สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

การประชุมสงขลาพอเพียงครั้งที่ 42

by กล้วยหวาน @7 เม.ย. 53 14:43 ( IP : 222...122 ) | Tags : อัลบั้มกิจกรรม

การประชุมสงขลาพอเพียงครั้งที่ 42

วันที่ 21 มกราคม 2553 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุม CEO ศาลากลางจังหวัดสงขลา

วาระการประชุม


1. การนำเสนอผลการทำงานแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา ( 3 ปี)

  1. นำเสนอแนวคิดสงขลาพอเพียง 2554 และ รับฟังข้อเสนอแนะต่อทิศทางการทำงานจังหวัดสุขภาวะ(สงขลาพอเพียง)

สรุปการประชุม


มีการนำเสนอผลการทำงานแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา(3 ปี) และได้รับฟังข้อเสนอแนะและแนวทางต่อการขับเคลื่อนสงขลาพอเพียงที่สำคัญ เช่น

  • สำหรับงานสร้างสุขภาวะในระดับจังหวัด  ต้องใช้ทฤษฎีควอนตัม 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของพื้นที่ งานในพื้นที่ต้องขับเคลื่อน  เช่นจังหวัดสงขลา 140 อปท ต้องมีอย่างน้อย 30 ตำบล ที่มีทั้งกำลังคน แกนนำ นวัตกรรมสร้างสุขภาพ  ซึ่งการทำงานจะทำให้เกิดเครือข่ายท้องถิ่น ถ้าสามารถทำให้ท้องถิ่นสามารถขับเคลื่อนได้ หลายอย่างจะคลี่คลาย  และภาคประชาชนได้รับการสนับสนุน
  • งานในระดับจังหวัด มี 2 ส่วน  คือเป็นงานที่ขึ้นมาจากงานระดับตำบล  และต้องมีการทำงานระดับจังหวัดเพื่อปกป้องตำบล ซึ่งเป็นการสร้างเงื่อนไขในการมีส่วนร่วมในการให้ตำบลเข้าร่วมมากขึ้น เช่น กรณีสวัสดิการ  หรือ กรณีจะต้องมีการทำงานเป็นเครือข่ายที่ปกป้องภาวะคุกคามฯ เช่น สงขลาหรือภาคใต้ มีประเด็น southern seaboard  การพยายามย้ายฐานอุตสาหกรรมมาภาคใต้ การทำงานเหล่านี้เป็นการเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์
  • กรณีแหล่งเรียนรู้ต้องมีพลังพอที่จะเปลี่ยนภายในของคนที่เข้าสู่แหล่งเรียนรู้
  • สำหรับจังหวัดสงขลาต้องเพิ่มความเข้มข้นเชิงคุณภาพ มีแหล่งเรียนรู้ที่สามารถเปลี่ยนสุขภาวะได้ทุกมิติ สำหรับตำบลศูนย์ฝึกเรียนรู้ที่ สสสให้การสนับสนุน ก็ให้มีการทำโฮมสเตย์  ใช้ผักผลไม้พื้นทีในการทำอาหาร เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน การสร้างวิทยากร ต้องสามารถพูดแล้วทำให้คนเปลี่ยน มีการพัฒนาวิทยากรชุมชน
  • สำหรับแผนภาพโมเดลสงขลาพอเพียงไม่แสดงพื้นที่ ไม่เห็นฐานพระเจดีย์
  • จังหวัดสงขลา มีศักยภาพบุคคลสูง แต่ไม่เสริมพลัง ซึ่งคล้ายกับจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งควรต้องมีการจัดระบบการวางยุทธศาสตร์ที่ดี  กรณีจังหวัดอุตรดิษฐ์ มีนักวิชาการ ม.ราชภัฎฯ มีงานตำบล 40 ตำบล และ มี 25 ตำบลมที่นายก commit จะเป็นฐานล่างในการดูแลคุณภาพชีวิต
  • สำหรับภาครัฐ เศรษฐกิจพอเพียงต่างคนต่างทำ และมีปัจจัยการเมืองระดับชาติ เป็นการทำงานตามนโยบาย สำหรับงานพัฒนาชุมชนสร้างคนและให้หน่วยงานอื่นมาต่อยอด สำหรับสงขลาพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ต้องทำทุกเรื่อง
  • ควรมีการนำไปเชื่อมโยงกับคณะทำงานยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์จังหวัดด้วย
  • ผีเสื้อขยับปีก ไม่จำเป็นต้องตัวใหญ่แล้วค่อยขยับ ซึ่งเริ่มได้เลยในแง่การเปลี่ยนแปลง  ซึ่งกรณี เช่น ปริก รำแดง ท่าข้าม หรือ บ้านพรุ ก็เป็นผีเสื้อ  สำหรับเทศบาลนครสงขลา จะเชื่อมพื้นที่กับแผนสุขภาพโดยเริ่มการทำแผนสุขภาวะเป็นการเชื่อมร้อยเชิงพื้นที่
  • ในการทำงานต้องให้มีการคิดตัวชี้วัดที่ชัดเจนใน 3 ระดับ ทั้ง เชิงปริมาณ  เชิงคุณภาพ  และความต่อเนื่อง  ซึ่งในแต่ละตัวชี้วัดต้องมีการคิดกลยุทธ์ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
  • สุขภาวะคนสงขลาควรเพิ่มมาตรการเรื่องความยุติธรรม ธรรมาภิบาล
  • โจทย์ คือ ทำอย่างไรให้เห็นการเชื่อมต่อเชิงประเด็น และเชิงพื้นที่ ซึ่งบางครั้งก็แยกไม่ออกสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • ประเด็นการจัดการสุขภาวะ ฐานหนึ่งคือ ชุมชน ซึ่งอาจจะออกมาในรูปชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนต้องมีส่วนร่วม ชุมชนต้องเป็นแหล่งผลิตทุนทางสังคมซึ่งสามารถเป็นการสนับสนุนแผนสุขภาพที่จะไปสู่จังหวัดสุขภาวะ
  • ต้องใช้การแลกเปลี่ยนการไดอะล็อก และต้องเป็นการใช้เหตุใช้ผลในการพัฒนารูปแบบสงขลาพอเพียง
  • เราต้องมีกระบวนการช่วยมองที่ชัดขึ้น การค้นหาผีเสื้อ แหล่งเรียนรู้  ชุมชนต้องช่วยขยับเอง  ต้องมีข้อมูลในเชิงปริมาณ ชุมชนเข้มแข็งมีเท่าไหร่ที่จะมาหนุนเสริมสงขลา และเชิงคุณภาพก็ต้องปักหมุดเป็นแหล่งเรียนรู้  มีการช่วยขยายต่อ คือ การทำโมเดลสงขลาพอเพียงให้ชัดขึ้น เพิ่มรายละเอียดในแต่ละปัจจัยความสำเร็จ  เราต้องแสดงความเป็นเจ้าของภาพสงขลาพอเพียง  ตรงไหนไม่ขยับต้องกระตุ้น  ต้องกล้าวิจารณ์ กล้าเรียกร้อง

Relate topics

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว