ชวนชาวสงขลาร่วมช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยคาบสมุทรสทิงพระ
ผู้ประสานงานหลัก
- คุณชิต สง่ากุลพงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา เบอร์โทรศัพท์ 0869564956
- คุณสมพร สิริโปราณานนท์ รองประธานกรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา เบอร์โทรศัพท์ 081-8663468
- คุณชาคริต โภชะเรือง ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนสงขลา เบอร์โทรศัพท์ 081-5994381 อีเมล์kahlao@gmail.com
องค์กรความร่วมมือ
ประสานงานร่วมกับ “เครือข่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคประชาชนคาบสมุทรสทิงพระ” ณ สำนักงานของศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก อ.สทิงพระ จ.สงขลา เบอร์โทร.087-3912325 และมีองค์กรความร่วมมือได้แก่
- เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จ.สงขลา
- ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก
- สถานีวิทยุ มอ. FM 88.00 MHz, FM 101.00 MHz
- มูลนิธิชุมชนไท
- โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ฯ. (สกว.)
- สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)
- เครือข่ายรักษ์คลองอู่ตะเภา
- เครือข่ายแผนสุขภาพตำบล โซนคาบสมุทรสทิงพระ
- เครือข่ายชุมชนเพื่อการฟื้นฟูลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาโซนคาบสมุทรสทิงพระ
- วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส
ความเป็นมา
สืบเนื่องจากวันที่ 1 พ.ย 2553 พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีศูนย์กลางห่างประมาณ 350 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของจังหวัดสงขลา มีความเร็วสูงสุดประมาณ 50 กม./ชม. เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง โดยขึ้นฝั่งในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระและอำเภอเมืองในบางส่วน ความรุนแรงของกระแสลมหอบมาทั้งสายน้ำและส่งผลให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือนของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนของวัสดุกระเบื้องมุงหลังคา มีการหักโค่นของต้นไม้ ผลไม้ ต้นยางพารา ถอนรากล้มทับบ้านเรือน ตลอดจนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้า สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างแสนสาหัส หากทว่าข่าวสารและความสนใจของสังคมเกาะติดอยู่กับอุทกภัยในพื้นที่เมืองหาดใหญ่ ทำให้ละเลยที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระทั้ง 4 อำเภอโดยเฉพาะในอำเภอสทิงพระที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด และนอกจากนี้แล้ว ในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระยังประสบเหตุอุทกภัย เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำรองรับน้ำจากลุ่มน้ำย่อยของทะเลสาบสงขลาทั้งในส่วนของจังหวัดสงขลาและพัทลุง มีหลายพื้นที่น้ำท่วมขัง ซ้ำเติมชุมชนให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างถึงที่สุด
อำเภอ | ประชากรชาย | ประชากรหญิง | รวมประชากร | จำนวนครัวเรือน |
---|---|---|---|---|
ระโนด | 23,244 | 23,430 | 46,674 | 14,387 |
สิงหนคร | 21,247 | 22,083 | 43,330 | 10,804 |
สทิงพระ | 22,521 | 23,555 | 46,076 | 11,416 |
กระแสสินธุ์ | 7,694 | 7,951 | 15,645 | 4,342 |
รวม | 74,706 | 77,019 | 151,725 | 40,949 |
สภาพพื้นฐานของชุมชน
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และเกษตรกร ทำสวนยาง ตาลโตนด ทำนา ประมง สวนผลไม้ ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน
กลุ่มเป้าหมาย
คาดว่ามีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 70% ของจำนวนครัวเรือน = 28,664 ครัวเรือน
กลุ่มเป้าหมายหลัก
ผู้ประสบภัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีความยากจน และประสบภัยอย่างรุนแรง จำนวน 10% ของจำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ = 2,860 ครัวเรือน
ป้ายโฆษณาไม่เหลือชิ้นดี
กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน ของมูลนิธิชุมชนสงขลาและภาคีเครือข่าย มีดังนี้
- จัดลำดับความสำคัญ ร่วมกับเครือข่ายชุมชนในพื้นที่เป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีความยากจน และประสบเหตุวาตภัยอย่างรุนแรง จำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
- ส่งเสริมแนวคิดการให้อย่างมีคุณค่าและรับอย่างมีศักดิ์ศรี โดยที่ชุมชนผู้ประสบเหตุมีส่วนร่วมในการช่วยตนเอง ฟื้นฟู ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ร่วมกับอาสาสมัครจากนอกพื้นที่ โดยมีการประสานงาน บูรณาการความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ
- หนุนเสริมการทำงานขององค์กรภาครัฐ หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเติมเติมช่องว่างของการทำงานและร่วมประสาน ผลักดันไปสู่การแก้ปัญหาเชิงระบบ สร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับพื้นที่ในอนาคต
เป้าหมาย
ระดมทรัพยากรทั้งในส่วนของอุปกรณ์สำหรับที่อยู่อาศัย งบประมาณ แรงงานจากอาสาสมัครร่วมกันกับภาคีองค์กรในพื้นที่ นอกพื้นที่ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส มีความยากจน ช่วยเหลือตัวเองไมได้ สร้างคุณค่าของการให้และรับอย่างมีศักดิ์ศรี
ภารกิจหลัก
- ระยะสั้น สำรวจความเสียหาย ลำดับความสำคัญ ชี้เป้า
วิธีการ
จัดระบบให้ความช่วยเหลือ โดยมีศูนย์ประสานงานระดับโซน ได้แก่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคประชาชนคาบสมุทรสทิงพระ และศูนย์ประสานงานระดับเครือข่าย ได้แก่ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนสงขลาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ วัดพิกุล (ดำเนินการแล้ว)
จัดระบบข้อมูลเพื่อลำดับความสำคัญเร่งด่วน โดยจัดแบ่งประเภทผู้ประสบภัยเป็น 3 ระดับได้แก่ ได้รับผลกระทบมาก ปานกลาง และน้อย ในส่วนของเครือข่ายจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการระดมทรัพยากรช่วยเหลือให้กับ กลุ่มผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เป็นลำดับแรก (ขณะนี้ดำเนินการแล้วในบางส่วน โดยเครือข่ายองค์กรความร่วมมือ)
- ประสานงานส่งต่อความช่วยเหลือให้กับกลุ่มผู้ประลบภัยที่ได้รับผลกระทบ ที่สอดคล้องกับแนวคิดในการดำเนินงานของมูลนิธิชุมชนสงขลา โดยให้ความสำคัญในภารกิจดังนี้
- ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะหลังคาบ้าน ที่มีความต้องการกระเบื้องมุงหลังคาจำนวนมาก(กระเบื้องลอนเล็ก/ลอนคู่/กระเบื้องดินเผา) โดยประมาณการว่ามีจำนวนกว่า 1.146,560 แผ่น (28,664 ครัวเรือนx 40 แผ่น/ครัวเรือนโดยเฉลี่ย)โดยเครือข่ายจะเข้าไประดมทรัพยากร โดยวางเป้าหมายไว้ที่จำนวนกระเบื้อง(ลอนเล็กและลอนคู่) 100,000 แผ่น (10%ของจำนวนครัวเรือน= 2,860 ครัวเรือน) สำหรับช่วยเหลือเติมเต็มการทำงานของภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ที่จะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยเครือข่ายจะเปิดรับการบริจาค หรือระดมทุนไปจัดซื้อวัสดุกระเบื้องมุงหลังคาทั้งที่เป็นแบบลอนเล็กและลอนคู่ ในราคาต้นทุนและสนับสนุนร้านค้าในพื้นที่
- ระดมความช่วยเหลือในกรณีช่วยสงเคราะห์ครัวเรือนที่ประสบปัญหาที่อยู่อาศัยเสียหายรุนแรงทั้งหลัง โดยจัดหาเงินสงเคราะห์เป็นรายครัวเรือน ประมาณ 30,000-50,000 บ.ต่อหลัง ได้สามารถมีที่พักพิงชั่วคราว (รอสมทบกับงบประมาณจากภาครัฐที่จะมีตามมาช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่งในภายหลัง)
- ระดมอาสาสมัครนอกพื้นที่ เน้นพลังของนักศึกษาอาชีวะ หรือเครือข่ายองค์กรชุมชนที่มีทักษะทางช่างฝีมือ ช่างก่อสร้าง ช่างไม้ ลงไปเพื่อช่วยเหลือในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ใช้เลื่อยยนต์ตัดกิ่งไม้ที่หักโค่น ร่วมกับอาสาสมัครในชุมชน ในพื้นที่ตำบลที่อยู่ริมทะเลอ่าวไทย 4.ร่วมกับเครือข่ายสื่อสารสาธารณะ เช่น วิทยุกระแสหลัก FM.88.00 MHz วิทยุชุมชนภายใต้เครือข่ายสงขลามีเดียฟอรั่ม เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทีวี.ออนไลน์ ฯลฯ ส่งเสริมจิตอาสาและการให้ของเครือข่ายชนชั้นกลาง ภาคเอกชน ส่งต่อความช่วยเหลือ
ทีมงานในพื้นที่
- ระยะยาว พัฒนาอาชีพ ปรับปรุงระบบ
วิธีการ
- ร่วมกับภาคีเครือข่ายทำแผนพัฒนาอาชีพ เสริมรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน สร้างอาชีพใหม่โดยเฉพาะสำหรับชุมชนที่จำเป็นจะต้องปรับตัว หรือได้รับผลกระทบรุนแรง สวนผลไม้ สวนยางที่ลงทุนไว้เสียหาย จำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการปลูกทดแทน
- ใช้ฐานข้อมูลที่มีผลักดันความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ในระดับชาติ เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ยังขาดแคลน
- จัดการ ความรู้ บทเรียนการแก้ไขปัญหา นำมาสู่การผลักดันเชิงนโยบายสาธารณะในการวางมาตรการเชิงระบบในการป้องกันและ บรรเทาวาตภัยและอุทกภัยในคาบสมุทรสทิงพระ
ผู้สนใจให้ความช่วยเหลือ สามารถบริจาคเงินได้ที่ ชื่อบัญชี...มูลนิธิชุมชนสงขลา ธนาคารกรุงเทพ สาขาหาดใหญ่ใน บัญชีเลขที่ 562-0-52250-7 โดย Fax สลิปการโอนเงินมาได้ที่ 074-474082 (โทร& Fax) หรือติดต่อคุณบุญเรือง ปลอดภัย เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิชุมชนสงขลา 084-7484137
และติดต่อโดยตรงไปยังผู้ประสานงานของศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคประชาชนคาบสมุทรสทิงพระ
ช่องทางสื่อสาร ท่านสามารถติดตามความเคลื่อนไหว ข่าวสารความก้าวหน้าในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ที่ www.scf.or.th
หลังคาอาคารโรงเรียนเป็นรอยโหว่
ต้นสนล้มระเนระนาด
สภาพความเสียหาย
Relate topics
- 28 มกราคม 55 - เปิดตลาดนัดสุขภาพสายใยชุมชน
- ผลวิจัยคุณภาพชีวิตรอบโรงงานเปรียบเทียบในจะนะ
- ชวนลูก จูงหลาน ขี่รถ แลเขาคูหา
- สมัชชาสุขภาพกับการพัฒนาประเทศ
- ห้องเรียนท้องนาจะเปิดเรียนแล้วนะ
- 19 ส.ค. 53 13.30-15.30 น. ถ่ายทอดสดคลินิกทางไกล จากศูนย์เรียนรู้ สจรส. มอ.
- ขอเชิญร่วมโครงการเดินเพื่อสันติปัตตานี
- รางวัลสนับสนุนชุมฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่า
- รวมน้ำใจเพื่อช่วยสร้างอาคารใหม่ "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” เหยื่อป่วนเผาเมือง
- เวที “สานเสวนาเพื่อลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ”