สรุป"ความต้องการสารสนเทศของภาคีแผนสุขภาพ"
การอภิปรายกลุ่ม ( Focus Group )
“ความต้องการสารสนเทศของภาคีแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา”
วันที่ 6 ธันวาคม 2551
ตัวแทนกลุ่มภาคีแผนสุขภาพที่เข้าร่วม ได้แก่ ประเด็นเกษตรและอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ
สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ประเด็นผู้พิการ โรงพยาบาลหาดใหญ่ ประเด็นลดอุบัติเหตุ
ประเด็นแรงงานนอกระบบ สถานีอนามัยตำบลคลองรี
ซึ่งสรุปแนวทางการต้องการสารสนเทศได้ ดังนี้
- ประเด็นผู้พิการ
แหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วแต่มีปัญหาไม่สามารถเข้าถึงได้
พมจ. .. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แหล่งข้อมูลก็มีที่ สปสช. เพราะเขาเก็บฐานข้อมูลของบุคคลที่เป็นเลข 13 หลัก
อสม.นี้เขาจะรู้จริงเขาจะมีเยี่ยมบ้านเราก็ให้ อสม.ช่วย
ข้อมูลที่ต้องการ
ฐานข้อมูลคนพิการ ไม่รู้ที่อยู่
เทศบาลเราก็ได้ส่วนหนึ่ง
ได้ข้อมูลเป็นรายชื่อและความพิการ
แต่ที่อยู่นี้ก็ไม่ละเอียด
คนพิการนอกเขตเทศบาลนี้เราจะรู้เยอะ
เนื่องจากอนามัยนี้เขาทำข้อมูลได้คลอบคลุม
ข้อมูลที่ไม่มีการเก็บ ยากต่อการเก็บ
ผู้ป่วยเป็นอิสลามเนี่ยเขาจะไม่ขึ้นเป็นคนพิการนะ
แต่ความจริงมีเยอะมาก
การขึ้นทะเบียนคนพิการ การให้ความหมายตัดสินว่าเป็นคนพิการ
อาจทำให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือตกสำรวจ
เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเขาไม่ตีเป็นคนพิการ
- ประเด็นอุบัติเหตุ
แหล่งข้อมูล
รพ.หาดใหญ่และฐานข้อมูลอุบัติเหตุนี้ส่วนท้องถิ่น ดูในเรื่องพฤติกรรม
สำนักงานขนส่งจะดูเรื่องของรถ
เรื่องถนนอาจารย์วิวัฒน์ วิศวะกรรม มอ.ทำกับสวรส.
ไม่รู้ว่ามันมีประเด็นบางส่วนเชื่อมโยงกันได้
ข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ
พิการจากอุบัติเหตุ- มีข้อมูลใน รพ. ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนี้มีผู้พิการ
รับรักษาตัวที่ รพ.
ข้อมูลที่ต้องการการเผยแพร่ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายสาธารณะที่ช่วยคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุ เช่น พรบ
- ประเด็นเกษตรและอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ
ข้อมูลที่ต้องการการจัดเก็บ
ผู้ประกอบการปลูก/ขายพืชปลอดภัยและได้มาตรฐานตัว Q ( มาตรฐานความปลอดภัย )
- เรื่องของผู้ผลิตมีที่ไหนบ้าง
- เรื่องข้อมูลผู้ประกอบการ
- ข้อมูลเรื่องผลิตภัณฑ์ มันต้องมีข้อมูลหน่อยว่ามีวิธีการได้มา
- ข้อมูลเกษตรกรที่ไม่ใช่ปราชญ์ ชาวบ้าน
แหล่งข้อมูล เกษตร รพ.หาดใหญ่ โครงการรับซื้อผักไร้สารพิษมาขาย สวพ.8 อยู่ในสำนักวิจัยยางตรงนี้ เขาจะมีสถิติว่านำเข้ายาที่ใช้ปลูกผักเท่าไร
อุปสรรค
ตัวยาที่ตรวจสารตกค้างนี้มันแพงขวดนิดเดียว 2,000 บาท
ข้อมูลที่ต้องการการเผยแพร่
- สร้างกระแส ประชาสัมพันธ์สถานการณ์ตลาดสีเขียว มหกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง
- มาตรฐานที่น่าเชื่อถือ เราจะเชื่อมาตรฐานไหนได้บ้าง
- ปัญหาที่คนไม่เข้าใจ อาหารปลอดภัย อาหารปลอดสารพิษ
และอาหารสุขภาพนี้ต่างกันอย่างไร
- สารพิษที่ใช้ในการปลูกผัก และการใช้ที่ถูกต้อง
- วิธีการทางธรรมชาติที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช
เกษตรไม่มีหน้าที่ตรวจหรอกครับ
มันมีกองควบคุมวัสดุการเกษตรของกองวิชาการ
เขาจะตรวจว่ายาอะไรขายได้ มันจะอยู่ที่ ด้วย
ข้อเสนอแนะ
วิธีการสื่อสารไม่ควรใช้ internet อย่างเดียวชาวบ้านไม่มี
การรณรงค์ในโรงเรียน โรงพยาบาล เรือนจำ ค่ายทหาร
* ประเด็นแรงงานนอกระบบ
ข้อมูลที่ต้องการ
ข้อมูลแรงงานนอกระบบ
จำนวนหรือตัวเลขในภาพรวมทั้งแรงงานอกระบบและในระบบ
ตัวแรงงานนอกระบบไม่มีตัวตนที่ชัดเจนในระดับจังหวัด
ที่จะบอกว่ามีปัญหาแบบนี้หน่วยงานราชการต้องเข้าไปช่วยเหลือ.....
ต้องทำให้เรามีตัวตนขึ้นมาก่อนว่าเราเป็นใคร
แล้วมีปัญหาอย่างไรแล้วทำอย่างไรที่จะให้ปัญหาได้รับการดูแล
ด้วยแล้วปัญหามันอยู่ในระดับไหน” คุณพันธ์
นโยบายแรงงาน จังหวัดสงขลามีนโยบายเรื่องแรงงานอย่างไร
สถานการณ์การจ้างงาน แนวโน้มการจ้างงาน
สถานการณ์ปัญหาแรงงาน เช่น สภาพการจ้าง การทำงาน
งานวิจัยของนักวิชาการที่หาตัวได้แต่หาเปเปอร์ไม่ได้
องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระบบและนอกระบบบทบาทอย่างไร
แหล่งข้อมูล
สำนักงานประกันสังคม มีตัวเลขการใช้บริการจากประกันสังคม
ศูนย์ความปลอดภัย สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
อบต. ที่ทำงานนำร่องบางตำบล
“ในชุมชนเขาเก็บกันเองแล้วถูกรวบรวมที่ อบต.
แล้วเขาจะนำมาใช้ในการวางแผนแล้วส่งเสริมในมุมมองของเขา
สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายแรงงานนอกระบบขึ้นมา”
ข้อเสนอแนะ
- ถ้าเรามีศูนย์ข้อมูลที่ตำบลเราน่าจะมีอบต.เป็นเจ้าภาพได้
- สอ.เก็บอยู่แล้ว คือเราแค่เก็บเพิ่มว่าเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบหรือว่าในระบบ
- แหล่งข้อมูลอีกแหล่งที่ใกล้ชิดข้อมูลมากอีกแหล่ง คือ อสม. - การให้แรงงานนอกระบบมีเครือข่ายและจัดการในรูปฐานสมาชิก
ซึ่งปัจจุบันทำแบบสมัครใจ โดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
“ การมีมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพแรงงานนอกระบบมีเครือข่าย
และมีจัดการในรูปฐานสมาชิก มีการคัดเลือกสมาชิกมีการทำงานในพื้นที่ขึ้นมาจังหวัด
และคัดเลือกระดับชาติขึ้นมา คือมันจะเป็นมุมมองในการขับเคลื่อนได้ง่าย
แล้วมาเสนอบทบาทและนโยบายของตัวเอง อย่างผู้นำถามสมาชิกแล้วสมาชิกเห็นด้วยไหม
เพราะว่าอย่างตอนที่คุยเนี่ย อาจจะมีการจ่าย 10 บาทต่อปี
ในการที่จะเป็นมีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิกเนี่ย หรือมีบัตรที่จะบอกได้ว่าเป็นเครือข่าย
แล้วมีสวัสดิการร่วมกันอย่างไรบ้าง แล้วเป็นกลุ่มที่สามารถที่จะดูแล
แล้วสามารถที่จะดูว่าอะไรเกิดขึ้นตรงไหนได้
ไม่ใช่ว่าเป็นสมาชิกแล้วไม่รู้อะไรเลยว่าเครือข่ายตัวเองอยู่ตรงไหน” คุณพันธ์ วรรณบริบูรณ์
- ควรมีผู้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเป็นภาพรวมของของแรงงานนอกระบบในระดับจังหวัด
“ ผมว่ามันต้องมีเจ้าภาพที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ แต่ว่าปัญหา
ไม่รู้ใครเป็นเจ้าภาพ แล้วถ้าพูดถึงเจ้าภาพ อบต.ต้องมีข้อมูล
แต่ทำไม่ทำนี้มันขึ้นอยู่กับผู้นำผู้บริหารแต่ละท้องถิ่นเขาเห็นด้วยกับเรื่องนี้ไหม ....” คุณประภาส ขำมาก - ขอความช่วยเหลือ อสม. ที่มีอยู่แล้วในตำบล
ซึ่งมีความใกล้ชิดกับข้อมูลมากที่สุดในการสำรวจข้อมูลแรงงานนอกระบบ ซึ่งทำอยู่แล้วในบางพื้นที่
“.....อยากได้ข้อมูลนั้นได้แต่ว่าเราต้องขอความช่วยเหลือจากในส่วนของ อสม.
เรามี อสม. ในทุกหมู่บ้าน แต่ว่าการสำรวจนี้อย่าสำรวจให้ยาก สำรวจง่ายๆ........
การสำรวจต้องบอกว่าที่สำรวจเพื่อจะเอามาวางแผนในการรักษาพยาบาล
เพราะว่าเขากลัวเสียภาษี.....มีลูกจ้า 10 เขาจะบอกแค่ 3.....” คุณวิรัช แก้วคำ
- ใช้สื่อวิทยุท้องถิ่นในการให้ความรู้ทำความเข้าใจเรื่องแรงงานนอกระบบ
เพื่อกระตุ้นให้แรงงานนอกระบบออกมาแสดงตัว
“ ผมทำวิทยุออนไลน์อยู่แล้วอาจจะมีสักวันที่เราจะเอาแรงงานนอกระบบมาเล่า
ตอนนี้มีชาวนา....จะเห็นภาพชัดขึ้น ......จะมีคลังเสียงเป็นจุดเริ่มของ database
เป็นช่องทางหนึ่งในการวิเคราะห์สถานการณ์ได้” คุณกำราบ พานทอง
- SMS เป็นช่องทางหนึ่งในการติดตาม และ update
ข้อมูลที่ต้นทุนไม่แพงมาก และสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าทาง website
“....ที่ผมว่าน่าจะมีประโยชน์คือ SMS…..ราคาแค่ 66 สตางค์ . ...เพราะว่าอินเตอร์เน็ตเนี่ยมันก็จะมีคนใช้น้อยแล้วก็โทรศัพท์ก็แพง . ...ต้องมีการพัฒนาระบบ SMS ว่าจะส่งข้อมูลอย่างไร เป็นการหาข้อมูลเพิ่มเติม... .ไม่ได้ได้ส่งกับโทรศัพท์นะ แต่ส่งกับคอมพิวเตอร์” คุณกำราบ พานทอง
Relate topics
- สสส. จับมือ สวรส. และภาคีสุขภาพ 30 องค์กร ระดมสมอง พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพของประเทศ
- แนวทางการจัดการข้อมูลประเด็นเกษตร
- สรุป"ความต้องการสารสนเทศของภาคีแผนสุขภาพ" 2
- คณะทำงานโครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- สไลด์โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- รายงานการประชุมแนวทางการจัดการฐานข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- ร่าง - โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- รายงานการวิจัยเรื่อง การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นขององค์กรภาคประชาชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสุขภาพ
- แผนสุขภาพประเด็นการจัดการข้อมูลและความรู้เพื่อสุขภาพ
- ร่างแผนสุขภาพประเด็นการจัดการข้อมูลและความรู้เพื่อสุขภาพ