับประชาชนทั่วไป การบริการทางการแพทย์เท่าที่มีและเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามชุดของความรู้หรือการนิยาม (วาทกรรม) ทางการแพทย์ และอาจกล่าวได้ว่ามิได้ให้การดูแลแบบองค์รวมกล่าวคือ เน้นด้านการรักษา มากกว่า การป้องกัน การฟื้นฟูสมรรถภาพและการส่งเสริมสุขภาพ ทำให้คนพิการมองสุขภาพเป็นเรื่องที่ต้องรอให้เกิดปัญหาแล้วรักษามากกว่าการป้องกัน ส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพตนเอง นอกจากนั้นการส่งเสริมสุขภาพก็ยังขาดองค์ความรู้ที่จำเป็นและจำเพาะในคนพิการแต่ละประเภทในทางปฏิบัติอีกมาก
ในภาพรวมด้านนโยบายและกฎหมายยังอยู่ในทิศทางการสงเคราะห์คนพิการมากกว่าการพัฒนาศักยภาพมนุษย์เพื่อความยั่งยืน นั่นคือยังคงสะท้อนทัศนะที่สังคมมองว่า คนพิการควรถูกกำหนดให้เป็นคนชั้นล่าง ที่ต้องรอรับการสงเคราะห์ กระบวนทัศน์ของระบบสุขภาพและสังคมโดยรวมในประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่ายังไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกับปัญหาความต้องการที่แท้จริงของคนพิการ ทำให้การสนองตอบหรือการบังคับใช้กฎหมายหลัก ที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการไม่สัมฤทธิ์ผลในแง่การสร้าง/พัฒนาสุขภาวะคนพิการเท่าที่ควร  ทำให้การทำงานที่ผ่านมาไม่ได้สร้างการเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับความพิการและคนพิการ อย่างลึกซึ้งถึงแก่นจริงๆ
นอกจากนี้ เรื่องราวในโลกความเป็นจริงของคนพิการยังคงเป็นสิ่งที่สังคมยังไม่รู้และไม่เข้าใจอย่างแท้จริง  ในแง่การทำงานขององค์กรคนพิการ โครงสร้างขององค์กรคนพิการมีความสัมพันธ์กันในแนวดิ่ง ศูนย์ความคิดและการจัดการอยู่ที่ส่วนกลาง ทำให้ไม่สามารถส่งข่าวสารที่เป็นปัจจุบันได้ทันเหตุการณ์ และไม่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้ในทุกระดับ ข้อมูลจะอยู่ที่องค์กรยังไม่ถึงคนพิการทุกคนโดยตรงได้ องค์กรคนพิการประเภทต่าง ๆ ในภาคใต้ยังไม่ได้ทำงานร่วมกันในเชิงแนวคิดและเครือข่ายมากนัก แต่ละองค์กรเน้นการทำงานเพื่อให้เกิดรูปธรรมของสิทธิของคนพิการประเภทของตนเองเป็นหลัก องค์กรคนพิการแต่ละประเภทยังไม่ได้รับการสนับสนุนเรื่องงบประมาณอย่างแท้จริง ไม่มีงบประมาณการดำเนินงานแบบต่อเนื่อง จึงต้องทำงานแบบพึ่งตนเอง ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และไม่ต่อเนื่อง การที่ขาดการทำงานในเชิงเครือข่ายประสานทำงานกัน ทำให้ไม่สามารถสร้างพลังในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ลงลึกไปถึงระดับฐานความคิดความเชื่อได้
จากสถานการณ์สุขภาวะคนพิการดังกล่าวที่การทำงานของแต่ละภาคส่วนขาดการบูรณาการเพื่อไปสู่ผลลัพธ์ของสุขภาวะที่เป็นองค์รวม จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนยุทธศาสตร์การทำงานและมีการระดมทรัพยากรเพิ่มขึ้นโดยต้องมีฐานปฏิบัติการที่เป็นเครือข่ายของภาคีองค์กรคนพิการ องค์กรภาครัฐและเอกชนที่มีความศรัทธาต่อแนวคิดที่ว่า "มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน คนพิการสามารถพัฒนาศักยภาพ หากได้รับโอกาสอย่างเสมอภาคเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี" องค์กรคนพิการและนักวิชาการที่ทำงานด้านคนพิการ จึงร่วมกันจัดทำ "แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา: แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการจังหวัดสงขลาขึ้น

2. ปรัชญาและวิสัยทัศน์

มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน คนพิการสามารถพัฒนาศักยภาพ หากได้รับโอกาสอย่างเสมอภาคเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี

  1. แนวคิดและทิศทางของแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา: แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะของคนพิการ แนวความคิดการดำเนินงานด้านคนพิการในประเทศ ได้ให้ความสำคัญที่การพัฒนาคนพิการ ซึ่งเป็นทรัพยากรทางสังคมที่ต้องได้รับการสร้างเสริมศักยภาพอย่างสูงสุดตามสภาพ มีความเสมอภาคที่จะได้รับผลจากการพัฒนาเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป จนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ ในครอบครัว ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม และมีความสามารถในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ทันกับสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2550 - 2551 จึงได้วางแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนแผนและพันธะสัญญาที่ตกลงร่วมกับนานาประเทศ ดังนี้

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่กำหนดสิทธิที่พึงได้รับมีโอกาสรับบริการพื้นฐานทางสังคม และการคุ้มครองทางสังคมอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียม รวมทั้งส่งเสริมให้ทุกฝ่ายในสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ - พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องที่ส่งเสริมให้คนพิการได้รับโอกาส สิทธิการสงเคราะห์ การพัฒนา และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ - แผนปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2547 - 2549 ที่วางวิสัยทัศน์การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดสงขลา ให้เป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีโอกาสทัดเทียมกับคนปกติ โดยใช้ยุทธศาสตร์การดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนร่วมในสังคมอย่างเป็นธรรม เสมอภาคและสร้างสรรค์ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 - 2549 ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพคน และการคุ้มครองทางสังคม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม โดยให้ "คน" เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา บนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 - 2554 ที่เน้นการการพัฒนาที่เอาคนเป็นตัวตั้งโดยคำนึงถึงทุกมิติของคุณค่าความเป็นคน และการอยู่ร่วมกันโดยสันติ ระหว่างคนกับคนและระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยยึด "คน" เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา บนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคี -  แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย (สสพ.) ที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการ โดยให้ความสำคัญกับทำงานในลักษณะเครือข่ายปฏิบัติการทางสังคมผ่านการเรียนรู้ ที่มีความสัมพันธ์กันฉันมิตร
- ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นกฎบัตรถึงความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในศักดิ์ศรี และคุณค่าของตัวบุคคล และในความเสมอกันแห่งสิทธิของทั้งชายและหญิง ส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมตลอดจนมาตรฐานแห่งชาติให้ดีขึ้น มีเสรีภาพมากขึ้น - และแผนปฏิบัติการระดับโลกด้านคนพิการ วาระเพื่อการปฏิบัติ และกฎมาตรฐานเกี่ยวกับคนพิการ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาคนพิการ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดมาตรการอันจะเป็นผลดีแก่การป้องกันความพิการ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ด้วยการตระหนักถึงเป้าหมายของการมีโอกาส และส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของคนพิการในชีวิตสังคม ตลอดจนการพัฒนาความเสมอภาคกับคนทั่วไปให้เป็นจริง

5.  วัตถุประสงค์ของแผนงานฯ

  1. เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนาศักยภาพคนพิการ ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ให้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล คนพิการได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ แบบบูรณาการ ทั้งด้านการแพทย์ การศึกษา อาชีพ และสังคม อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละบุคคล
  2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการรวมตัวของคนพิการและครอบครัวของคนพิการ เป็นเครือข่ายขององค์กรช่วยเหลือตนเองของคนพิการ ให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืน และก้าวหน้า
  3. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน และสังคม มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพและสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการ

6. ยุทธศาสตร์

จากแนวคิด แนวทาง และวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ดังนี้ 1. สร้างเสริมความเข้มแข็งขององค์กรของคนพิการ โดยการหนุนเสริมองค์กร "สมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา" และสร้างเครือข่ายผู้พิการระดับอำเภอ ที่มีระบบการจัดสรรทรัพยากร และการสนับสนุนการประสานงานแบบเครือข่ายขององค์กรภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทั้งในด้านการแพทย์ การศึกษา สังคม และการประกอบอาชีพ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนาศักยภาพของคนพิการ ครอบครัว องค์กร ภาคี เครือข่ายของคนพิการ และชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและมีการบูรณาการ
2.การสร้างเสริมสุขภาวะและการพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยพัฒนาระบบการดูแลคนพิการระดับอำเภอแบบเบ็ดเสร็จ และพัฒนาศักยภาพผู้พิการให้พึ่งตนเองได้ โดยให้บริการด้านการจดทะเบียน การจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ เครื่องช่วยความพิการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือด้านการแพทย์ การศึกษา การอาชีพและด้านสังคม ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละบุคคล
3. ส่งเสริมให้ชุมชน และสังคม มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการ และมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาวะและการพัฒนาศักยภาพคนพิการ เป็นการสร้างปฏิบัติการชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยค้นหาคนพิการและครอบครัวที่มีศักยภาพ เพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมการดำเนินชีวิต  ค้นหาชุมชนสร้างเสริมสุขภาวะหรือพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมของการพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะ และเพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ของนโยบายสาธารณะในการสร้างเสริมสุขภาวะและการพัฒนาศักยภาพคนพิการ รวมถึงการเผยแพร่เรื่องความสามารถในการพัฒนาตนเองและศักยภาพคนพิการ การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่เจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อความพิการ และคนพิการ


7. โครงสร้างการทำงาน ที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา คณะทำงาน คุณสมศักดิ์  ผจงวงศ์
คุณชูชาติ กสิกรรมไพบูลย์
คุณปรีดาพร  สีหาวงษ์
ผศ. ทพ. นพ. สุรพงษ์  วงศ์วัชรานนท์ อ. อำนาจ ทองขาว
พันจ่าเอก ทวีป เสนขวัญแก้ว คุณสมพร ปาตังตะโร คุณยงยุทธ แสงพรหม คุณเบญจพรรณ เอี่ยมเอม คุณจุฑา สังขชาติ คุณโตมร อภิวันทนากร คุณศิริพล สัจจาพันธ์ ผศ. เนตรนภา  คู่พันธวี      นายกสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา ประธานกลุ่มคนหูหนวกภาคใต้ นายกสมาคมคนตาบอดจังหวัดสงขลา คณะทันตแพทยศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กรรมการสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา กรรมการสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา กรรมการสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา อพม.ก อำเภอระโนด ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนภาคใต้ กลุ่มละครมานีมานะ เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคใต้ คณะพยาบาลศาสตร์  ม. สงขลานครินทร์
8. แผนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อน

8.1 ยุทธศาสตร์สร้างเสริมความเข้มแข็งขององค์กรคนพิการ: แผนงานการหนุนเสริมองค์กร "สมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา" และสร้างเครือข่ายผู้พิการระดับอำเภอ ประกอบด้วยโครงการปฏิบัติการ ดังนี้       8.1.1 โครงการสนับสนุนการบริหารจัดการ "สมาคมคนพิการ จ. สงขลา                             วัตถุประสงค์  เพื่อให้องค์กรคนพิการมีที่ตั้งที่ถาวร มีเจ้าหน้าที่ประจำ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ เช่น การประชุมคณะกรรมการสมาคมคนพิการ ฯ  เป็นที่ปรึกษาด้านการสร้างเสริมสุขภาวะและรับเรื่องราวร้องทุกข์ เป็นต้น มีครุภัณฑ์และวัสดุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานคนพิการ และมีงบบริหารจัดการที่เพียงพอ สม่ำเสมอ                       ผู้รับผิดชอบ คุณสมศักดิ์ ผจงวงศ์        นายกสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา               คณะกรรมการสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

      8.1.2 โครงการจัดตั้งชมรมคนพิการระดับอำเภอ                             วัตถุประสงค์  เพื่อเป็นเครือข่ายองค์กรคนพิการในระดับอำเภอ ที่ทำหน้าที่ประสานงานคนพิการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่ปรึกษาให้แก่คนพิการ ประชาชน และหน่วยงานในระดับอำเภอ               ผู้รับผิดชอบ พันจ่าเอก ทวีป เสนขวัญแก้ว              คนพิการอำเภอสิงหนคร               คุณยงยุทธ  แสงพรหม                        คนพิการอำเภอควนเนียง               คุณเบญจพรรณ เอี่ยมเอม                    อพม. ก อำเภอระโนด
แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

      8.1.3 โครงการการจัดการระบบฐานข้อมูลคนพิการ                     วัตถุประสงค์ เป็นการศึกษาทบทวน สำรวจ รวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลสถานการณ์ของคนพิการ และข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  พัฒนาฐานข้อมูลศักยภาพคนพิการ (Every Human Mapping-Deform: EHM-Deform) วางระบบการสืบค้น การเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสารของคนพิการ               ผู้รับผิดชอบ อ. อำนาจ ทองขาว  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา                     แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

      8.1.4 โครงการจดหมายข่าวคนพิการ               วัตถุประสงค์ เพื่อส่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการ แก่คนพิการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสงขลา       ผู้รับผิดชอบ คุณสมศักดิ์  ผจงวงศ์      นายกสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา             คุณสมพร ปาตังตะโร    สมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา ผศ. เนตรนภา  คู่พันธวี    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                               แหล่งทุน        แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

8.2 ยุทธศาสตร์สร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนาศักยภาพคนพิการ ฯ:  แผนงานพัฒนาระบบการดูแลผู้พิการระดับอำเภอแบบเบ็ดเสร็จและแผนงานพัฒนาศักยภาพผู้พิการให้พึ่งตนเองได้ ประกอบด้วยโครงการปฏิบัติการ ดังนี้

                    8.2.1 โครงการจัดตั้งศูนย์จดทะเบียนและบริการผู้พิการเบ็ดเสร็จ นำร่องใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสิงหนคร  อำเภอรัตภูมิ อำเภอระโนด อำเภอควนเนียง และอำเภอจะนะ  โดยเป็นศูนย์ ฯ ที่ประกอบด้วยองค์กรอย่างน้อยสามองค์กร คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชมรมคนพิการระดับอำเภอ นั้น ๆ
              วัตถุประสงค์ 1.วางระบบการค้นหาและข้อมูลคนพิการระดับอำเภอ                             2.ให้การช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาและหรือประสานการช่วยเหลือด้านการแพทย์ การอาชีพ การศึกษาและด้านสังคม
                            3. ให้บริการช่วยเหลือให้ได้สิทธิการรักษา ได้อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ผู้รับผิดชอบ       ผศ. เนตรนภา คู่พันธวี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์       นายแพทย์สุภัทร  ฮาสุวรรณกิจ      ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภอจะนะ       พันจ่าเอก ทวีป เสนขวัญแก้ว          คนพิการอำเภอสิงหนคร       คุณสมพร ปาตังตะโร                    คนพิการอำเภอสิงหนคร       คุณยงยุทธ  แสงพรหม                  คนพิการอำเภอควนเนียง       คุณเบญจพรรณ เอี่ยมเอม อพม. ก อำเภอระโนด
      แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา             8.2.2 โครงการการฝึกอาชีพและส่งเสริมการศึกษา โดยสมาคมคนพิการทำหน้าที่ประสานงานและขับเคลื่อนด้านการศึกษาและการฝึกอาชีพของคนพิการ ทั้งการศึกษาในโรงเรียนเฉพาะคนพิการโรงเรียนเรียนร่วม การศึกษานอกโรงเรียน และการประกอบอาชีพอิสระ การทำงานในหน่วยงานเอกชน สถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจในระดับอำเภอ                     วัตถุประสงค์ พัฒนาการศึกษา อาชีพและการตลาดของผลิตภัณฑ์งานอาชีพคนพิการ  เพื่อให้คนพิการมีเศรษฐานะที่พอเพียงในการดำรงชีวิต             ผู้รับผิดชอบ สมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา             แหล่งทุน    แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา 8.3 ส่งเสริมให้ชุมชน และสังคม มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการ ฯ : แผนงานการสร้างความเข้าใจและเจตคติที่ถูกต้องต่อคนพิการและนำไปสู่นโยบายสาธารณะในการขับเคลื่อนสุขภาวะคนพิการในแต่ละประเด็นและแต่ละพื้นที่  และเผยแพร่ชุดความรู้ " เรื่องผู้พิการสู่สาธารณะ"               8.3.1 โครงการ "งานวันคนพิการ"
                      วัตถุประสงค์  การสร้างความเข้าใจและเจตคติที่ถูกต้องต่อคนพิการและนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายและนโยบายสาธารณะ  เกิดกลไกการเรียนรู้และกลไกการมีส่วนร่วมของคนพิการและภาคีพันธมิตร โดยขับเคลื่อนด้วยเวทีสมัชชากระบวนการเรียนรู้ของคนพิการจังหวัดสงขลา                       ผู้รับผิดชอบ               ผศ.เนตรนภา คู่พันธวี  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                ผศ.ทพ.นพ.สุรพงษ์ วงศ์วัชรานนท์  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                 คุณสมศักดิ์ ผจงวงศ์    นายกสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา         แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

              8.3.2 โครงการการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างสุขภาวะผู้พิการจังหวัดสงขลา                               วัตถุประสงค์
1. สร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์และสภาวะของผู้พิการในการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทรระหว่างผู้คนในสังคม 2.กระตุ้นให้สังคมเกิดความรู้ความเข้าใจ ปรับกระบวนทัศน์และแนวคิดในเรื่องการคุ้มครองสิทธิและการส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงสิทธิโดยเฉพาะด้านบริการสุขภาพด้านต่างๆของผู้พิการ 3.พัฒนาคุณภาพและศักยภาพการสื่อสารในท้องถิ่นให้เป็นช่องทางในการยกระดับสุขภาวะของผู้พิการ             ผู้รับผิดชอบ
                            คุณจุฑา สังขชาติ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนภาคใต้             คุณโตมร อภิวันทนากร กลุ่มละครมานีมานะ             คุณศิริพล สัจจาพันธ์ เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคใต้                               แหล่งทุน        แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
        8.3.3  โครงการเผยแพร่ชุดความรู้ " เรื่องผู้พิการสู่สาธารณะ"               วัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำหนังสือชุดความรู้  "สถานการณ์ผู้พิการจังหวัดสงขลา" ออกเผยแพร่             ผู้รับผิดชอบ   
            ผศ. เนตรนภา  คู่พันธวี          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
          คุณสมศักดิ์  ผจงวงศ์            นายกสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา           คุณชูชาติ กสิกรรมไพบูลย์    ประธานกลุ่มคนหูหนวกภาคใต้             คุณปรีดาพร สีหาวงศ์            นายกสมาคมคนตาบอดจังหวัดสงขลา                               แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
9.  การประเมินผล

9.1 โครงการประเมินผลโดยใช้กระบวนการเรียนรู้                       วัตถุประสงค์  เพื่อประเมินการสร้างเสริมสุขภาวะ และการพัฒนาศักยภาพคนพิการ โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น                         1. คนพิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนาศักยภาพแบบบูรณาการ ทั้งทางด้านการแพทย์ การศึกษา อาชีพ และสังคม อย่างเต็มศักยภาพแต่ละบุคคลอย่างทั่วถึง สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละบุคคล         2. คนพิการ และผู้ปกครองคนพิการในทุกท้องถิ่น รวมตัวเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาวะ การพัฒนาศักยภาพคนพิการ รวมถึงมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประกอบกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะเพิ่มขึ้น         3. องค์กรท้องถิ่น มีนโยบายและกฎหมาย รวมถึงมีกลไกที่เป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาและคุ้มครองคนพิการให้มีความเสมอภาคกับคนทั่วไป         4. คนพิการ ครอบครัวของคนพิการ องค์กรคนพิการ ชุมชน สังคม องค์กรภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อคนพิการ ดำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยประสานการทำงานแบบเครือข่าย         5. คนพิการได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 15 ต่อปี         6. คนพิการมีงานทำเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี         7. คนพิการตระหนักรู้สิทธิ หน้าที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะ ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร และเทคโนโลยีอย่างน้อยร้อยละ 20 ของบริการที่มีอยู่         8. คนพิการ ครอบครัวของคนพิการ ชุมชน และสังคม ทั้งในเมืองและชนบท มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับความพิการและคนพิการ และมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนาศักยภาพคนพิการเพิ่มขึ้น         10. คนพิการทั้งในเมืองและชนบทของจังหวัดสงขลา มีสุขภาวะที่ดีเพิ่มขึ้น ทั้งด้านร่างกายสติปัญญา จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ               ผู้รับผิดชอบ    ผศ. เนตรนภา คู่พันธวี  คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
              แหล่งทุน        สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้

Relate topics

Comment #1
Posted @12 พ.ค. 50 15:03 ip : 125...179

ยังคงติดตามควาเป็นไปของสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา หวังว่าสักวันคงได้มีเว็บไซต์ของสมาคมเอง และคงจะพูดคุยกันผ่านทางเว็บไซต์กันบ้าง คิดถึงเพื่อนพี่และน้อง ๆ ทุกคน คิดถึงบ้าน ขอเป็นกำลังใจในการทำงานเพื่อสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลาต่อไป ด้วยความคิดถึงเสมอ จาก แอน (นุชรี)

Comment #2
Posted @12 พ.ค. 50 15:09 ip : 125...179

หวังว่าชาวสมาคมคนพิการ จะมีความสุข และมีกำลังใจที่ดี ที่จะทำสิ่งดี ๆ เพื่อสมาคม สู้ๆๆ นะ anney-ann@hotmail.com จาก แอน (นุชรี)

Comment #3
ขอสมัครสมาชิกด้วยคน (Not Member)
Posted @17 ต.ค. 50 22:39 ip : 203...182

เป็นคนพิการเหมือนกัน อยากเข้าร่วมโครงการด้วยจัง อยากเจอคนที่เข้าใจกัน อยากหาเพื่อนใหม่ด้วย

Comment #4
ขอสมัครสมาชิกด้วยคน (Not Member)
Posted @17 ต.ค. 50 22:44 ip : 203...182

เป็นคนพิการเหมือนกัน อยากเข้าร่วมโครงการด้วยจัง อยากเจอคนที่เข้าใจกัน อยากหาเพื่อนใหม่ด้วย

Comment #5
ดวงตา (Not Member)
Posted @5 ธ.ค. 52 18:42 ip : 117...146

น่าจะมีเว๊บที่ให้สนทนาพูดคุยกันได้ aroha-teem175@hotmail.com

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว