สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

ร่างแผนสุขภาพประเด็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุจาการจราจร

(ร่าง) แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา ประเด็น 9. การป้องกันและลดอุบัติเหตุจาการจราจร

เสนอโดย คณะทำงานเร่งรัดการป้องกันอุบัติเหตุการจราจรจังหวัดสงขลา
1. กระบวนทัศน์ต่อการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุการจราจรในจังหวัดสงขลา

"อุบัติเหตุไม่ใช่เวรกรรม&nbsp; แต่เป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นมาได้&nbsp; ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายทุกคน&nbsp; โดยขอให้ทุกคนให้ความสำคัญกับการขับขี่ปลอดภัย&nbsp; ปฏิบัติตามกฎหมาย&nbsp; มีน้ำใจในการใช้รถใช้ถนน"<br />

สมพร  ใช้บางยาง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

"อบจ.สงขลา ให้ความสำคัญในการลดความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุการจราจร  จึงได้มีนโยบายAmbulanceตำบล  เพื่อให้ทุกพื้นที่ในจังหวัดสงขลา สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้อย่างรวดเร็ว  ด้วยทักษะที่เพียงพอในการช่วยเหลือ เคลื่อนย้าย ปฐมพยาบาลตามหลักวิชาการ" นวพล  บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 2.  แนวคิด  ทิศทาง ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะ โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการขับเคลื่อนโดยกระบวนการภาคประชาชน

หลักคิดและปรัชญา
    ความสูญเสียจากอุบัติเหตุการจราจรเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน

จุดหมาย 1. เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่และการใช้ยานพาหนะของประชาชนในจังหวัดสงขลา  ให้เป็นการขับขี่ปลอดภัย 2. เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุการจราจรและอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรให้ลดลง 10 % ใน 3 ปี

ยุทธศาสตร์หลักของการป้องกันและลดอุบัติเหตุการจราจร โดยยึดตามยุทธศาสตร์ การป้องกันและลดอุบัติเหตุระดับชาติ  5  ยุทธศาสตร์ คือ 1.  ยุทธศาสตร์การบังคับใช้กฏหมาย ( Law  Enforcement ) โดยมีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด  ภายใต้การประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจให้ประชาชนเข้าใจเหตุผลของการบังคับใช้กฎหมาย    โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติตามหลักแห่งความปลอดภัย 3 ม. 2 ข. 1 ร. 3 ม.  ได้แก่  หมวกกันน็อค , เมาไม่ขับ  , มอเตอร์ไซค์ 2 ข. ได้แก่  เข็มขัดนิรภัย  ใบขับขี่ 1 ร. ได้แก่  การไม่ขับรถเร็ว

2. ยุทธศาสตร์การปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างทางวิศวกรรม (  Engineering ) โดยเน้นที่ระบบวิศวกรรมทางถนน  ป้ายสัญญาณ  แสงสว่างและทัศนวิสัยในการมอง หรืออุปกรณ์ช่วยในการลดความเร็วเป็นต้น  เพื่อลดโอกาสในการในการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยที่สุด

3. ยุทธศาสตร์การรณรงค์และให้ความรู้ในการลดการเกิดอุบัติเหตุ ( Education ) ความรู้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการสร้างจิตสำนึก  กระบวนการรณรงค์ให้ความรู้อย่างสอดคล้องกับกลุ่มบุคคลจะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนน  ให้เป็นการขับขี่ที่ปลอดภัยได้  โดยเฉพาะกับเยาวชนคนรุ่นใหม่  ซึ่งการปลูกฝังจิตสำนึกนี้  หากมีการกระทำอย่างต่อเนื่อง ย่อมจะสามารถลดปัญหาอุบัติเหตุการจราจรได้ในระยะยาว

4.  ยุทธศาสตร์การรับส่งผู้บาดเจ็บ ณ.จุดเกิดเหตุ  ( Emergency  Medical  System ) แม้ว่าจะมีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่ดีเพียงใด  อุบัติเหตุการจราจรยังมีโอกาสเกิดเสมอ  ระบบการรับส่งผู้ป่วย ณ.จุดเกิดเหตุ  จึงเป็นระบบที่สำคัญที่จะลดความสูญเสียหลังการเกิดเหตุ  ให้มีการสูญเสียชีวิตและการบาดเจ็บทุพพลภาพที่น้อยที่สุด

5.  ยุทธศาสตร์การประเมินผล  ติดตามและการบริหารจัดการ ( Elavuation)  ระบบการกำกับดูแล  การติดตาม  การจัดระบบข้อมูล และการประเมินผล  นับเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารระบบการป้องกันอุบัติเหตุในทุกระดับ  ในจังหวัดสงขลาทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจังหวัดสงขลา และคณะทำงานเร่งรัดการป้องกันอุบัติเหตุจราจรจังหวัดสงขลาขึ้นมาเป็นองค์กรเชื่อมประสานขับเคลื่อนทั้ง 5 ยุทธศาสตร์อย่างบูรณาการ

3.  โครงสร้างการทำงาน ที่ปรึกษา 1.ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 2.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

คณะทำงานเร่งรัดการป้องกันอุบัติเหตุจราจรจังหวัดสงขลา 1.นายสุเทพ โกมลภมร    รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 2.นางอัจจิมา พรรณณา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา 3.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ 4.พ.ต.อ.สาคร ทองมุณี สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา 5.พ.ต.ท.ธีรยุทธ์ สันติวิสัฏฐ์ สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง จ.สงขลา 6.พ.ต.ท.อาทร ภิรมย์รักษ์ สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา 7.พ.ต.ท.วรา เวชชาภินันท์ สถานีตำรวจภูธร อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 8.ร.ต.อ.ธนวุฒิ มณีโชติ สถานีตำรวจภูธร อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 9.นายสุชาติ ชุมชอบ สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา 10.นพ.วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ 11.นพ.ภควัตร จุลทอง โรงพยาบาลหาดใหญ่ 12.นายโสภณ ช่วยสงฆ์ สำนักงานพื้นที่เขตการศึกษา เขต 1 13.นางนาถนภา ทินกร สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา 14.นายเดชา วุฒิวรวนิชย์ สำนักงานแขวงการทางสงขลา 15.ว่าที่ ร.ต.สุรพล เจริญสิน ป้องกันจังหวัด 16.นายชรินทร์ ทองบัว งานป้องกันฝ่ายและบรรเทา ฯ อบต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 17.นายวิจิตร จันทรปาน สำนักงานป้องกันภัยฝ่ายพลเรีอนสงขลา 18.นางขนิษฐา สอนแสน โรงพยาบาลหาดใหญ่ 19.น.ส.สุดาพรรณ์ ภิรมย์บูรณ์ สำนักงานป้องกันภัยฝ่ายพลเรีอนสงขลา

4. แผนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อน

  1. แผนปฏิบัติการการบังคับใช้กฏหมาย ( Law  Enforcement ) เพื่อใช้กลไกการบังคับใช้กฎหมายในการสร้างพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย  โดยเฉพาะสำหรับผู้ขับขี่และซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์  ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความสูญเสียและการบาดเจ็บที่สำคัญที่สุด 1.1  โครงการขับขี่ปลอดภัย  คนซ้อนท้ายสวมใส่หมวกกันน็อค                   วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมขับขี่ปลอดภัยทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์
        กลุ่มเป้าหมาย  เริ่มนำร่อง 2 อำเภอคือ อ.เมือง และ อ.หาดใหญ่  แล้วขยายครบทั้งจังหวัด         ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานเร่งรัดการป้องกันอุบัติเหตุจราจรจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
       
    2.  แผนปฏิบัติการการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างทางวิศวกรรม (  Engineering ) เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขโครงสร้างวิศวกรรมจราจร  โดยเฉพาะในถนนสายรองและถนนในชุมชน ที่ไม่ได้อยู่ในความดูแลของแขวงการทาง  ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุ


                2.1  โครงการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมแก้ปัญหาวิศวกรรมทางการจราจร
        วัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาวิศวกรรมจราจรในถนนสายรองและถนนในชุมชนเพื่อการลดอุบัติเหตุ         กลุ่มเป้าหมาย  องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 30 แห่ง         ผู้รับผิดชอบ  คณะทำงานเร่งรัดการป้องกันอุบัติเหตุจราจรจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

3. แผนปฏิบัติการการรณรงค์และให้ความรู้ในการลดการเกิดอุบัติเหตุ ( Education ) เพื่อให้ประชากรกลุ่มต่างๆของจังหวัดสงขลามีความรู้ ( Knowledge ) มีทัศนคติความเข้าใจ ( Attitude ) และนำมาสู่การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยในการขับขี่ปลอดภัย                 3.1 โครงการเตรียมวิทยากรการป้องกันอุบัติเหตุจากกลุ่มเหยื่ออุบัติเหตุจราจร
        วัตถุประสงค์   เพื่อสร้างวิทยากรจากเหยื่อเมาแล้วขับที่มีศักยภาพในการกระตุ้นเตือนจิตสำนึกของประชาชนให้มีพฤติกรรมขับขี่ที่ปลอดภัย  พร้อมแผนนปฏิบัติการในการเดินสายรณรงค์ในสถานศึกษา  โรงงานหรือชุมชน
    กลุ่มเป้าหมาย  สร้างวิทยากรจากเหยื่อเมาแล้วขับ จำนวน 10 คน         สร้างวิทยากรจากทีมร่วมรณรงค์อีก 10 คน         ผู้รับผิดชอบ  คณะทำงานเร่งรัดการป้องกันอุบัติเหตุจราจรจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
                3.2  โครงการดีเจนักเรียน  ปฏิบัติการเสียงตามสายในโรงเรียนเพื่อลดอุบัติเหตุจราจร
                        วัตถุประสงค์    เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนเพื่อทำรายการเสียงตามสายในโรงเรียน  ในเรื่องการรณรงค์การขับขี่ปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุจราจร     กลุ่มเป้าหมาย  โรงเรียนมัธยมในจังหวัดสงขลาทุกแห่ง     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานเร่งรัดการป้องกันอุบัติเหตุจราจรจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
3.3  โครงการรณรงค์การสวมใส่หมวกกันน็อคเด็กในโรงเรียน                         วัตถุประสงค์    เพื่อการรณรงค์การสวมใส่หมวกกันน็อคเด็กให้กับเด็กนักเรียนในขณะโดยสารรถจักรยานยนต์  โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้ปกครองรับส่งบุตรหลานมาโรงเรียน     กลุ่มเป้าหมาย  โรงเรียนประถมศึกษาในความดูแลของเทศบาล  และโรงเรียนอื่นๆที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานเร่งรัดการป้องกันอุบัติเหตุจราจรจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
3.4  โครงการโมเดลรถบู้บี้ กระตุ้นสำนึกผู้ขับขี่ วัตถุประสงค์    เพื่อกระตุ้นเตือนผู้ขับขี่ให้มีพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย  โดยการจัดแสดงซากรถที่เกิดอุบัติเหตุในตำแหน่งที่เหมาะสม
      กลุ่มเป้าหมาย  จัดแสดงรถบู้บี้ในตำแหน่งที่เหมาะสมในถนนสายหลัก     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานเร่งรัดการป้องกันอุบัติเหตุจราจรจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

3.5 โครงการวิทยุชุมชนร่วมรณรงค์ลดอุบัติเหตุ วัตถุประสงค์    เพื่อให้วิทยุชุมชนที่กระจายอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดสงขลาได้มีส่วนร่วมในการสร้างกระแสและให้ความรู้ในการขับขี่ปลอดภัยและการลดอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
    กลุ่มเป้าหมาย  เครือข่ายสถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดสงขลา     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานเร่งรัดการป้องกันอุบัติเหตุจราจรจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

4.  แผนปฏิบัติการการรับส่งผู้บาดเจ็บ ณ.จุดเกิดเหตุ  ( Emergency  Medical  System ) เพื่อลดความสูญเสียหลังการเกิดอุบัติเหตุการจราจรให้น้อยที่สุด  โดยระบบการรับผู้บาดเจ็บ ณ.จุดเกิดเหตุนั้น มีระบบที่มีอยู่แล้ว 2 ระบบคือ ระบบของโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน  และระบบของมูลนิธิหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่ง  อย่างไรก็ตามเมื่อทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา  มีนโยบายให้การสนับสนุนรถ Ambulance เพื่อจัดตั้ง EMS ระดับตำบล  จึงนับเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของการพัฒนาระบบการรับส่งผู้บาดเจ็บ ณ.จุดเกิดเหตุ                 4.1 โครงการติดตามและพัฒนาสนับสนุนเครือข่าย EMS ระดับตำบล                         วัตถุประสงค์  เพื่อติดตามและสนับสนุนโครงการ EMS ระดับตำบลในระบบปฏิบัติการและทักษะการช่วยเหลือ ณ.จุดเกิดเหตุ  ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด                         กลุ่มเป้าหมาย  องค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้รับการสนับสนุนรถ Ambulance จากทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาทุกแห่ง     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานเร่งรัดการป้องกันอุบัติเหตุจราจรจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

5.  การประเมินผล  ติดตามและการบริหารจัดการ ( Evaluation)
5.1 โครงการประเมินผลโดยใช้ระบบข้อมูลและกระบวนการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ เพื่อจัดระบบข้อมูลสารสนเทศด้านอุบัติเหตุเพื่อใช้ในการกำกับประเมินผล
และสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนากลยุทธและรูปแบบในการแก้ไขและป้องกันปัญหาอุบัติเหตุจากการจราจร                         กลุ่มเป้าหมาย    ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน     ผู้รับผิดชอบ      อาจารย์วิวัฒน์  สุทธิวิภากร และคณะ     แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา  สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส.)

Relate topics

Comment #1
ออ (Not Member)
Posted @9 ส.ค. 50 23:46 ip : 202...14

อยากได้สถิติการใช้น้ำมันในการขนส่งด้วย และคำนวณความสูญการจราจรติดขัด

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว