แนวคิด ทิศทาง และคำถาม การพัฒนาคนและชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาพองค์รวม : กรณีท่าช้างโมเดล
สุภาคย์ อินทองคง
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนภาคใต้(ศรช.)
แผนพัฒนา กับ คำว่าบูรณาการ
ประเทศไทยเดินเข้าสู่กระบวนการพัฒนาตามแนวคิดของชาวตะวันตกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 โดยมีฝรั่งมาบอกเราว่าประเทศเรานั้น ยังต่ำต้อยด้อยความเจริญ ประชาชนของเราตกอยู่ภายใต้สิ่งเลวร้าย 3 ประการคือ โง่-จน-เจ็บ ถ้าต้องการจะแก้ไขสิ่งเลวร้ายทั้ง 3 ประการนี้ ประเทศไทยต้องมีแผนพัฒนาประเทศ จากวันนั้นถึงวันนี้เรามีแผนพัฒนาประเทศแล้ว 10 ฉบับๆ ละ 5 ถึง 6 ปี ในช่วงแรกๆ เราเรียกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ต่อมา เรียกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จนถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงแผน 10 ก็เรียกชื่อนี้ ในช่องแผน 1-7 เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่แผน 8 เป็นต้นมาเน้นพัฒนาคน โดยเฉพาะแผน 10 ได้ระบุชัดเจนว่าจะพัฒนาคนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยอาศัยทุนสำคัญของสังคมไทย 3 ทุนหลัก คือ ทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้น หากนำแนวคิดนี้มาเทียบกับความจริงเชิงประจักษ์ที่อยู่ในชุมชน หรือวิถีชีวิตของผู้คนทุกกลุ่มก็น่าจะนับได้ว่า คิดถูกทิศ และถูกทาง คือ ถือเอาคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ส่วนทุนชุมชนอีก 3 ส่วนคือ เศรษฐกิจ สังคม(วัฒนธรรม) และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นส่วนประกอบ หรือเป็นปัจจัยหนุนให้คนได้ดำรงอยู่ และพัฒนาคนให้เจริญทั้งกายใจได้
Relate topics
- พุทธศาสนากับการแก้ปัญหาวิกฤตโลก
- ศอ.บต. ติดตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 อำเภอชายแดนสงขลา
- กองทุนสุขภาวะ : กองทุนปรับทุกข์ แบ่งปันความสุขของชาวกรุงเทพฯ
- "ไพบูลย์"เล็งยืด2ปีจดทะเบียนนิติบุคคลกองทุนหมู่บ้าน
- แกนนำกองทุนใต้ชี้เลื่อนตีทะเบียน-เลิกพ.ร.บ.ทำลายสถาบันการเงินชุมชน
- นำร่อง175ร.ร.สอนเศรษฐกิจพอเพียง
- กองทุนหมู่บ้านสงขลาฉลุย - ปล่อยกู้แล้วกว่า 1 พันล้าน
- สถานการณ์กองทุนการเงินและสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสงขลา
- การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกรณีโครงการสัจจะลดรายจ่ายวันละบาทฯ
- แผนสุขภาพประเด็นการจัดสวัสดิการชุมชนโดยกองทุนชุมชนหรือกองทุนการเงิน