สสส. จับมือ สวรส. และภาคีสุขภาพ 30 องค์กร ระดมสมอง พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพของประเทศ
สสส. จับมือ สวรส. และภาคีสุขภาพ 30 องค์กร ระดมสมอง พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพของประเทศ
ระบุ เน้นผู้บริหารใช้ข้อมูลในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา หลังข้อมูลค้นพบคนไทยป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ภาวะอ้วน ป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดพุ่ง
เมื่อวันที่ 17 ก.พ. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเกี่ยวข้องรวม 30 องค์กร จัดการประชุมวิชาการ ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “ข้อมูลสุขภาพเข้มข้น สุขภาพชุมชนเข้มแข็ง” โดยศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวเปิดการประชุมว่า ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสุขภาพ ทั้งใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และธรรมนูญสุขภาพว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 การมีข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดี หมายถึง การนำข้อมูล แปลงเป็นสารสนเทศ และสร้างให้เกิดความรู้ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศและท้องถิ่นให้เข้ม แข็ง การมีข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ดีเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างระบบข้อมูลและ ความรู้ที่ยั่งยืน
นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผอ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากในระบบสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลจากสถานพยาบาลต่างๆ เป็นข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกกว่า 130 ล้านราย และข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยในกว่า 5 ล้านครั้ง ข้อมูลเหล่านี้เริ่มมีการนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการจัดสรรงบประมาณให้กับ สถานพยาบาลต่างๆ แต่การใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพในระดับพื้นที่ ยังมีไม่มากนัก ทั้งที่บุคลากรใช้เวลาเก็บข้อมูลมากกว่า 1 ใน 3 ของเวลาทำงาน แต่กลับไม่ได้ใช้ข้อมูลนั้นเพื่อช่วยตัดสินใจแก้ไขปัญหา เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในทุกพื้นที่ และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะปัญหาสุขภาพในระดับพื้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด
“สำนัก งานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย และศูนย์เฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง โรคติดต่อและการบาดเจ็บ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้สำรวจสถานะสุขภาพของประชาชนโดยการตรวจร่างกายทุกระยะ 4-5 ปี ข้อมูลค้นพบที่สำคัญคือ คนไทยป่วยเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น ภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น ป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น เด็กไทย 1 ใน 4 มีพัฒนาการทางสมองต่ำกว่าเกณฑ์ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ” นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าว
Relate topics
- แนวทางการจัดการข้อมูลประเด็นเกษตร
- สรุป"ความต้องการสารสนเทศของภาคีแผนสุขภาพ" 2
- สรุป"ความต้องการสารสนเทศของภาคีแผนสุขภาพ"
- คณะทำงานโครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- สไลด์โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- รายงานการประชุมแนวทางการจัดการฐานข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- ร่าง - โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- รายงานการวิจัยเรื่อง การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นขององค์กรภาคประชาชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสุขภาพ
- แผนสุขภาพประเด็นการจัดการข้อมูลและความรู้เพื่อสุขภาพ
- ร่างแผนสุขภาพประเด็นการจัดการข้อมูลและความรู้เพื่อสุขภาพ