รพ.หาดใหญ่ เปิดศูนย์ประสานงานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ
เปิดศูนย์ประสานงานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ (ในมูลนิธิเมาไม่ขับ จังหวัดสงขลา)
ในวันที่ 25 กันยายน 2549 ทางโรงพยาบาลหาดใหญ่ ร่วมกับภาคีต่างๆ ได้มีการเปิดศูนย์ประสานงานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ " ในมูลนิธิเมาไม่ขับ จังหวัดสงขลา" ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายจิต ผสมพงค์ เป็นประธานในการเปิดศูนย์ฯ
ในการเปิดศูนย์ประสานงานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ (ในมูลนิธิเมาไม่ขับ จังหวัดสงขลา) มีประวัติความเป็นมา ดังนี้ สืบเนื่องด้วยโรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้รับเลือกเป็นโรงพยาบาลต้นแบบ 1 ใน 12 แห่งทั่วประเทศ โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนครบวงจร ของกระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการรวมตัวกันของผู้ป่วย และญาติที่ประสบอุบัติเหตุจราจรและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ก่อตั้งเป็นชมรม "ถนนปลอดภัย โรงพยาบาลหาดใหญ่" มีเจตนารมย์ร่วมกันในการฟื้นฟูสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุจราจร และรณรงค์ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจราจร สมาชิกชมรมส่วนใหญ่เป็นผู้พิการ และผู้ได้รับผลกระทบเป็นเหยื่อเมาแล้วขับ ทั้งนี้มูลนิธิเมาไม่ขับ ได้เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจและศักยภาพของสมาชิชมรมดังกล่าว จึงสนับสนุนให้จัดตั้งเป็น "ศูนย์ประสานงานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ" ในมูลนิธิเมาไม่ขับ
จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์
1. เป็นศูนย์กลางประสานงานของสมาชิก เครือข่ายเหยื่อฯในจังหวัดสงขลา
2. เป็นตัวกระตุ้นให้สังคมในระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด ตื่นตัวในการป้องกัน อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ
3. เป็นศูนย์กลางในการขยายเครือข่ายเหยื่อฯและจัดกิจกรรมอบรม รณรงค์ ในทุกภาคส่วน
โดยมีสถานที่ตั้งศูนย์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ ชั้น 5 ตึกพยาธิวิทยา
(ติดกับห้องประชุม นพ.สุวิทย์ พงค์พานิช ) สอบถามรายละเอียดได้ที่ ประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลหาดใหญ่ 074-273100 ต่อ 1717, 3127 ศูนย์ประสานงานคุณภาพ โรงพยาบาลหาดใหญ่ 074-273261 โดยศูนย์ฯ มีภารกิจหลัก ดังนี้
1. เป็นศูนย์กลางการประสานงานของสมาชิก เครือข่ายฯ
2. ให้ความรู้ถึงผลกระทบจากการเมาแล้วขับ กับสังคมจังหวัดสงขลา เช่น สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
3. ขยายเครือข่ายสมาชิกเหยื่อ โดยค้นหาช่วยเหลือเหยื่อจากการเมาแล้วขับจังหวัดสงขลา ตลอดจนให้คำปรึกษาในเรื่องสิทธิทางกฎหมาย การรักษาพยาบาล
4. สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเหยื่อฯ โดยจัดอบรมสัมมนาในกลุ่มเหยื่อแกนนำผู้เกี่ยวข้อง ในการไปถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน ต่อไป
5. สร้างกระแสให้กับสังคมในจังหวัดสงขลาให้ตื่นกลัวกับผลกระทบของการเมาแล้วขับ
สำหรับกิจกรรมภายในโรงพยาบาล
1.ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้สมาชิก เดือนละ 1 ครั้ง
2. เยี่ยมให้กำลังใจ ผู้ป่วยที่ท้อแท้หมดกำลังใจ ที่ประสบอุบัติเหตุและอื่นๆ
3. รณรงค์ลดอุบัติเหตุในโรงพยาบาล
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนอกโรงพยาบาล
1. รณรงค์ลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล บริเวณจุดตรวจตำรวจทางหลวง
2. ถ่ายทอดประสบการณ์ ให้ความรู้ลดอุบัติเหตุในสถานศึกษา
3. ร่วมกับตำรวจจราจร ตรวจจับ ผู้ดื่มแอลกอฮอล์
Relate topics
- สงขลายอดตายใกล้ทะลุเป้า ทางหลวงใต้คุมเข้มลดการสูญเสีย
- อุบัติเหตุจราจรดัชนีวัดมาตรฐาน อปท.
- สงขลาจัดหมอนวดคลายอ่อนเพลียริมถนนรับมืออุบัติเหตุสงกรานต์
- เผยตัวเลขคนตายจากอุบัติเหตุจราจรวันละเกือบ 40 คน
- ทางหลวงเตือนระวัง 96 จุดอันตรายเส้นทางทั่วประเทศ
- แผนสุขภาพประเด็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจร
- รายงานการประชุม วันที่ 7 สิงหาคม 2549 ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
- ร่างแผนสุขภาพประเด็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุจาการจราจร
- รายชื่อผู้เข้าร่วม
- จังหวัดสงขลาสามารถลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนนช่วง 10 วันอันตรายได้กว่า 9 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว