22 คำถาม "กับ 30 บาทที่ไม่ต้องจ่าย"
แม้ว่าระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะพัฒนาการให้บริการที่ดีขึ้น แต่ผู้ใช้บริการก็ยังคงสับสนและประสบปัญหาอีกกระบุงโกย เอาเป็นว่า เรามาหาคำตอบเพื่อการเข้าถึงบริการบัตรทองได้ดีกว่าค่ะ
1. ใครกันนะมีสิทธิได้บัตรทอง
“ผู้ มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้ ตัวอย่างบุคคลที่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ เช่น
หนึ่ง ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไปยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดาที่ไม่มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
สอง ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
สาม ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ”**
2. เจ้าตัวเล็กแรกคลอดก็มีบัตรทอง
กรณี เด็กแรกเกิดที่เกิดมามีสัญชาติไทย ถ้าไม่มีสิทธิอื่นใดที่รัฐจัดให้ เช่น สิทธิข้าราชการที่เบิกจากบิดาหรือมารดา ก็ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิบัตรทอง ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ หากจะให้ได้รับสิทธิบัตรทอง โดยสมบูรณ์ ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้าน และสูติบัตร ติดต่อขอลงทะเบียนทำบัตรทองได้ที่ ต่างจังหวัด ติดต่อ สถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน ในวันเวลาราชการ กรุงเทพฯ ติดต่อ สำนักงานเขตทุกเขต ในวันเวลาราชการ
3. ถ้าเจ็บป่วยจะไปหาหมออย่างไร
“ผู้ป่วยจะต้องไปใช้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ระบุไว้ในบัตรก่อน หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย ศูนย์การแพทย์ชุมชน หรือคลินิกที่เข้าร่วมกับบัตรทอง และเมื่อ หน่วยงานปฐมภูมิเหล่านี้รักษาไม่ได้ ก็จะออกใบส่งตัว ให้คนไข้ไปรักษายังหน่วยบริการขั้นสูง ที่ระบุในบัตร เช่น โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ แต่หากคนไข้เดินทางไปยังโรงพยาบาลเลย โดยไม่ผ่านการตรวจจากหน่วยบริการปฐมภูมิคนไข้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ยกเว้นกรณีฉุกเฉินที่สามารถตรงไปยังโรงพยาบาลใหญ่ได้เลย”
4. ตกงานอย่าตกใจ
ผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างงานสามารถส่งเงินสมทบต่อ เพื่อรักษาสิทธิจากกองทุนประกันสังคม ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลและสิทธิอื่นๆ ตามมาตรา 39
สำหรับ ผู้ประกันตนที่ไม่ประสงค์จะส่งเงินสมทบต่อหลังจากถูกเลิกจ้างงาน 6 เดือน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการเจ็บป่วย สามารถขอลงทะเบียนมีสิทธิบัตรทอง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆได้ที่ ต่างจังหวัด ติดต่อ สถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน ในวันเวลาราชการ กรุงเทพฯ ติดต่อ สำนักงานเขตทุกเขต ในวันเวลาราชการ
5. ย้ายบ้านย้ายโรงพยาบาล
การ ย้ายที่อยู่อาศัย หรือย้ายที่ทำงาน ควรจะย้ายหน่วยบริการตามที่พักอาศัยจริง ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อขอย้ายหน่วยบริการได้ที่สำนักงานเขตทุกเขต ตามวันเวลาราชการ กรณีมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องใช้หลักฐาน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
กรณีไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่พักอาศัยอยู่ ต้องใช้หลักฐาน อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัย พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าของบ้าน
- หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
- หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
- เอกสารหรือหลักฐานอื่นๆ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จรับเงินค่าเช่า ที่พัก สัญญาเช่าที่พัก ฯลฯ ที่แสดงว่าบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่หรือที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ (หากมีการลงทะเบียนแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจด้วย
6. เหตุผลที่ต้องจ่ายเอง
บุคคล ที่ลงทะเบียนแล้ว ให้ใช้สิทธิบริการสาธารณสุขได้จากหน่วยบริการประจำของตนหรือหน่วยบริการปฐม ภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยบริการประจำส่งต่อไปรักษายังหน่วยบริการอื่น เว้นแต่ กรณี อุบัติเหตุฉุกเฉิน หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้บุคคลนั้นมีสิทธิเข้ารับบริการยังหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ ใกล้ที่สุด โดยใช้สิทธิบัตรทองได้ (หากเป็นกรณีรักษาโรคทั่วไป และไปใช้สิทธิข้ามเขต ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด) หรือกรณีมีการร้องขอของคนไข้ที่เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ต้องการห้องนอนห้องพิเศษ เป็นต้น
7. เปลี่ยนสถานพยาบาลได้ถ้าไม่พอใจ
“หาก คลินิคหรือสถานบริการที่ให้การรักษาไม่เป็นที่พอใจ ผู้ป่วยมีสิทธิของย้ายสถานพยาบาลได้ โดยจะอนุญาตให้ย้ายปีละ 2 ครั้ง เท่านั้น แต่ต้องพิจารณาคลินิกที่อยู่ใกล้บ้าน และสะดวกต่อการไปใช้บริการของคนไข้ด้วย”
8. ยาดีมีคุณภาพจริงไหม
“ยา ที่ใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งมีคณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติพิจารณายาให้เป็นปัจจุบัน สามารถครอบคลุมการรักษาทุกโรคและเป็นยาที่มีคุณภาพดี”
9. ขอตรวจสุขภาพได้ไหม
การ ตรวจสุขภาพประจำปี สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ แต่การตรวจสุขภาพในที่นี้ หมายถึง กาตรวจคัดกรองความเสี่ยง เพื่อตรวจสุขภาพทั่วไปตามความจำเป็น และค้นหาประวัติและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ตามดุลยพินิจและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ซึ่งได้แก่ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจความดัน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
10. วางแผนครอบครัวฟรี
การคุมกำเนิดโดยการฉีดยาคุม หรือฝังยาคุม ถือเป็นการวางแผนครอบครัว สามารถใช้สิทธิบัตรทอง โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าบริการ
11. ฝากครรภ์กับบัตรทองดีไหม
กรณีการฝากครรภ์ สามารถเข้ารับบริการได้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้านที่ระบุในบัตรทอง โดยแสดงบัตรทองพร้อมบัครประจำตัวประชาชน หากเป็น 13 จังหวัดนำร่องที่ใช้ Smart Card เพียงใบเดียวเข้ารับบริการฝากครรภ์ได้เช่นกัน คุณไพรระหง รชิตตระกูล เล่าว่า "ดิฉันไปฝากท้องที่ศูนย์การแพทย์ชุมชนโดยใช้สิทธิบัตรทอง ซึ่งได้รับสมุดประจำตัวคนตั้งท้่องและได้รับการตรวจทุก ๆ สองเดือนโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพยาบาลตรวจการเต้นหัวใจลูกและมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจโรคทาลัสซีเมีย จนใหล้กำหนดคลอดก็ส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่สามารถทำคลอดได้โดยทุกครั้งดิฉันไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย แต่ระหว่างการตรวจก็ไม่ได้ทำอัลตราซาวนด์ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเองแต่เจ้าหน้าที่แนะนำว่า สุขภาพแม่และลูกปกติดี ไม่จำเป็นต้องตรวจก็ได้"
12. คลอดลูกแบบสบายกระเป๋า
ระบบบัตรทองครอบคลุมการทำคลอดแต่รวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง กรณีบุตรยังมีชีวิตอยู่ คุณไพรระหงเล่าต่อว่า "ตอนที่ดิฉันคลอดลูก ต้องไปนอนอยู่โรงพยาบาลก่อนสองวัน เพราะมีอาการผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ต่อมาคุณหมอจึงแนะนำให้ผ่าตัดคลอด เพราะหากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายทั้งแม่และลูกเมื่อคุณหมอทำคลอดเสร็จ ลูกดิฉันมีน้ำหนักตัวน้อย จึงต้องอยู่ในตู้อบอีกสามวัน จากนั้นคุณหมอจึงอนุญาตให้กลับบ้านได้ซึ่งดิฉันไม่ต้องเสียเงินเลยนอกจากค่ารถเดินทางไปกลับเท่านั้น"
13. ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะได้ไหม
สิทธิบัตรทองสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะให้เฉพาะโรคไตซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง ส่วนในอวัยวะอื่น บัตรทอง ยังไม่ครอบคลุมการรักษา
14. ผู้ป่วยหัวใจรักษาได้ไหม
กรณีดังกล่าวเป็นโรคที่เข้าเกณฑ์ค่าใช้จ่า่่ยสูง ซึ่งสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ ถ้าพบว่าโรงพยาบาลใดไม่รักษาให้สามารถแจ้งรายละเอียดผ่านสายด่วน สปสช. โทร 1330 เพื่อประสานให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาต่อไป โดยให้สถานพยาบาลหาเตียงสำรองสำหรับผู้ป่วย
15. อินซูลินเพื่อผุ้ป่วยเบาหวาน
คุณนวลผจง วินัยชาติศักดิ์ เภสัชกรชำนาญการโรงพยาบาลสูงเนิน เล่าว่า "ผู้ป่วยเบาหวานที่มีสิทธิบัตรทองหากหมอวินิจฉัยว่าต้องฉีดอิซูลิน เราจะเบิกจ่ายปากกาสำหรับฉีดและให้ยาอินซูลินที่บรรจุอยู่ในหลอด ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้สอนวิธีการฉีดและให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ป่วย เมื่อยาหมดผู้ป่วยสามารถมาขอรับยาจากหน่วยบริการ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย"
16. ป่วยหนัก ต้องเป็นผู้ป่วยใน ทำอย่างไร
ควรแสดงบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมบัตรทอง เพื่อเป็นหลักฐานในการใช้สิทธิยังหน่วยบริการที่เข้ารับการรักษา หากหน่วยบริการที่เข้ารับการรักษาไม่ตรงตามสิทธิ แต่เป็นกรณีฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ สามารถใช้บัตรทองได้โดยไม่ต้องมีใบส่งตัว หากไม่ใช่กรณีอุบัติเหตุหรือฉุกเฉินต้องประสานหน่วยบริการตามสิทะฺพิจารณาออกหนังสือส่งตัว
17. ผู้ป่วยโรคไต บัตรทองช่วยอะไรบ้าง ผ ู้ป่วยจะได้รับการบำบัดและบริการทางเวชกรรม รวมถึงบริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกตามกฏหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลป์ จนสิ้นสุดการรักษา หรืออาจเป็นการบำบัดทดแทนไตในการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการปลูกถ่ายไต
18. รักษาโรคฟันอะไรได้บ้าง
การบำบัดและการบริการทางทันตกรรม ได้แก่ ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ทำฟันปลอมฐานพลาสติกรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม และการใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานดโหว่
19. ผู้ป่วยเอดส์ บัตรทองช่วยเหลือได้แค่ไหน
บัตรทองให้บริการยาต้านไวรัสเอดส์สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ด้วย
20. หมอบ่ายเบี่ยงจะทำอย่างไรดี
แจ้งรายละเอียดได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 เพื่อประสานให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาต่อไป
21. บริการอะไรที่ไม่ครอบคลุม
กลุ่มบริการที่เกินความจำเป็น
- การรักษาภาวะมีบุตรยาก
- การผสมเทียม
- การแปลงเพศ
- การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การตรวจวิฉัยการรักษาใด ๆ ที่เกินความจำเป็นและบ่งชี้ทางการแพทย์
- การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
กลุ่มบริการที่ปัจจุบันมีงบประมาณจัดสรรให้เป็นการเฉพาะหรือครอบคลุมโดยกองทุนอื่น ๆ
- โรคจิต กรณีที่ต้องได้รับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในเกิน 15 วัน
- การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฏหมายว่าดด้วยการยาเสพติด
- การบาดเจ็บจากการประสบภัยจากรถ ซึ่งอยู่ในความค้มครองตามกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองตามกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
กลุ่มบริการอื่น ๆ
โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพายาบาลประเภทผู้ป่วยในเกิน 180 วัน ยกเว้นกรณีที่จำป้นต้องรักษาต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
22. ช่องทางการร้องเรียน
สายด่วน สปสช. 1330 ให้บริการ ตอลอด 24 ชั่วโมง Email. www.e-news@nhso.go.th
นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าประชาชนไทยมีสิทธิในการรักษาพยาบาลซึ่งอาจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด แต่ก็ถือว่าได้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเราให้ดีขึ้นได้มากอยู่ทีเดียว
แต่ทางที่ดี ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงดีกว่า เพราะถือว่าเราได้ช่วยประเทศชาติประหยัดงบประมาณกัน
ที่มา:ชมนาด .2552.22 คำถามกับ "30 บาที่ไม่ต้องจ่ายแล้ว "ชีวจิต.ฉบับที่259 (ปีที่11 วันที่ 16 กรกฏาคม)
Relate topics
- หลักประกันสุขภาพจะไปรอดไหม
- เตรียมถอดบทเรียนหลักประกัน
- สปสช.และเครือข่ายฯ สานงานศูนย์มิตรภาพบำบัด เน้นเยียวยาผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยใจ
- 'สปสช.'นำร่องแพทย์ฉุกเฉิน15แห่งดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ
- เผยผลคัดเลือก คสช.ใกล้ครบชุดขาดเพียงผู้แทนเอ็นจีโออีก 3 คน
- ครม. อนุมัติเหมาจ่ายประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2,100บาท/คน เริ่มงบปี 51
- เอ็นจีโอเสนอเลิกใช้ระบบสิทธิบัตรยา ชวนประเทศกำลังพัฒนาร่วมลงขันวิจัยยาเอง
- "หมอมงคล" ชี้เลือกยาบัญชีหลักเน้นจำเป็น-ไม่แพง-มีคุณภาพ
- ครม.เบรกแก้มาตรา42สั่งรื้อทั้งฉบับ สปสช.รับลูกปรับสโลแกนบัตรทอง
- "บ้านพรุ"จับมือ สป.สช.ออกบัตรทองแห่งแรกในสงขลา