สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

แผนสุขภาพประเด็นการสื่อสารสาธารณะเพื่อสุขภาพ

แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
ประเด็น 12. การจัดการสื่อสารสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ


หลักคิดและปรัชญา  ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ สื่อมวลชนกลายเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในสังคม ดังจะเห็นได้จากการนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหว ตลอดจนชี้นำทัศนะที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม จนกล่าวได้ว่าเรื่องราวในโลกทั้งในประเทศ ต่างประเทศ และท้องถิ่น ล้วนผ่านช่องทางของสื่อมวลชนที่จะเผยแพร่ให้กับสาธารณะได้รับรู้ จึงนับได้ว่าสื่อเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังเป็นอย่างยิ่งในโลกสมัยใหม่ ด้วยบทบาทดังกล่าว เราจึงเห็นอยู่เนืองๆ ถึงการเข้ามาแทนที่สถาบันอื่นๆ หรืออาศัยช่องทางที่มีประสานรวมองค์กรหรือสถาบันอื่นๆเข้ามาใช้ประโยชน์ จนเกิดปรากฏการณ์ที่สื่อมีส่วนได้นำเสนอหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนา ตลอดจนเกาะกุม กำกับฝ่ายนโยบายให้ทำงานในทิศทางที่เหมาะสม กอปรกับองค์กรของสื่อที่มีอย่างหลากหลาย รองรับกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีเชื่อมโยงโลกดิจิตอลใบนี้ให้หดเล็กลง ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อ การนำเสนอ และเข้าถึงคนจำนวนมาก ยิ่งทำให้สื่อมวลชนทวีความสำคัญมากขึ้น สื่อมวลชนในจังหวัดสงขลาเองก็มีหลากหลาย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระแสหลัก สื่อวิทยุชุมชน อินเตอร์เน็ต รวมไปถึงสื่อบุคคล ศิลปินพื้นบ้าน เหล่านี้ดำรงตนทั้งในลักษณะเป็นกลุ่มองค์กรและเป็นปัจเจก ได้มีบทบาทในหลาย ๆ เหตุการณ์ เช่น ในช่วงวิกฤตการณ์ น้ำท่วม หรือมีส่วนกับปรากฏการณ์การเมือง จนหลายฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญ ในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพก็เช่นกัน ภาคีทุกประเด็นขับเคลื่อนล้วนต้องการการหนุนเสริมจากสื่อหรือไม่ก็คิดยุทธศาสตร์ที่ให้สื่อได้เข้ามามีส่วนสนับสนุนจนกล่าวได้ว่าสื่อมีความสำคัญมากในการสนับสนุนการเรียนรู้ภาคประชาชนโดยเฉพาะในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ขณะเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสื่อมวลชนโดยเฉพาะสื่อภาคประชาชนที่ยังต้องการการสนับสนุนทั้งในแง่การรวมตัวเป็นเครือข่ายและการมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนโดยตรงและการสนับสนุนเผยแพร่เนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพ จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสนับสนุนภาคีสุขภาพและร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้กับสื่อภาคประชาชน


วิสัยทัศน์
ร่วมกันสร้างเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็ง  มีที่ยืนในสังคม มีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพดี ๆ ของภาคี และมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในจังหวัดสงขลา

วัตถุประสงค์
1. สร้างช่องทางสื่อสารกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในจังหวัด สนับสนุนภาคีสุขภาพทั้ง 12 ประเด็น 2. สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายสื่อสาธารณะด้านสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดสงขลา กลุ่มเป้าหมาย 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. หน่วยงานราชการ
3. องค์กรสื่อภาคประชาชน (วิทยุ วิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต ทีวี และเวทีเรียนรู้ต่าง ๆ) 4. หน่วยงานเอกชน 5.สถาบันการศึกษา

ยุทธศาสตร์ 1. สนับสนุนการเรียนรู้ภาคประชาชน โดยสร้างช่องทางสื่อสารเนื้อหาที่ได้มาจากภาคีสุขภาพทั้งในจังหวัดและภาคีระดับประเทศ นำเสนอกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับสังคม โดยผ่านวิธีการนำเสนอที่ร่วมสมัยโดยบุคลากรที่มีคุณภาพของเครือข่ายสื่อภาคประชาชนและจากภาคีที่เกี่ยวข้อง 2. พัฒนาเครือข่ายสื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดสงขลา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรสื่อภาคประชาชน ที่ยังมีการทำงานในลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่มีเป้าหมายร่วม หรือมีทิศทางการทำงานร่วมกัน การสร้างเครือข่ายสื่อภาคประชาชนที่มีเป้าหมายทำงานเพื่อสาธารณะ จึงเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา 

3.โครงสร้างคณะทำงาน
ชื่อ คณะทำงาน  "เครือข่ายสื่อสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา" ที่ปรึกษา 1. ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา 2. คุณทีปวัฒฑ์ มีแสง 3. คุณทรงพล ขวัญชื่น คณะทำงาน 1. คุณชาคริต โภชะเรือง 2. คุณเพลงทิพย์ แก้วละเอียด 3. คุณถนอม ขุนเพ็ชร 4. คุณรัตนะศิริ พิมลไทย คณะกรรมการเครือข่าย 1.วิทยุชุมชน
-คุณวรรณชัย สุวรรณกาญจน์ -คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น -คุณสุพิเชฐ สุวรรณชาตรี 2. วิทยุกระแสหลัก -คุณบัญชร วิเชียรศรี -คุณไพฑูรย์ ศิริรักษ์ -คุณยินดี ตรีรัญเพชร 3. หนังสือพิมพ์ -คุณประสาน สุกใส -คุณน่าน ฐานิวัฒนานนท์ -คุณวิชาญ ช่วยชูใจ 4.เคเบิลทีวี. -คุณภิญโญ แก่นยะกูล 5. อินเตอร์เน็ต -คุณภานุมาศ นนทพันธ์

4.แผนปฏิบัติการ

ยุทธศาสตร์ แนวทางการทำงาน พื้นที่ดำเนินการ หน่วยงานรับผิดชอบ 1.สนับสนุนการเรียนรู้ภาคประชาชน 1.สร้างช่องทางสื่อสารสาธารณะระดับจังหวัดและระดับประเทศ - ทีวี./เคเบิลทีวี -หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น,หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง - วิทยุชุมชน -วิทยุกระแสหลัก -อินเตอร์เน็ต -เวทีการเรียนรู้ระดับชุมชน 2.ประสานภาคี รณรงค์ เผยแพร่กิจกรรม/องค์ความรู้ ในการทำงานของภาคีเครือข่ายแผนสุขภาพจังหวัด 3. สร้างระบบฐานข้อมูลภาคีสื่อสารสาธารณะในพื้นที่
3.1 ช่องทางเผยแพร่ - หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น - วิทยุชุมชน -วิทยุกระแสหลัก -อินเตอร์เน็ต -เวทีการเรียนรู้ระดับชุมชน -หอกระจายข่าว -ตุ๊กๆ -รถสองแถว/รถประจำทาง -สถานที่สาธารณะ -เสื้อยืดรณรงค์ 3.2 ผู้สื่อสาร - นักข่าว -นักหนังสือพิมพ์ -นักจัดรายการวิทยุ 1. จังหวัดสงขลา 2.นอกเขตจังหวัดสงขลา ภาคีเครือข่ายแผนสุขภาพ 13 ประเด็น, เครือข่ายสื่อสารสาธารณะ, แผนงานสื่อสารสาธารณะ node สสส., สสส. ยุทธศาสตร์ แนวทางทำงาน พื้นที่ดำเนินการ หน่วยงานรับผิดชอบ -นักเขียน -ชมรมสร้างสุขต่างๆ -อสม.ที่สนใจงานประชาสัมพันธ์ -ศิลปินพื้นบ้าน -พระ/โต๊ะอิหม่าม -นักเรียน/นักศึกษา (ข้อมูลจากวิจัย) ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทำกิจกรรม เช่น เวทีเชิงประเด็น
โพลล์สำรวจความเห็นในเรื่องสุขภาพประเด็นต่างๆ
2.พัฒนาเครือข่ายสื่อสารสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
1.สร้างองค์กรเครือข่ายสื่อสุขภาวะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา -สร้างเครือข่ายสื่อสุขภาวะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา -เสริมศักยภาพโดยเพิ่มเทคนิคในการผลิตรายการ  ผังรายการ  ด้านซอร์ฟแวร์ -การหนุนเสริม  สนับสนุนข้อมูล  ข่าวสาร  CD ด้านสุขภาพให้กับเครือข่าย -จัดกลไกเครือข่ายสื่อสุขภาวะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา  ให้มีการปรับระบบการสื่อสารที่สามารถเชื่อมข้อมูล  กระจายข้อมูลได้ในอนาคต
-จัดระบบสถานีแม่ข่าย-ลูกข่ายถ่ายกระจายข้อมูลด้านสุขภาพทั้งในช่วงปกติและเกิดสถานการณ์วิกฤต 2.สร้างเวทีกลาง "ตลาดความคิด"แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมผลักดันเชิงนโยบายของภาคีเครือข่ายสื่อสารสาธารณะในจังหวัด จังหวัดสงขลา








ภาคีเครือข่ายแผนสุขภาพ<br />

13 ประเด็น, เครือข่ายสื่อสารสาธารณะ, แผนงานสื่อสารสาธารณะ node สสส., มสช., สปรส.

โครงการตามยุทธศาสตร์ 1.สนับสนุนการเรียนรู้ภาคประชาชน 1.1 โครงการสื่อสารสาธาณะเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดสงขลา วัตถุประสงค์ สร้างการเรียนรู้ด้านสร้างเสริมสุขภาพให้กับภาคประชาชน ร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานองค์กรต่างๆ มีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และสร้างช่องทางสื่อสารสนับสนุนภาคีสุขภาพตามแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา ผู้รับผิดชอบ เครือข่ายสื่อสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

2.สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายสื่อสาธารณะด้านสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดสงขลา 2.1โครงการพัฒนาองค์กร "เครือข่ายสื่อสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา" วัตถุประสงค์ เป็นองค์กรประสานงานสื่อมวลชนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระแสหลัก วิทยุชุมชน อินเตอร์เน็ต รวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะของจังหวัดสงขลา สนับสนุนในการสร้างและเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา ผู้รับผิดชอบ รัตนะศิริ พิมลไทย แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา 2.2 โครงการประเมินผลและมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสื่อสารสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
วัตถุประสงค์ เพื่อการติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม และประสานกับนักวิชาการในสถาบันการศึกษาสร้าง กระบวนการเรียนรู้ร่วมกับเครือข่าย โดยดูตัวชี้วัดความสำเร็จจาก
1. การกระจายการรับรู้ เรียนรู้ของสาธารณะ 2. จำนวนเครือข่ายสื่อสารสาธารณะภาคประชาชน 3. ระบบฐานข้อมูลของเครือข่าย ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

Relate topics

Comment #1
Jans (Not Member)
Posted @12 เม.ย. 51 10:02 ip : 125...214

การรักษาโรคเบาหวานแบบหายขาดโดยสมุนไพรไทย
หายขาดจริงๆครับ

โดยความบังเอิญที่คุณพ่อผมได้เดินทางมาหาที่บ้านที่จังหวัดขอนแก่นแล้วมาเจอกับ คุณ ยายผมที่ป่วยเป็นเบาหวานมาหลายปี โดยการรักษาตลอด 12ปีที่ผ่านมาต้องไปรับยาทุกอาทิตย์ ตื่นตั้งแต่ตี 5เพื่อไปโรงบาล แกบอกว่าทรมานมากใครไม่เป็นไม่รู้หรอก เพื่อนๆแกได้ตัดนิ้ว-แขน-ขา บางคนตาบอด และตายไปก็หลายสิบคนแล้ว

พ่อบอกกับแม่ว่าแกมีสูตรสมุนไพรโบราณสมัยคุณปู่ผมที่อยู่ที่มาเลย์เซียก่อนเดินทางมาไทยและนำมาผสมกับสมุนไพรของคุณตาผมที่นำมาจากไร่ที่ จังหวัดเลยผสมชงทานกัน ตอนแรกแกไม่ยอมทาน กลัวสารพัดผ่านไปหลายวันเข้าพ่อผมแกก็ชงทานทุกวันให้แกดูเป็นตัวอย่าง แกเลยยอมหลังจากทานไปสัก 3-4วันแกบอกว่าจะปัสสาวะบ่อยมากและจะมีอาการร้อนวูบวาบ และอาการชาปลายนิ้วตอนเช้าได้หายไปและหลังจากทานไปได้ 7วันแกอยากทานนั่นทานนี่(ปรกติไม่ยอมทานอะไร) ผิวพรรณจากแห้งๆเริ่มมีน้ำมีนวล และขาเริ่มมีกำลังสามารถลุกขึ้นเดินได้ จนแม่ได้พาไปตรวจที่ โรงพยาบาลขอนแก่น ผลออกมาว่าน้ำตาลในเลือดจากเดิม 230 ลดลงเหลือเพียง 115เท่านั้น เอง จนหมอเองก็ประหลาดใจอยู่ไม่น้อย แกทานมาได้สักประมาณ 1เดือนแล้วกลับไปวัดน้ำตาลอีกก็ได้รับผลว่าปรกติดี จวบจนถึงปัจจุบันนี้คุณหมอ ได้ทำการแจ้งว่าไม่ต้องมาตรวจแล้วครับ หายจากการเป็นเบาหวานแล้ว ก็ทำให้ทุกคนในบ้านประหลาดใจมากครับ ผมคนนึงที่ไม่เชื่อครับ ก็เลยเอามให้น้องๆที่ทำงานที่ร้อยเอ็ดนำไปให้คนที่บ้านทาน ผลก็เป็นเช่นเดิมกับยายผมทานไปน่าจะประมาณ 83คน มีที่ไม่หาย 3คน ซึ่งจากการสอบถามแล้วได้ความว่าทานไปเพียง 1-3วันแล้วไม่กล้าทานต่อครับ ส่วนท่านอื่นๆปัจจุบันหายขาดแล้วเพราะไม่ได้นำไปทานอีกเลย ผมจึงบอกคนที่หายว่าถ้าทานแล้วหายให้ระลึกถึงคุณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วที่ได้คิดค้นสูตรโบราณนี้ไว้ให้แก่คนรุ่นนี้ครับ   อัศจรรย์จริงๆครับ

รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อที่ คุณ ธิดา อึ้งนภารัตน์ 123/456 ม.เพรสซิเดนท์ ต.แดงใหญ่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000หรือโทร 083-3459197

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว