ประชุมกรรมการบริหารเครือข่ายสร้างสุขภาพจังหวัดสงขลา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๒
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่ายสร้างสุขภาพจังหวัดสงขลา เป็นการประชุมครั้งแรกของปี ๒๕๕๒ หลังจากได้ปีก่อน ๆ ได้ประชุมกันไปหลายครั้ง
แจ้งข่าวเรื่องไข้ชิกุนคุณยาที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในจังหวัดสงขลา แถมด้วยสูตรยาสำหรับแก้ไข้คือใช้น้ำมะพร้าวอ่อนผสมกับสไปรท์ในปริมาณเท่ากัน ดื่มเพื่อลดไข้ หรือใช้น้ำมะพร้าวอ่อนผสมกับยาเขียวก็ใช้ได้เหมือนกัน
หลังจากแนะนำตัวซึ่งผู้ที่เข้าร่วมครั้งนี้มาจากทั้งภาคประชาชนและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทั้ง สสจ. เทศบาลปริก จังหวัดสงขลา สนง.จังหวัด ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สนง.พัฒนาชุมชน สนง.วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปสช.เขต ๑๒ สมคมศิลปินพื้นบ้าน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พัฒนามนุษย์ ประธานคือลุงลับ หนูประดิษฐ์ ก็เปิดการประชุม
แนะนำที่มาที่ไปของการมาประชุมกันในครั้งนี้โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ ถึงการรวมตัวกันของภาคเอกชนในการทำงาน ได้มีการร่วมมือกับทางจังหวัดสงขลา จนก่อให้เกิดแผนสุขภาพจังหวัดสงขลาขึ้นมา โดยผสานความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนเพื่อบูรณาการการทำงานด้วยกัน
รายงานผลการดำเนินงานของแผนสุขภาพ ประจำปี ๒๕๕๑ โดยคุณหมอสุภัทร
กระบวนของแผนสุขภาพซึ่งเคลื่อนด้วยประเด็น ๑๔ ประเด็น รวมทั้งแผนสุขภาพตำบล ได้มีการขึ้นรูปประเด็นที่ ๑๕ คือประเด็นแพทย์แผนไทยหรือแพทย์พื้นบ้าน โดยเบื้องต้นจะใช้งบประมาณของ สสส.มาขับเคลื่อนก่อน
ความตั้งใจ
- อยากเห็นโรงพยาบาลสักแห่งที่มีทั้งแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบัน ซึ่งจะใช้โรงพยาบาลควนเนียงเป็นต้นแบบ
- อยากเห็นศูนย์เรียนรู้เรื่องแพทย์แผนไทยสัก ๑๐ แห่ง
- อยากเห็นสมาคมเครือข่ายแพทย์แผนไทย
แผนสุขภาพตำบล ได้มีการทำมาแล้ว ๑๔ ตำบล นำแผนไปสู่ภาคปฎิบัติ ร้อยเป็นเครือข่ายในการทำงานด้วยกัน มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทุก ๒ เดือน
ธรรมนูญสุขภาพตำบล โดยทดลองทำที่ตำบลชะแล้ ซี่งได้ทำแผนสุขภาพตำบลมาก่อน สามารถประสานความร่วมมือกันได้ดี ได้ทำธรรมนูญเสร็จแล้ว มีการประกาศใช้แล้ว จะเป็นพื้นที่ตัวอย่างที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพในหลายมิติ
มูลนิธิชุมชนสงขลา ได้ทำการจดจัดตั้งเรียบร้อยแล้ว โดยมีคุณชิตเป็นประธาน ตั้งใจให้เป็นมูลนิธิที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนสงขลาบนพื้นฐานของความพอเพียงและความยั่งยืน หน้าที่ในการ ๑ เชื่อมร้อยเครือข่าย ๒ ระดมทุนและกระจายทุนไปสู่โครงการต่าง ๆ ๓ พัฒนาคน มุ่งสร้างโมเดลที่น่าจะเป็นต้นแบบ ซึ่งหากเป็นที่สนใจของหน่วยงานอื่น ๆ ก็สามารถนำไปขยายผลได้
มูลนิธิได้ดำเนินการทำแผนที่ของชุมชน เพื่อทราบความต้องการของจังหวัดสงขลา นำมาจัดลำดับความสำคัญของความต้องการ มูลนิธิไม่ได้ลงมือในการทำกิจกรรมเอง แต่จะเชื่อมร้อยกลุ่มคนต่าง ๆ ทุนทางสังคมต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่มาก แนวคิดพึ่งตนเองเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพสามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน โดยจะระดมทุนจากจังหวัดสงขลาเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นการทำงานโดยการพึ่งตนเอง
สงขลาเป็นเมืองแห่งการออม
โมเดลผีเสื้อ
ส่วนหัวคือเครือข่ายสงขลาพอเพียง เป็นเครือข่ายจากจังหวัด อบจ. อบต. กลุ่มออมทรัพย์ ภาคประชาชน ซึ่งผ่านการพูดคุยกันหลายครั้งจนรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น ทุกครั้งที่พูดคุยกันก็จะได้ประเด็นในการขับเคลื่อนเสมอ
ตามมาด้วยส่วนลำตัวซึ่งประกอบด้วย มูลนิธิชุมชน อบจ. อบต. สสส. จังหวัด สปสช. สวรส. สสส. สช. สกว. ฯลฯ
การขับเคลื่อนด้วยปีกทั้งสี่ มีปีกด้านขวาคือ MOU ระหว่างจังหวัด-มอ.-อบจ.-ภาคประชาชน และการขับเคลื่อนโดย ๑๔ เครือข่ายเชิงประเด็น
ปีกด้านซ้ายมีคำประกาศสมิหลา ที่พูดถึงสุภาวะเป็นวาระชุมชน แผนสุขภาวะ บูรณาการกลไกการทำงาน และกองทุนสุขภาพท้องถิ่น ซึ่งเป็นการทำงานของเครือข่ายเชิงพื้นที่ มี สปสช. สมาคม อสม./สสจ. สวรส.ภาคใต้ สสส. โครงการความร่วมมือฯ สกว./พม./อปท./สสส./ธกส. โครงการศูนย์เรียนรู้การจัดการสุขภาวะชุมชน (สสส./อบต.ท่าข้าม)
ซึ่งปีกด้านซ้ายต้องทำงานเชื่อมต่อกับปีกด้านขวา
ขาของผีเสื้อเป็นกระบวนการในการขับเคลื่อนเช่นกระบวนการนโยบายสาธารณะ กระบวนการจัดการความรู้ กระบวนการสื่อสารสาธารณะ กระบวนการสุนทรียสนทนา กระบวนการงานวิจัย กระบวนการสมัชชาสุขภาพ
แนวทางการดำเนินงานแผนสุขภาพจังหวัดและแผนสุขภาพตำบลประจำปี ๒๕๕๒
สิ่งที่ต้องการคือแนวทางการเชื่อมต่อการทำงานระหว่างแผนสุขภาพหรือภาคประชาสังคมกับการทำงานของภาคราชการ และภาคประชาชนที่อยู่ในภาคธุรกิจ
รายงานการทำงานของแผนสุขภาพจังหวัดสงขลาตั้งแต่ปี ๒๕๔๙-๒๕๕๑ โดยชาคริต โภชะเรือง
สมัชชาสุขภาพ ปีนี้จะทำประมาณ 6 ที่ ซึ่งจะมีหลายประเด็นเช่น เด็ก ไฟใต้ กระบวนการย่อยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จะมีการประสานหน่วยงานย่อยในพื้นที่เข้าร่วม และจะมีกระบวนใหญ่ในปลายปี
กลไกการประสานงานสุขภาพท้องถิ่นจังหวัดสงขลา จากการที่มีการขยายการทำงานไปสู่ท้องถิ่นหลายพื้นที่ ทำให้ต้องมีการประสานกันในระหว่างท้องถิ่นมากขึ้น จึงขอความคิดเห็นจากที่ประชุมถึงทางออกในการประสานงานว่าจะทำอย่างไรดี เช่นมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานสุขภาพท้องถิ่นจังหวัดสงขลาดีหรือไม่ หากตั้งจะอยู่ภายใต้คณะกรรมการนี้หรือแยกไปเป็นอิสระต่างหาก
ต้องมีการดึงเอาองค์กรในท้องถินเข้ามาช่วยในการทำงาน เป็นพาร์ทเนอร์ในการทำงาน เช่น อบต. เทศบาล สปสช. ซึ่งการทำงานน่าจะมีกลไกอะไรมาช่วย
บทบาทของกลไกคือ
- ประสานงาน เช่นสปสช.มีกองทุนในชุมชน มีแผนในชุมชน มีกองทุนจำนวนมากในท้องที่ อปท.มีเครือข่ายของตนเอง มีคนทำงานเอง จะประสานงานกันอย่างไร
- การขยายผลในการทำงาน
น่าจะเป็นคณะทำงานที่ทำงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ก็สามารถทำได้
Relate topics
- รายงานสดจากงานตลาดนัดสร้างสุขคนสงขลาและสานรักครอบครัวครั้งที่ 3
- Clip chart - สงขลาพอเพียง
- ประชุมภาคีแผนสุขภาพประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2553
- สรุปบทเรียนภาคีแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา ระยะที่ 1
- ภาพการประชุมภาคีเครือข่ายแผนสุขภาพจังหวัดประจำเดือนเมษายน
- ภาพการประชุมภาคีเครือข่ายแผนสุขภาพจังหวัดประจำเดือนสิงหาคม
- งานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนภาคีแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา ระยะที่ 1
- ขอเชิญเข้าร่วมเวที สงขลาพอเพียง ครั้งที่ 41
- แฟ้มภาพ - ประชุมประจำเดือนกันยายน 2552
- ขอเชิญประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำเดือนกันยายน 2552