สรุป"ความต้องการสารสนเทศของภาคีแผนสุขภาพ" 2
การอภิปรายกลุ่ม
( Focus Group )
“ความต้องการสารสนเทศของภาคีแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา”
วันที่ 20 ธันวาคม 2551
ตัวแทนกลุ่มภาคีแผนสุขภาพที่เข้าร่วม ได้แก่ ประเด็นเด็กและเยาวชน
ประเด็นหลักประกันสุขภาพ ประเด็นผู้สูงอายุ ประเด็นคุ้มครองผู้บริโภค
ประเด็นสื่อสารสาธารณะ
ซึ่งสรุปแนวทางการต้องการสารสนเทศได้ ดังนี้
- ประเด็นเด็กและเยาวชน
ข้อมูลที่ต้องการ
ข้อมูลในเชิงของพฤติกรรม
“.....น่าจะมีเสริมตัวพฤติกรรมลงไปด้วย เช่น
ที่บอกว่าตัวเลขของแม่บ้านติดเชื้อเอดส์มากขึ้น
เพราะว่าพ่อบ้านเที่ยวมากขึ้นหรือเปล่า
แล้วที่ตัวเลขที่ด่านนอกจะมากกว่าหาดใหญ่หรือเปล่า
เนื่องจากแหล่งบริการย้ายไปอยู่ด่านนอกแล้ว....”คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น - ข้อมูลเรื่องเพศในวัยรุ่นสถิติ อายุ ให้เห็นพัฒนาการของตัวเลข
“.....ซึ่งหากมีการนำเสนอข้อมูลด้านตัวเลขก็จะเห็นพัฒนาการของตัวเลขมากขึ้นว่าเด็กมีอายุน้อยลง..”
อาจารย์รัชนีกูล ชนะวรรณโณ
- ภาพรวมของข้อมูลเกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหมด
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็ก และเยาวชนในหาดใหญ่
“สิ่งที่ต้องการในการดำเนินกิจกรรม คือ ระบบฐานข้อมูลของภาครัฐ
ซึ่งมีแนวคิดว่าอยากมองให้เห็นภาพรวมของข้อมูลที่เกี่ยวกับเด็กทั้งหมด
รวมทั้งหน่วยงานดูแลเกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในหาดใหญ่ มีหน่วยงานไหน”
คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์
- กรณี หรือบทเรียนของพื้นที่ตัวอย่างที่เคยมีปัญหา และแก้ปัญหาแล้ว
“.......แล้วถ้ามีพื้นที่เป็นตัวอย่างว่ามันมีอยู่เขาทำแล้วแก้ปัญหาแล้ว
มันก็จะทำงานได้ง่ายขึ้น คือน่าจะเป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
.....ให้ครอบคลุมมากขึ้นทั้งภาครัฐ และท้องถิ่น...” คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์
- ข้อมูลที่สะท้อนถึงปัญหาของเด็ก และเยาวชน เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
“.....ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาในระบบครอบครัว....ปัญหาความสัมพันธ์
เราก็จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของพ่อแม่และเด็ก โดยกิจกรรมเน้นให้เด็กรู้จักตนเอง
รู้จักสังคมและรู้จักโลก เป็นการตั้งโจทย์ร่วมกัน...” คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์
- ข้อมูลสถิติโรคสำคัญที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการปรับพฤติกรรมเด็ก เช่น โรคเบาหวาน
“.......เราอยากได้ฐานข้อมูลแบบนี้.....ใช้ข้อมูลตัวเลขยืนยัน
อย่างมีตัวเลขจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน.......
คุยว่าอย่างพวกคุณนั่งอยู่ตรงนี้ 10 คนมีความเสี่ยงที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานไปแล้วกี่คน.....”
คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์
- ตัวบ่งชี้สถานภาพของครอบครัวที่แตกแยก หรืออ่อนแอ
หรือมีแนวโน้มที่จะแตกแยก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของกปัญหาเด็ก และเยาวชน
- สถิติจำนวนหญิงหม้ายในชุมชน
“.....นอกจากนี้ยังมีตัวเลขด้านหญิงหม้ายที่ยังไม่มีการรวมรวบ
ที่เกิดจากสาเหตุการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน.....คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น
ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
- รวบรวมเกี่ยวกับเรื่องเพศ ค่านิยมเรื่องเพศของวัยรุ่นจากการสำรวจเป็นครั้งๆ
“....ประเด็นเด็กในกลุ่มเพศศึกษามีการรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับเรื่องเพศ
เรื่องค่านิยมเรื่องเพศของวัยรุ่น เราไม่ได้เก็บเป็นตัวเลขนะค่ะ
แต่เก็บแบบสอบถามสำรวจเอาเป็นครั้งๆ”อาจารย์รัชนีกูล ชนะวรรณโณ
- ในการดำเนินกิจกรรมนอห้องเรียน จะใช้ข้อมูลด้านสังคม วัฒนธรรม ฤดูกาลของสงขลา
ช่วงไหนเป็นอย่างไร
“ข้อมูลด้านสังคมมากกว่า ตามฤดูกาลสงขลาช่วงไหนเป็นอย่างไร
วัฒนธรรมในรอบปีเป็นอย่างไร อย่างนี้แหละครับ เราก็ต้องดูแล้วร้อยมันทั้งหมด....”
คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์
แหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เรียนรู้ชุมชน
“.......มีศูนย์วิทยาศาสตร์เรียนรู้ชุมชนที่เป็นเพื่อนกันก็ช่วยกันรวบรวมข้อมูลให้เขาเอาข้อมูล
ไปใช้แล้วส่งต่อข้อมูลมาให้เราพัฒนาต่อ......” คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์
แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล
- อยากให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่สะท้อนถึงพฤติกรรมของเด็ก
และเยาวชน การเปลี่ยนแปลงแต่ละปี มีการเปลี่ยนแปลงด้านไหนบ้าง
- การอธิบายข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ว่าเหตุใดจึงเกิดลักษณะแบบนั้นขึ้น
เช่น ทำไมผู้ป่วยเอดส์ในกลุ่มอาชีพประมงจึงน้อยลง ทั้งที่คาดว่าน่าจะสูงขึ้น
แต่กลับไปมากขึ้นในกลุ่มคนในเมือง เป็นต้น
“......อย่างในตัวพฤติกรรมเนี่ย ของแต่ละปีมันเปลี่ยนแปลงด้านไหนบ้าง
อย่างกลุ่มอาชีพประมงในเรื่องกลุ่มเอดส์ ที่มันมีน้อยลงที่เราคิดว่าตอนแรกมันน่าจะมีมากขึ้น
แต่ในทางกลับกันคือ กลุ่มคนในเมืองนี้มีตัวเลขมากขึ้นนะ แล้ว......”คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น
- มีการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับเด็ก และเยาวชนอย่างไร
ในชุมชนใด ผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างไร
“........เรื่องกิจกรรมว่าดำเนินการอยู่อย่างไร พื้นที่เป้าหมาย
ชุมชนไหนที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่
จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อสุขภาพนี้เกิดอย่างไร ......
รัฐตอบได้ว่าใครทำอะไรอย่างไร .....” คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์
ข้อเสนอแนะ
- การนำเสนอข่าวโดยมีข้อมูลมาประกอบจะทำให้น่าสนใจมากขึ้น
เช่น การที่มีสถิติอุบัติเหตุจำนวนมาก น่าจะมีข้อมูลในส่วนของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องนำเสนอด้วย
“......ส่วนที่สองก็น่าจะสร้างกระแส มีการเสนอต่อเนื่อง
มีข้อมูลมารองรับไหมตามกระแสข่าว กรณีตัวอย่างเกิดอุบัติเหตุรถชนตาย
ทำไมไม่มีข้อมูลอื่นมารองรับ คือ ถ้ามีตัวเลขมันโชว์ด้วยอันนี้น่าสนใจนะ
แล้วพฤติกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยนะมันจะน่าสนใจมากขึ้น”คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น
- การเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวจากท้องถิ่นมายังภาครัฐ
“ การเก็บข้อมูลด้านครอบครัว ท้องถิ่นเช่น อบต. เทศบาล
ดำเนินการส่งข้อมูลมาให้ภาครัฐอย่าง อบจ.
ซึ่งข้อมูลนี้ถ้าได้นำมารวมกันก็จะเห็นภาพของเด็กและเยาวชนในจังหวัดสงขลา
ชัดขึ้น......” คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์
- ประเด็นผู้สูงอายุ ข้อมูลที่ต้องการ - ข้อมูลชื่อ ที่อยู่ของผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง พิการและเจ็บป่วย - ผู้สูงอายุที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว - ข้อมูลผู้สูงอายุจะมีรายละเอียดกันไม่ครอบคลุม
แหล่งข้อมูล - ฝ่ายทะเบียนของหน่วยงาน คุณเสาวณีย์ (รพ.หาดใหญ่???)
- ประเด็นคุ้มครองผู้บริโภค คุณสมชาย ละอองพันธ์
ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว - ข้อมูลตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข - ข้อมูลของเครือข่ายสุขภาพแต่ละประเด็น
ข้อมูลที่ต้องการ
- เรื่องร้องเรียนในพื้นที่
“ข้อมูลที่อยากได้คือเรื่องการร้องเรียนในพื้นที่ทั้งปัญหา เช่น ราคาสินค้า สุขภาพ การร้องเรียนต่างๆ การบริการของโรงพยาบาล หรือบริการทั่วไป สถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่ ......” คุณสมชาย ละอองพันธ์
- ผลการวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่
- ความเคลื่อนไหว กิจกรรม การทำงานในพื้นที่
- บทเรียนการทำงานจากชุมชนต้นแบบ
“......การวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพในพื้นที่เรื่อง
เช่น เรื่องอาหาร น้ำดื่ม ผัก อาหารเสริม เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ แล้วก็ข้อมูลเชิงกิจกรรม
การเคลื่อนไหวในพื้นที่ การทำงานในพื้นที่ การให้ความรู้ในพื้นที่
ชุมชนต้นแบบการทำงานต้นแบบในพื้นที่.....”
- วิธีการแก้ปัญหาที่เคยใช้แล้วได้ผล .......
ทุกเรื่องนี้ถ้ามีการเก็บข้อมูลที่เชิงแก้ปัญหาแล้ว
ได้ผลแล้วมาเป็นบทเรียนให้เรียนรู้ต่อไป ฐานข้อมูลที่สามารถเอาความรู้ได้
......อย่างการดำเนินกิจกรรมของ มอ. FM. 88 รายการแลบ้านแลเมือง
น่าจะมีการเก็บรวมรวบข้อมูล……”
- ข้อมูลเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสามารถเป็นเครือข่ายสนับสนุนงานวิชาการ
ข้อเสนอแนะ
- การเชื่อมโยงและแชร์ข้อมูลระหว่างประเด็นสุขภาพต่างๆ และภาครัฐ
“....ส่วนข้อมูลเครือข่ายสุขภาพแต่ละประเด็นมีข้อมูลของตัวเองอยู่แล้ว
ทำยังไงในการเก็บข้อมูลในแต่ละประเด็นสามารถที่จะแชร์กับสาธารณสุขมีการเชื่อมประสานข้อมูล”
คุณสมชาย ละอองพันธ์
- การเข้าถึงข้อมูลทำได้ยากเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนต่างๆ ซึ่งมีมากแต่ไม่สามารถเผยแพร่ได้
“.......แล้วก็เรื่องการเข้าถึงข้อมูลที่ตอนแรกเหมือนจะเข้าถึงยาก
อย่างข้อมูลเชิงร้อน การรับเรื่องร้องเรียนต่างๆทั้งจาก วิทยุมอ. 88
ความจริงข้อมูลเหล่านี้เข้ามาเยอะมาก คือมันติดปัญหาในการเผยแพร่” คุณสมชาย ละอองพันธ์
แหล่งข้อมูล
- เครือข่ายสื่อมวลชน อสม. เครือข่ายนักเรียน เครือข่ายเกษตรปลูกผักปลอดสารพิษ
- ประเด็นสื่อสารสาธารณะ
คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น
ข้อมูลที่ต้องการ - ข้อมูลแผนสุขภาพของชุมชน
กระบวนการทำแผนในแบบต่างๆแต่ละหน่วยงาน
- กองทุนต่างๆ ในพื้นที่
- กลุ่มของสื่อทุกชนิดที่ทำงานในด้านต่างๆ
- ประเด็นร้อน พฤติกรรมล่อแหลมต่างๆ จากข้อมูล
“ สิ่งที่ต้องการ คือ ข้อมูลแผนสุขภาพของชุมชน
กระบวนการทำแผนในแบบต่างๆแต่ละหน่วยงาน
กองทุนต่างๆ......อยากให้มีข้อมูลด้านสื่อทุกประเภท
เสียงตามสาย สื่อชุมชน ......แล้วก็ข่าวสารบ้านเรา
ประเด็นร้อนต่างๆ พฤติกรรมล่อแหลมที่ออกมาจากตัวเลขอันนี้........” คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น
ข้อเสนอแนะ
- เบื้องต้นที่สุดควรจะเป็น index ที่สามารถชี้ไปถึงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
“.....อันดับแรกที่น่าจะทำได้ก่อนเลยว่าก็คือว่าข้อมูลไหนอยู่แบบไหน
รูปแบบไหนอาจในแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือโทรศัพท์ แล้วอาจต้องมีทีมหาข้อมูล.....”
- ควรมีการสื่อสารทางอื่นๆ ด้วยนอกเหนือจากทางอินเตอร์เน็ต
- ประเด็นหลักประกันสุขภาพ คุณสมจิตร ฟุ้งทศธรรม
แหล่งข้อมูล - ศูนย์ไทรงาม
ข้อมูลที่ต้องการ - คนที่ยังไม่ได้รับการคุ้มครองโดยหลักประกันสุขภาพ เช่น ไม่มีบัตรประจำตัวประชาขน“จากการดำเนินงานของศูนย์ไทรงามในเรื่องหลักประกันสุขภาพ พบว่าบางคนไม่มีบัตรสุขภาพเนื่องจากว่าบางคนย้ายออกมาจากบ้านแล้วมาอยู่วัดก็ไม่มีบัตร...” คุณสมจิตร ฟุ้งทศธรรม
ข้อเสนอแนะ
- เมื่อมีการเก็บข้อมูล ควรมีข้อมูลป้อนกลับไปในระบบเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
“.......บางทีมีหน่วยงานเยอะแยะเลยที่มาทำ ที่มอ.
ก็มีนะแต่ว่าไม่ค่อยมีข้อมูลย้อนกลับเลย ..........
วิเคราะห์ได้ว่ามีปัญหาตกงาน เด็กตั้งครรภ์.......
แต่เราไม่ได้เก็บว่าได้แบบนี้เราจะทำอะไรต่อแล้วเราจะแก้อะไรต่อ......” คุณสมจิตร ฟุ้งทศธรรม
ปัญหา
- ความไม่ทันสมัยของฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์
“.......วันก่อนเราทำงานต่อสู้เรื่องของผู้ที่ไม่มีเลข 13 หลัก..... ซึ่งข้อมูลพื้นฐานนี้เก่ามาก เช่น ข้อมูลของเด็กคนหนึ่งข้อมูล ยังเป็นเด็กชายอยู่เลย แต่ว่าคนนั้นเนี่ยเขาบวชแล้วพึ่งสึกออกมาเลยนะ เราก็ว่าทำไมเขายังให้ข้อมูลเด็กชายอยู่เลย แล้วบ้านนี้ก็ไม่มีแล้วนะ
แต่ทะเบียนบ้านยังอยู่ คือคนที่อยู่ในทะเบียนบ้านไม่ได้กลับบ้านหลังนั้นเลย
แล้วพอจะทำเรื่องกลับไปดูทะเบียนบ้านในทะเบียนราษฏร์ยังดีแต่บ้านนี้ไม่มีแล้ว
บ้านถูกรื้อออกไปตั้งนานแล้ว.......” คุณสมจิตร ฟุ้งทศธรรม ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว - การดำเนินกิจกรรมผลที่ได้มีการรวมรวบเป็นเอกสาร
และใช้การประชาสัมพันธ์ผ่านรายการวิทยุชุมชน
Relate topics
- สสส. จับมือ สวรส. และภาคีสุขภาพ 30 องค์กร ระดมสมอง พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพของประเทศ
- แนวทางการจัดการข้อมูลประเด็นเกษตร
- สรุป"ความต้องการสารสนเทศของภาคีแผนสุขภาพ"
- คณะทำงานโครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- สไลด์โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- รายงานการประชุมแนวทางการจัดการฐานข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- ร่าง - โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา
- รายงานการวิจัยเรื่อง การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นขององค์กรภาคประชาชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสุขภาพ
- แผนสุขภาพประเด็นการจัดการข้อมูลและความรู้เพื่อสุขภาพ
- ร่างแผนสุขภาพประเด็นการจัดการข้อมูลและความรู้เพื่อสุขภาพ