ร่างแผนสุขภาพประเด็นการจัดการสื่อสารสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ
(ร่าง)
แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
ประเด็น 12.
การจัดการสื่อสารสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ
หลักคิดและปรัชญา ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ สื่อมวลชนกลายเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในสังคม ดังจะเห็นได้จากการนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหว ตลอดจนชี้นำทัศนะที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม จนกล่าวได้ว่าเรื่องราวในโลกทั้งในประเทศ ต่างประเทศ และท้องถิ่น ล้วนผ่านช่องทางของสื่อมวลชนที่จะเผยแพร่ให้กับสาธารณะได้รับรู้ จึงนับได้ว่าสื่อเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังเป็นอย่างยิ่งในโลกสมัยใหม่ ด้วยบทบาทดังกล่าว เราจึงเห็นอยู่เนืองๆ ถึงการเข้ามาแทนที่สถาบันอื่นๆ หรืออาศัยช่องทางที่มีประสานรวมองค์กรหรือสถาบันอื่นๆเข้ามาใช้ประโยชน์ จนเกิดปรากฏการณ์ที่สื่อมีส่วนได้นำเสนอหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนา ตลอดจนเกาะกุม กำกับฝ่ายนโยบายให้ทำงานในทิศทางที่เหมาะสม กอปรกับองค์กรของสื่อที่มีอย่างหลากหลาย รองรับกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีเชื่อมโยงโลกดิจิตอลใบนี้ให้หดเล็กลง ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อ การนำเสนอ และเข้าถึงคนจำนวนมาก ยิ่งทำให้สื่อมวลชนทวีความสำคัญมากขึ้น สื่อมวลชนในจังหวัดสงขลาเองก็มีหลากหลาย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระแสหลัก สื่อวิทยุชุมชน อินเตอร์เน็ต รวมไปถึงสื่อบุคคล ศิลปินพื้นบ้าน เหล่านี้ดำรงตนทั้งในลักษณะเป็นกลุ่มองค์กรและเป็นปัจเจก ได้มีบทบาทในหลาย ๆ เหตุการณ์ เช่น ในช่วงวิกฤตการณ์ น้ำท่วม หรือมีส่วนกับปรากฏการณ์การเมือง จนหลายฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญ ในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพก็เช่นกัน ภาคีทุกประเด็นขับเคลื่อนล้วนต้องการการหนุนเสริมจากสื่อหรือไม่ก็คิดยุทธศาสตร์ที่ให้สื่อได้เข้ามามีส่วนสนับสนุนจนกล่าวได้ว่าสื่อมีความสำคัญมากในการสนับสนุนการเรียนรู้ภาคประชาชนโดยเฉพาะในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ขณะเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสื่อมวลชนโดยเฉพาะสื่อภาคประชาชนที่ยังต้องการการสนับสนุนทั้งในแง่การรวมตัวเป็นเครือข่ายและการมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนโดยตรงและการสนับสนุนเผยแพร่เนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพ จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสนับสนุนภาคีสุขภาพและร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้กับสื่อภาคประชาชน
วิสัยทัศน์ ร่วมกันสร้างเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็ง มีที่ยืนในสังคม มีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพดี ๆ ของภาคี และมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในจังหวัดสงขลา
วัตถุประสงค์ 1. สร้างช่องทางสื่อสารกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในจังหวัด สนับสนุนภาคีสุขภาพทั้ง 12 ประเด็น 2. สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายสื่อสาธารณะด้านสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
กลุ่มเป้าหมาย
1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. หน่วยงานราชการ
3. องค์กรสื่อภาคประชาชน (วิทยุ วิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต ทีวี และเวทีเรียนรู้ต่าง ๆ)
4. หน่วยงานเอกชน
5.สถาบันการศึกษา
ยุทธศาสตร์ 1. สนับสนุนการเรียนรู้ภาคประชาชน โดยสร้างช่องทางสื่อสารเนื้อหาที่ได้มาจากภาคีสุขภาพทั้งในจังหวัดและภาคีระดับประเทศ นำเสนอกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับสังคม โดยผ่านวิธีการนำเสนอที่ร่วมสมัยโดยบุคลากรที่มีคุณภาพของเครือข่ายสื่อภาคประชาชนและจากภาคีที่เกี่ยวข้อง 2. พัฒนาเครือข่ายสื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดสงขลา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรสื่อภาคประชาชน ที่ยังมีการทำงานในลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่มีเป้าหมายร่วม หรือมีทิศทางการทำงานร่วมกัน การสร้างเครือข่ายสื่อภาคประชาชนที่มีเป้าหมายทำงานเพื่อสาธารณะ จึงเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
3.โครงสร้างคณะทำงาน ชื่อ คณะทำงาน "เครือข่ายสื่อสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา" ที่ปรึกษา 1. ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา 2. คุณทีปวัฒฑ์ มีแสง 3. คุณทรงพล ขวัญชื่น คณะทำงาน 1. คุณชาคริต โภชะเรือง 2. คุณเพลงทิพย์ แก้วละเอียด 3. คุณถนอม ขุนเพ็ชร 4. คุณรัตนะศิริ พิมลไทย คณะกรรมการเครือข่าย 1.วิทยุชุมชน -คุณวรรณชัย สุวรรณกาญจน์ -คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น -คุณสุพิเชฐ สุวรรณชาตรี 2. วิทยุกระแสหลัก -คุณบัญชร วิเชียรศรี -คุณไพฑูรย์ ศิริรักษ์ -คุณยินดี ตรีรัญเพชร 3. หนังสือพิมพ์ -คุณประสาน สุกใส -คุณน่าน ฐานิวัฒนานนท์ -คุณวิชาญ ช่วยชูใจ 4.เคเบิลทีวี. -คุณภิญโญ แก่นยะกูล 5. อินเตอร์เน็ต -คุณภานุมาศ นนทพันธ์
4.แผนปฏิบัติการ
ยุทธศาสตร์
1.สนับสนุนการเรียนรู้ภาคประชาชน
1.สร้างช่องทางสื่อสารสาธารณะระดับจังหวัดและระดับประเทศ
- ทีวี./เคเบิลทีวี
-หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น,หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง
- วิทยุชุมชน
-วิทยุกระแสหลัก
-อินเตอร์เน็ต
-เวทีการเรียนรู้ระดับชุมชน
2.ประสานภาคี รณรงค์ เผยแพร่กิจกรรม/องค์ความรู้ ในการทำงานของภาคีเครือข่ายแผนสุขภาพจังหวัด
3. สร้างระบบฐานข้อมูลภาคีสื่อสารสาธารณะในพื้นที่
3.1 ช่องทางเผยแพร่
- หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
- วิทยุชุมชน
-วิทยุกระแสหลัก
-อินเตอร์เน็ต
-เวทีการเรียนรู้ระดับชุมชน
-หอกระจายข่าว
3.2 ผู้สื่อสาร
- นักข่าว
-นักหนังสือพิมพ์
-นักจัดรายการวิทยุ
4.ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทำกิจกรรม เช่น เวทีเชิงประเด็น
โพลล์สำรวจความเห็นในเรื่องสุขภาพประเด็นต่างๆ
2.พัฒนาเครือข่ายสื่อสารสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
1.สร้างองค์กรเครือข่ายสื่อสุขภาวะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
-สร้างเครือข่ายสื่อสุขภาวะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
-เสริมศักยภาพโดยเพิ่มเทคนิคในการผลิตรายการ ผังรายการ ด้านซอร์ฟแวร์
-การหนุนเสริม สนับสนุนข้อมูล ข่าวสาร CD ด้านสุขภาพให้กับเครือข่าย
-จัดกลไกเครือข่ายสื่อสุขภาวะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา ให้มีการปรับระบบการสื่อสารที่สามารถเชื่อมข้อมูล กระจายข้อมูลได้ในอนาคต
-จัดระบบสถานีแม่ข่าย-ลูกข่ายถ่ายกระจายข้อมูลด้านสุขภาพทั้งในช่วงปกติและเกิดสถานการณ์วิกฤต
2.สร้างเวทีกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมผลักดันเชิงนโยบายของภาคีเครือข่ายสื่อสารสาธารณะในจังหวัด จังหวัดสงขลา
โครงการตามยุทธศาสตร์
1.สนับสนุนการเรียนรู้ภาคประชาชน
1.1 โครงการสื่อสารสาธาณะเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
วัตถุประสงค์ สร้างการเรียนรู้ด้านสร้างเสริมสุขภาพให้กับภาคประชาชน ร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานองค์กรต่างๆ มีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และสร้างช่องทางสื่อสารสนับสนุนภาคีสุขภาพตามแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบ เครือข่ายสื่อสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
2.สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายสื่อสาธารณะด้านสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
2.1โครงการพัฒนาองค์กร "เครือข่ายสื่อสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา"
วัตถุประสงค์ เป็นองค์กรประสานงานสื่อมวลชนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระแสหลัก วิทยุชุมชน อินเตอร์เน็ต รวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะของจังหวัดสงขลา สนับสนุนในการสร้างและเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบ รัตนะศิริ พิมลไทย
แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
2.2 โครงการประเมินผลและมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสื่อสารสาธารณะภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
วัตถุประสงค์ เพื่อการติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม และประสานกับนักวิชาการในสถาบันการศึกษาสร้าง กระบวนการเรียนรู้ร่วมกับเครือข่าย
โดยดูตัวชี้วัดความสำเร็จจาก
1. การกระจายการรับรู้ เรียนรู้ของสาธารณะ
2. จำนวนเครือข่ายสื่อสารสาธารณะภาคประชาชน
3. ระบบฐานข้อมูลของเครือข่าย
ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
Relate topics
- คุยเรื่องสื่อภาคประชาชน
- ติดตามการเดินทางของคนตัวเล็กในพื้นที่เล็ก ๆ แต่สร้างพลังอย่างมหาศาล
- รายการวิทยุน่าติดตามฟังเครือข่ายภาคีแผนสุขภาพ จ.สงขลา
- เชิญร่วมเวทีเฉลี่ยทุกข์-สุขคนทำสื่อภาคประชาชน ภาคใต้
- ครม.อนุมัติร่างกฎหมายจัดระเบียบคลื่นความถี่หวังปฏิรูปสื่อ
- เครือข่ายพ่อแม่อัดกรมกร๊วก ยื้อผุดกฎคุมเรตติ้งป้องเอกชน
- ชี้ เสรีภาพ "สื่อ" ทั่วโลกกำลังเสื่อม ไทยติดโผจากเหตุล้มรบ.ปีก่อน
- แผนสุขภาพประเด็นการสื่อสารสาธารณะเพื่อสุขภาพ
- ทำเนียบสื่อมวลชน
- เวทีย่อยประเด็นสื่อสารสาธารณะ ครั้งที่ 2