สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

เครือข่ายสุขภาวะประกาศความพร้อมนำสงขลาสู่ความเป็นสงขลาพอเพียง

เครือข่ายสุขภาวะประกาศความพร้อมนำสงขลาสู่ความเป็นสงขลาพอเพียง

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ สวนสาธารณพรุค้างคาว อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เครือข่ายสุขภาวะชุมชนนำโดยเครือข่ายแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา และองค์กรภาคี ภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาชน นำเสนอผลการดำเนินงานสร้างสุขภาวะชุมชนด้วยแผนสุขภาพจังหวัดและวางจังหวะก้าว สู่ “สงขลาพอเพียง” ถวายแด่ในหลวงเนื่องในโอกาสพระชนมายุ ครบ 7 รอบในวันที่ 5 ธันวาคม 2554  คำอธิบายภาพ : dscf9987 ลุงลัภย์ หนูประดิษฐ์ ผู้นำกลุ่มออมทรัพย์ประธานเครือข่าย กล่าวว่าจังหวัดสงขลามีทุนทางสังคมในการทำงานของภาคประชาชน พัฒนาการมาตั้งแต่การมีกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มนักพัฒนา สงขลาประชาคม ประชาคมสุขภาพ ในปี 2547 ได้จับมือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ทำหน้าที่สร้างกลไกการจัดการระดับจังหวัด สร้างกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการทำงานสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม

ในเมื่อจังหวัดสงขลามีลักษณะเด่นที่มีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง มีภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความตั้งใจจะทำงานในด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของคนสงขลา มีภาคราชการที่เปิดกว้างยอมรับการมีส่วนร่วมในการร่วมแก้ปัญหาของประชาชน รวมทั้งมีภาควิชาการจา สถาบันอุดมศึกษาและนักวิชาการอิสระจำนวนหนึ่งที่ขับเคลื่อนสังคมมาอย่างต่อเนื่อง

ปี 2548 ได้มีการประสานกับคุณสมพร ใช้บางยาง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาในขณะนั้น ซึ่งได้ให้แนวทางในการจัดทำแผนสุขภาพจังหวัด ให้อยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในสงขลาและให้ความสำคัญกับการมองภาพอนาคตสงขลาในอีก 10-20 ปีข้างหน้า และได้แนะนำให้มีคณะทำงานที่มีสัดส่วนในความหลากหลายของภาคี มาทำงานและเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อคิดภาพรวมระบบสุขภาพของจังหวัด ภายใต้กรอบการมีส่วนร่วมในทุกเรื่อง และมีความยั่งยืนในอนาคต

ปี 2549 มีการทำบันทึกความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด เครือข่ายภาคประชาชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อเป็นพันธสัญญาที่จะขับเคลื่อนให้คนสงขลามีสุขภาวะร่วมกันโดยใช้การทำแผนสุขภาพจังหวัดสงขลาเป็นเครื่องมือในการหนุนเสริมให้เกิดการทำงานอย่างบูรณาการของภาคีทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน ท้องถิ่น ประชาสังคม NGOs วิชาการ และชุมชน จนกลายเป็นต้นแบบระดับประเทศ

แผนสุขภาพ จึงเกิดขึ้นเชื่อมประสานเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อทำให้เกิดสุขภาวะแก่ประชาชน เป็นแนวทางให้ทุกคน ทุกภาคี ทุกหน่วยงาน ได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ร่วมกันเรียนรู้ ร่วมปฏิบัติการ  เป็นการหนุนเสริมแผนพัฒนาจังหวัด แผนงานสาธารณสุขจังหวัด และแผนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงาน
 คำอธิบายภาพ : dscf9995_resize มีเครือข่ายหรือประเด็นหลักที่มีความสำคัญสูงและเป็นที่สนใจของภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนได้ 14 ประเด็น  ได้แก่ การจัดระบบบริการสุขภาพของสถานบริการและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาวะองค์รวม ประเด็นบทบาท อสม.กับการสร้างเสริมสุขภาพประเด็นการส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชน ประเด็นการดูแลผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ประเด็นสุขภาพวัยแรงงาน: แรงงานนอกระบบ ประเด็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประเด็นการส่งเสริมสุขภาพผู้บริโภค ประเด็นเกษตรเพื่อสุขภาพ และอาหารปลอดภัย ประเด็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุการจราจร ประเด็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ ประเด็นวัฒนธรรมกับการสร้างสุขภาพ ประเด็นการจัดการข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านสุขภาพ ประเด็นการสื่อสารสาธารณะเพื่อสุขภาพ

นอกจากเครือข่ายเชิงประเด็นแล้วยังมีเครือข่ายในเชิงพื้นที่ มีการริเริ่มจัดทำแผนสุขภาพตำบลอีกจำนวน 20 แห่ง มีความร่วมมือในการทำงานระดับพื้นที่(ตำบล)ร่วมกับภาคีองค์กรต่างๆได้แก่ โครงการความร่วมมือฯของสกว. ตำบลต้นแบบของสมาคมอสม.สงขลา กองทุนสุขภาพตำบล

แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา มีเป้าหมาย เกิดความร่วมมือของภาคีต่างๆอันนำไปสู่การปรับระบบสุขภาพของจังหวัดสงขลาและกระตุ้นหนุนเสริมให้เกิดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่

ปรัชญา  ปรัชญานำทางในการจัดทำแผนสุขภาพจังหวัดสงขลาคือ การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  และรากฐานธรรมะในทุกศาสนา ภายใต้บริบทที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของพื้นที่

ความร่วมมือในเชิงงบประมาณ 3 ปี(2550-2552) มีความร่วมมือในเชิงงบประมาณดำเนินการประมาณ 65 ล้านบาท(อบจ.สงขลา 25 ล้านบาท/สสส.25 ล้านบาท/มูลนิธิโคคาโคลา 4.5 ล้านบาท/อปท./สปสช./หน่วยงานรัฐอื่นๆ 10 ล้านบาท)  คำอธิบายภาพ : pic4be90a101871d ผลเกิดจากกิจกรรมหรือโครงการภายใต้แนวคิดและการสนับสนุนของแผนสุขภาพจังหวัด เปรียบเสมือนการขยับปีกของผีเสื้อตัวเล็กๆ ที่เกิดขึ้นมากมายในจังหวัดสงขลา ทั้งในส่วนของแผนสุขภาพเชิงประเด็น ประมาณ 140 กิจกรรม แผนสุขภาพตำบล(20 ตำบล) และโครงการย่อยประจำปี ตลอด 3 ปี(40 กิจกรรม)รวมโครงการหรือกิจกรรมทั้งหมดจำนวนประมาณ  200 กิจกรรม มีผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง  ประมาณ 25,000 - 40,000 คน

ผลการดำเนินงาน 3 ปีที่ผ่านมาได้บทเรียนร่วมในการความสำเร็จหลายประการ และมีความเห็นพ้องต้องกันว่าในการดำเนินงานต่อไป ควรจะมีการกำหนดเป้าร่วมเพื่อสร้างพลังในการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายเชิงประเด็นและพื้นที่ จึงมีข้อเสนอให้มีการนำหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นจุดเชื่อมโยงและยกระดับการทำงานสร้างเป้าหมายร่วมสู่อนาคต จนเกิดเป็นที่มาของการกำหนดวาระของภาคีสุขภาพร่วมขับเคลื่อน “สงขลาพอเพียง 2554” เพื่อถวายให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระชนมายุครบ 7 รอบในวันที่ 5 ธันวาคม 2554

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว