ประกาศการสนับสนุนโครงการรายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชน และครอบครัวปี 2550
ประกาศการสนับสนุนโครงการ
รายการวิทยุสำหรับเด็กเยาวชน และครอบครัว ปี 2550
รอบที่ 1 กำหนดส่งและปิดรับโครงการรายการ ภายใน 5 พฤษภาคม - 31 พฤษภาคม 2550
ทราบผลการพิจารณาภายในเดือน มิถุนายน 2550
เพื่อออกอากาศตั้งแต่ 1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2550
ตามที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กำหนดนโยบายและแผนงานสนับสนุนการพัฒนาสื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ภายใต้แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) ซึ่งสอดคล้องกับ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 4 พฤศจิกายน 2546 โดยได้จัดระบบการให้ทุนอุปถัมภ์ด้านรายการโทรทัศน์เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัวมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานมีความเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ ในด้านการส่งเสริมให้เกิดรายการวิทยุโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน สสส. จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้ทุนสนับสนุน ดังมีรายละเอียด ต่อไปนี้
การสนับสนุนทุนโครงการรายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชน
ประเภททั่วไป
ลักษณะรายการที่ สสส. สนับสนุน
1. นำเสนอเนื้อหาที่มุ่งสร้างเสริมสุขภาพอย่างชัดเจน ซึ่งได้แก่
มุ่งส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีและเหมาะสมของแด็กเยาวชนและครอบครัว
การลดปัจจัยเสี่ยง เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ เป็นต้น
การหนุนปัจจัยเสริม เช่น การออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การส่งเสริมสุขภาพจิต เป็นต้น
2. รูปแบบการนำเสนอน่าสนใจ เป็นนวัตกรรม สร้างจุดต่างจากรายการทั่วไปได้
3. มีโอกาสในการขยายผลร่วมกับรายการ / องค์กรเครือข่ายอื่น ๆ
4. มีโอกาสสูงที่จะมีความต่อเนื่องยั่งยืน เมื่อทุนของ สสส. หมดลง
5. เป็นรายการที่ผลิตโดยทีมงานที่มีประวัติการทำงานที่ดีและมีศักยภาพ
เงื่อนไขในการสนับสนุนทุน มีดังต่อไปนี้
- สำหรับโครงการที่เสนอมายัง สสส. ในแต่ละรอบการสนับสนุนทุน ที่มีลักษณะเดียวกัน / ใกล้เคียงกัน คณะกรรมการจะเปรียบเทียบและคัดเลือกสนับสนุนโครงการที่มีศักยภาพมากที่สุด
- สสส. จะสนับสนุนโครงการโดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สนับสนุนการผลิตที่มีเนื้อหาและรูปแบบเป็นตามลักษณะเนื้อหาและหลักเกณฑ์ที่ สสส. ประกาศในแต่ละปี ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน www.thaihealth.or.th ทั้งนี้ ลักษณะของคลื่นที่ออกอากาศควรรายละเอียดดังนี้
- เป็นคลื่นที่ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย
- เป็นคลื่นที่ส่งเสริมรายการสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
- รายการมีช่วงเวลาออกอากาศที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
- การให้การสนับสนุนจะไม่รวมค่าออกอากาศ (Air Time) สนับสนุนเป็นบางส่วนในบางรายการ โดย สสส. จะพิจารณาว่าเป็นรายการที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ และเป็นรายการที่มีคุณภาพ
โครงการต้องมีกระบวนการ / วิธีการ วิเคราะห์ / ศึกษากับกลุ่มเป้าหมายก่อนและหรือระหว่างดำเนินโครงการ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก และ / หรือ นักจิตวิทยาเด็ก เพื่อพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและทำให้เกิดการเรียนรู้ของเด็กในแต่ละวัยได้ ซึ่ง สสส. ยินดีสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานในขั้นตอนนี้
รูปแบบรายการ ควรมีการนำเสนออย่างน่าสนใจ สอดคล้องกับความสนใจของผู้ชมในแต่ละช่วงวัย มีความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นจุดต่างจากรายการทั่วไป ที่สำคัญควรเป็นรายการที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดและการเรียนรู้
ความยาวของแต่ละรายการ เน้นความเหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายของรายการ แต่ไม่เกิน 30 นาทีต่อตอน
งบประมาณการผลิตต่อตอน 30 นาทีไม่เกิน 5,000 บาทต่อตอน
ลักษณะเนื้อหาที่ สสส. ให้การสนับสนุน แบ่งตามกลุ่มเป้าหมายหลัก 2 กลุ่มอายุ ดังนี้
- กลุ่มเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี
1.1 รายการเนื้อหาส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับความสนใจของเด็กวัยนี้ อาทิ นิทานหรือดนตรี ฯลฯ 1.2 รายการที่มีเนื้อหาส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม การรู้จักแยกแยะถูกผิด ที่สอดคล้องกับเด็กวัยนี้ มีการพูดคุยกับเด็กด้วยเสียงที่ชัดเจน ใช้ภาษา และ รูปแบบการนำเสนอเหมาะสมกับวัย - กลุ่มครอบครัว
2.1 รายการที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อมวลชนโดยกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ ใช้วิจารณญาณในการรับสื่อเพื่อจะไม่ได้รับอิทธิพลทางลบ โดยรูปแบบรายการควรตอบสนองความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย 2.2 รายการส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เกิดการใช้เวลาร่วมกัน สำหรับครอบครัวที่มีลูก อยู่ในวัยเรียนถึงวัยรุ่น ในรูปแบบที่เหมาะสม อาทิ ละคร หรือ วาไรตี้
การจัดส่งโครงการมายัง สสส. - กรุณาใส่รายละเอียดของโครงการในแบบฟอร์มการขอรับทุนสนับสนุนโครงการรายการวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชน ในทุกหัวข้อ และเซ็นชื่อรับรอง ซึ่งท่านสามารถ download แบบฟอร์มได้ที่ www.thaihealth.or.th หรือติดต่อขอรับแบบฟอร์มได้ที่ สสส. โทร.0-2298-0500
- จัดส่งรายละเอียดของโครงการพร้อมตัวอย่างสคริปท์ของรายการและตัวอย่างรายการ (VCD หรือ DVD เสียงตัวอย่าง) ทั้งหมด 10 ชุด มายัง สสส. (สำนัก 5) โดยส่งมาที่ อาคาร SM Tower ชั้น 34 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400
- แต่ละบริษัท/องค์กร สามารถส่งรายการเพื่อนำเสนอเข้าพิจารณาได้ไม่เกิน 2 รายการต่อรอบการพิจารณาเท่านั้น
* * * การส่งเอกสารไม่ครบถ้วน อาจมีผลให้ถูกตัดสิทธิ์ได้
คำแนะนำในการเสนอโครงการ
1) เอกสารโครงการรายการที่จะเสนอ สสส. ประกอบไปด้วยเอกสารโครงการที่มีรายละเอียดครบถ้วน (ตาม "แบบเสนอโครงการ" ) จำนวน 10 ชุด และแนบแผ่นVCD/DVD ตัวอย่างรายการของท่าน
2) ควรส่งโครงการรายการแต่เนิ่นๆ โดยปิดรับโครงการ 31 พฤษภาคม 2550 เพื่อที่คณะกรรมการจะทยอยพิจารณาและได้ผลสุดท้ายภายใน 60 วัน นับจากวันปิดรับโครงการ
3) ระยะเวลาเริ่มต้นโครงการ ควรให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่จะทราบผล
4) สสส. จะไม่พิจารณาอนุมัติกิจกรรมย้อนหลัง ในกรณีที่โครงการดำเนินงานไปแล้ว
5) ผู้ขอทุนควรเสนอรายละเอียดโครงการรายการให้มากที่สุด "โดยไม่ปิดบัง" เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการ
6) คณะกรรมการจะพิจารณาการให้ทุนตามเกณฑ์ โดยจะรวมถึงการเปรียบเทียบโครงการต่างๆ ที่ขอทุน เข้ามาภายในรอบเดียวกันด้วย เพื่อให้การสนับสนุนทุนบังเกิดผลประโยชน์คุ้มค่าที่สุด ภายใต้วงเงินที่ สสส. กำหนดไว้
7) โครงการรายการควรจัดให้มีการประเมินผลการผลิตและประเมินผลการรับชมรายการจากกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผล เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการพัฒนาโครงการรายการให้ดียิ่งขึ้น
8) ลิขสิทธิ์ของรายการที่ผลิตแล้วเสร็จทุกโครงการที่ได้รับการสนับสนุน มอบให้กับ สสส. ซึ่งสามารถทำการออกอากาศซ้ำได้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาโครงการ
แนวทางสนับสนุนทุน
ลักษณะโครงการที่ สสส. สนับสนุน เน้นโครงการรายการที่มีเนื้อหาสร้างสุขภาวะเยาวชน ที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
s ก่อให้เกิดการถักทอเครือข่ายเยาวชนและคนทำงานด้านเด็ก
s อาจเป็นรายการการใหม่หรือรายการที่ทำมาก่อนแล้วก็ได้ หากเป็นรายการที่ทำมาก่อนแล้ว จะต้องอธิบายได้ถึง
คุณค่าที่จะเพิ่มเติมจากเดิม
s พัฒนามาจากพื้นฐานองค์ความรู้
s ก่อประโยชน์ในวงกว้างชัดเจน
s สร้างกระบวนการเรียนรู้
s การมีส่วนร่วมของชุมชน/สังคม
s ไม่ทำโดดเดี่ยว มีกระบวนการร่วมมือกับองค์กรต่างๆ หรือดำเนินงานลักษณะเครือข่าย
s มีความต่อเนื่องยั่งยืน ดำเนินการได้เมื่อทุนของ สสส. หมดลง โดยเพิ่มส่วนสมทบทรัพยากรจาก ชุมชน/ท้องถิ่น
s สามารถขยายผลและปรับใช้ได้
s เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ใช้งบประมาณสมเหตุสมผล
ลักษณะโครงการรายการและประเภทรายจ่ายที่ สสส. ไม่สนับสนุน
s โครงการรายการที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสุราหรือยาสูบ หรือสินค้าทำลายสุขภาพอื่นๆ
s โครงการรายการที่มีลักษณะธุรกิจหากำไร หรือเป็นการลงทุนเพื่อแสวงหากำไร
s โครงการรายการที่เชื่อได้ว่าสามารถส่งผลประโยชน์ทางการเมืองแก่บุคคล หรือหน่วยงานนั้น
s โครงการรายการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการหาทุน ให้รางวัล หรือจัดซื้อรางวัล อันมิได้มีผลลัพธ์หลักเพื่อการสร้างสรรค์สังคม / เยาวชนโดยรวม
s โครงการรายการที่มีวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน หรือกระบวนการในการดำเนินงานไม่ชัดเจน
s โครงการรายการที่มีการเดินทางไปต่างประเทศ หรือไปประชุมต่างประเทศ ที่มิใช่ส่วนจำเป็น
s กรณีเป็นหน่วยงานของรัฐ สสส.ไม่สนับสนุนทุนแก่โครงการรายการที่ถือเป็นงานประจำของหน่วยงานของรัฐอยู่แล้ว
s โครงการรายการที่ไม่พยายามสร้างการมีส่วนร่วมกับบุคคล หรือหน่วยงาน นอกเหนือจากผู้ที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง
s โครงการรายการจัดตั้งสำนักงาน หรือโครงการที่มีเจตนาหารายได้เข้าหน่วยงานเป็นหลัก
s โครงการรายการที่มีค่าใช้จ่ายเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ขนาดใหญ่ เช่น รถยนต์ อาคาร หรือรายการอันมิใช่สิ่งจำเป็นสำหรับดำเนินโครงการ
s ครุภัณฑ์ที่ไม่ก่อประโยชน์ ไม่คุ้มค่า เช่น การซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง การสร้างห้องทำงาน หรือเป็นครุภัณฑ์ที่ผู้ดำเนินการสนับสนุนได้ เช่น เครื่องเสียง เครื่องดนตรี
s หน่วยงาน หรือบุคคลที่เคยได้รับทุนจาก สสส. มาก่อน และมีประวัติด่างพร้อยในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตาม ข้อตกลง หรือได้สร้างความเสื่อมเสียแก่ สสส. หรือแก่บุคคลอื่นๆ ในสังคม
สสส.เน้นสนับสนุนให้มีการพัฒนาเชิงระบบมากกว่าการปฏิบัติการในโครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีลักษณะงานเป็นงานประจำของหน่วยราชการ
สสส. จะเปรียบเทียบโครงการต่างๆที่มีผู้เสนอ เพื่อคัดเลือกสนับสนุนทุนแก่โครงการที่มีลักษณะดีที่สุด
เกณฑ์การพิจารณาโครงการรายการวิทยุ สำหรับเด็กเยาวชนและครอบครัว
ที่สะท้อนแนวปรัชญา สุขภาวะยั่งยืน ด้วยวิถีชีวิตพอเพียง
แบ่งตามหัวข้อในการพิจารณา
เนื้อหา/คุณค่าในการเรียนรู้ ตามกลุ่มเป้าหมายหลักที่รายการนำเสนอ
- ส่งเสริมความคิดและจินตนาการ
- คุณลักษณะที่พึงประสงค์และจริยธรรม
- ความสอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา
สสส.กำหนดตามกลุ่มเป้าหมายการลดปัจจัยเสี่ยง และ หนุนปัจจัยเสริม
วิธีการนำเสนอ
- เทคนิคการผลิตรายการ
- ความสนุกความน่าสนใจและสอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
การมีส่วนร่วมของเด็ก
- มีส่วนในการเสนอเนื้อหา รูปแบบรายการ
- ส่งเสริมโอกาสและศักยภาพของเด็ก ในการมีส่วนร่วมกับรายการเด็กมีส่วนร่วมประเมินผล
บริหารจัดการ
- ประวัติองค์กร / ประสบการณ์
- ที่ปรึกษาที่เข้าใจพัฒนาการเด็กตามวัย พร้อมระบุบทบาท
- แผนปฏิบัติงาน และงบประมาณ ในการผลิตการประเมินผล
การให้คะแนนความน่าสนใจในการสนับสนุนโครงการ
ความน่าสนับสนุนทุนอุปถัมภ์ทุกโครงการมีคะแนนตั้งแต่ 0 -5
คำอธิบาย
0 คะแนน = ไม่เข้าข่ายหลักเกณฑ์ของ สสส. เลย
1 คะแนน = แนวคิดโครงการเข้าข่ายที่อาจจะสนับสนุน แต่จะต้องเขียนโครงการเข้ามาใหม่ทั้งหมด
2 คะแนน = อาจสนับสนุนหากเพิ่มรายละเอียดมากขึ้น หรือจะต้องแก้ไขในส่วนใหญ่
3 คะแนน = ควรสนับสนุน หากแก้ไขรายละเอียดหรือสาระสำคัญบางประการตาม คำแนะนำ
4 คะแนน = สนับสนุนทุน โดยให้แก้ไขในส่วนที่ไม่ใช่เนื้อหาสาระสำคัญ
5 คะแนน = สนับสนุนทุน โดยไม่ต้องแก้ไขโครงการเลย
หมายเหตุ โครงการที่ได้คะแนนตั้งแต่ 3 ขึ้นไป สสส. จะพิจารณาให้การสนับสนุนในแต่ละรอบของการพิจารณาให้ทุนตามความเหมาะสม
แบบฟอร์มการขอรับทุนสนับสนุนโครงการรายการวิทยุสำหรับเด็กเยาวชนและครอบครัว
1. ชื่อโครงการ
ประเภทสื่อ / กิจกรรม ที่ขอรับทุนสนับสนุน (กรุณาเลือกใส่เครื่องหมาย และระบุรายละเอียด) . รายการโทรทัศน์
ประเภท r สารคดี...............r ละคร r วาไรตี้ r ทอล์คโชว์ rข่าว
r อื่น ๆ ............................ ชื่อรายการ สถานีออกอากาศ ... วัน-เวลาออกอากาศ ความยาวรายการ กลุ่มเป้าหมาย (เลือกเพียง 1 กลุ่มเท่านั้น) r เด็กอายุ 3-5 ปี r ครอบครัว พ่อแม่-ผู้ปกครององค์กรที่เสนอโครงการ ชื่อองค์กร .. .. ประเภทองค์กร (กรุณาเลือกใส่เครื่องหมาย ) หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา บริษัทเอกชน มูลนิธิ องค์กรด้านศาสนา
ชมรม เครือข่าย สมาพันธ์ ภายใต้หน่วยงานองค์กร อื่น ๆ ได้แก่ . . ชื่อหัวหน้าองค์กร ตำแหน่ง ที่อยู่ .. โทรศัพท์/โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร . .อีเมล์ ..
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชื่อ . ตำแหน่ง ที่อยู่ โทรศัพท์/โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร . อีเมล์
กรณีที่ติดต่อผู้รับผิดชอบไม่ได้ ขอให้ติดต่อ ชื่อ . ตำแหน่ง .. ที่อยู่ โทรศัพท์/โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรสาร . .. อีเมล์
งบประมาณโครงการ งบประมาณรวม .. .บาท จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุนจาก สสส. .. บาท จำนวนงบประมาณสมทบจากองค์กรอื่น ... ..บาท
โครงการนี้จะเริ่มต้นและจบลงเมื่อใด วันเริ่มต้น ..กำหนดวันเสร็จสิ้น รวมจำนวนตอนที่ขอรับการสนับสนุนจาก สสส. ตอน
กรุณาแจกแจงรายละเอียดงบประมาณของค่าดำเนินการผลิตรายการ (ตัวอย่าง เช่น หมวดการผลิต หมวดการจัดการ หมวดอุปกรณ์ หมวดการประเมินผล ฯลฯ)
- วิธีการผลิตรายการ r บันทึกเทป r รายการออกอากาศสด r รายการออกอากาศ ณ สถานที่จริง r อื่น ๆ.................................................
10.โครงการของท่านมีประโยชน์ต่อกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพอย่างไร
11. กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ได้แก่กลุ่มใด
กลุ่มเป้าหมายหลัก
แบ่งตามวัย (เลือกเพียง 1 กลุ่มเท่านั้น)
r เด็กอายุ 3-5 ปี
r ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง
r
อธิบายลักษณะเฉพาะของกลุ่ม(เช่น ในเมือง / ชนบท / ชนชั้นกลาง ฯลฯ ).......................................
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่
- วัตถุประสงค์ของโครงการ
- ลักษณะเนื้อหาของรายการที่จะนำเสนอต่อกับกลุ่มเป้าหมาย (ระบุรายละเอียดของประเด็นให้สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาที่ สสส. สนับสนุนในหน้า 3 - 4)
โครงการมีรูปแบบหรือจุดเด่นใดที่สามารถสร้างจุดต่างจากรายการ / กิจกรรมอื่น ๆ และสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้
รายละเอียดของรูปแบบในการนำเสนอ (พร้อมแนบตัวอย่างสคริปรายการ)
โครงการมีกิจกรรมที่ให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมอย่างไร / มีกิจกรรมต่อเนื่องหรือไม่อย่างไร
- โครงการมีการดำเนินงานร่วมกับองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องใดบ้าง และองค์กรเหล่านั้นมีบทบาทในการดำเนินงานของโครงการอย่างไร
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการของท่านเป็นอย่างไรบ้าง (กรุณาระบุโดยละเอียด)
กรุณาระบุรายละเอียดในการปรากฎของ สสส. , ข้อความสร้างเสริมสุขภาพ , spot ของ สสส. ในรายการของท่าน
รูปแบบ วิธีการ และรายละเอียดในการประเมินผลโครงการ(ระหว่างการดำเนินงาน และเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ)
มีกระบวนการ/วิธีการวิเคราะห์/ศึกษากลุ่มเป้าหมายก่อนระหว่างดำเนินโครงการอย่างไร
- โปรดระบุทีมที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก และ/หรือ นักจิตวิทยาเด็ก เพื่อพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอรายการให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ชื่อ-นามสกุล................................................................................................................... ตำแหน่ง..................................................................หน่วยงาน/องค์กร.......................................... ความเชี่ยวชาญ.......................................................................................................................... ชื่อ-นามสกุล......................................................................................................................... ตำแหน่ง..................................................................หน่วยงาน/องค์กร.......................................... ความเชี่ยวชาญ......................................................................................................................... ชื่อ-นามสกุล...................................................................................................................... ตำแหน่ง..................................................................หน่วยงาน/องค์กร...................................... ความเชี่ยวชาญ....................................................................................................................
- ประวัติบริษัท/องค์กร
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ประวัติผู้รับผิดชอบโครงการ/คณะทำงาน .........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
แผนปฏิบัติงาน (Action Plan)
ผู้รับผิดชอบโครงการ/องค์กรผู้รับผิดชอบโครงการ เคยได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส. มาก่อนหรือไม่ เคยยื่นโครงการเพื่อขอรับทุน แต่ไม่เคยได้รับทุนสนับสนุนมาก่อน โครงการชื่อ เคยยื่นโครงการเพื่อขอรับทุน และเคยได้รับทุนสนับสนุนมาก่อน โครงการชื่อ ไม่เคยยื่นโครงการเพื่อขอรับทุนสนุนจาก สสส. มาก่อน (หากท่านเคยได้รับทุนสนับสนุนโครงการจาก สสส. มาก่อน กรุณาระบุรายละเอียดในข้อ 27 หากไม่เคย กรุณาข้ามข้อ 27 )
กรุณาสรุปผลวิเคราะห์ถึงโครงการที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายของโครงการ .. .โครงการไม่มีการประเมินผลหลังจบโครงการ ..โครงการมีการประเมินผลหลังจบโครงการ ผลของการประเมิน สรุปได้ดังนี้ จุดที่ควรปรับปรุงของโครงการเดิม ได้แก่
แนวทางในการปรับปรุง
เงื่อนไขหากได้รับทุน หน่วยงาน/บุคคลที่ได้รับทุนจาก สสส. จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะคู่สัญญากับ สสส. โดยตกลงจะปฎิบัติตามเงื่อนไขสำคัญที่ สสส. กำหนดเงื่อนไขที่สำคัญไว้ ดังนี้ ผู้รับทุนควรเป็นหน่วยงานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล กรณีเป็น ชมรม กลุ่ม เครือข่าย จะต้องมีหน่วยงานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลรับรอง ผู้ได้รับทุนยืนยันว่ามิได้เป็นผู้ผลิตสุราหรือยาสูบ หรือเคยได้รับทุนอุดหนุนเพื่อดำเนินกิจกรรมใดๆ จากบริษัทผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์หรือยาสูบในหนึ่งปีที่ผ่านมา ในการหาผู้ร่วมสนับสนุนโครงการจากแหล่งทุนอื่น ผู้ได้รับทุนจะไม่รับทุนอุดหนุนจากผู้ผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ (1) มีข้อมูลอันพอเชื่อได้ว่าสิ่งนั้นก่อผลเสียต่อสุขภาพ และ/หรือ (2) มีการโฆษณาให้เชื่อถือหรือแสดงภาพลักษณ์ด้านสุขภาพของสิ่งนั้นเกินกว่าสรรพคุณจริง สสส.จะจัดสรรทุนให้กับผู้รับทุนเป็นงวด ตามระยะเวลาหรือกิจกรรมของโครงการโดยจัดสรรทุนไม่น้อยกว่า 2 งวด ในสัดส่วนที่เหมาะสม ผู้ได้รับทุนจะต้องประกาศหรือระบุเป็นลายลักษณ์อักษร ว่า "ได้รับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชนไทย" พร้อมแสดงตราสัญลักษณ์ของ สสส. ในบริเวณจัดกิจกรรม สำนักงาน วัสดุและเอกสารเผยแพร่ของโครงการ จัดพื้นที่ที่จัดกิจกรรมเป็นเขตปลอดบุหรี่และสุรา โดยมีการติดป้ายอย่างชัดเจน ส่งแผนปฏิบัติงานที่ระบุระยะเวลาดำเนินกิจกรรมล่วงหน้าอย่างน้อย 4 สัปดาห์ เพื่อให้ สสส. พิจารณาเข้าร่วมกิจกรรม เชิญผู้แทน สสส. เข้าร่วมในกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุกครั้ง ใช้เงินในกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเท่านั้น โดยแสดงหลักฐานการใช้จ่ายครบถ้วน และเตรียมหลักฐานให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบได้ตลอดเวลา และจัดส่งคืนเงินที่เหลือหลังจากเสร็จสิ้นโครงการให้ สสส. ภายใน 4 สัปดาห์
ขออนุมัติจาก สสส. เมื่อโครงการมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงด้านงบประมาณ ส่งผลงานและรายงานความก้าวหน้าตามที่ สสส. กำหนดในสัญญา และส่งเอกสารต่อไปนี้ ภายใน 4 สัปดาห์หลังจากจัดกิจกรรมเสร็จสิ้นลงเรียบร้อยแล้ว หรือภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา (1) สรุปผลโครงการตามแบบที่กำหนด พร้อมรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (พร้อมรายงานที่เป็นไฟล์ในดิสก์เก็ต) (2) รายงานการเงินทั้งรับและจ่าย แสดงให้เห็นว่าเงินถูกใช้ไปอย่างไร รายงานการเงินนี้ หัวหน้าองค์กร/หน่วยงานต้องลงนามรับรอง พร้อมทั้งต้องจัดเตรียมหลักฐานการใช้จ่ายสำหรับการตรวจสอบ กรณีโครงการที่ได้รับสนับสนุนมีมูลค่าตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป รายงานการเงินต้องได้รับการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต ผู้ได้รับทุนจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุไว้ในสัญญาที่จะจัดทำขึ้น และให้ความร่วมมือกับ สส. เมื่อ สสส.แจ้งให้ทราบ สสส. มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ หากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของ สสส. คำรับรอง ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่อยู่ในแบบเสนอโครงการนี้เป็นจริง และตกลงว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรายละเอียดในเงื่อนไขทุกประการ หากโครงการนี้ได้รับการสนับสนุน และขอยืนยันว่า m ไม่ได้ขอทุนซ้ำซ้อนจากแหล่งทุนอื่นๆ mขอจากแหล่งทุนอื่นด้วย ชื่อหัวหน้าองค์กร (พิมพ์-หรือเขียนบรรจง) .............................. . .. .. .. ตำแหน่ง . .... ลายมือชื่อ ... วันที่ . ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ (พิมพ์-หรือเขียนบรรจง) ......................... ..... .... ตำแหน่ง ..... .. ลายมือชื่อ ... . .. วันที่ . พยาน (พิมพ์-หรือเขียนบรรจง) ................................... ... ... . . .. ตำแหน่ง ................ ... ลายมือชื่อ ... .. . วันที่ . พยานควรเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในองค์กรนั้น
Relate topics
- ให้นมลูกเกิน 6 เดือน อานิสงส์ส่งถึงตอนโต
- ชวนลูกชวนหลานลงนาเก็บข้าวใหม่
- รายงานจากงานวันเด็ก - "ครอบครัวสร้างสุข ร้อย รัด มัด ห่อ"
- วิกฤติเด็กไทยปี 51 ไอคิวตก อีคิวต่ำ
- ตะลึง!เด็กไทยเข้าสถานพินิจฯวันละ100คน -ติดโรค"สำลักเสรี"ตัวการปัญหาสังคม
- แพทย์ฟันธง!! ตะกั่วเกินมาตรฐานในของเล่น ทำให้ ปัญญาอ่อน
- กลุ่มธุรกิจรวมหัวคว่ำคุมโฆษณาขนมเด็ก อ้างรายการอยู่ไม่ได้
- ตะลึง! เยาวชนไทยติดยาอื้อ กทม.ครองแชมป์สูงสุด
- พบเด็กไทยเส้นยึด-ตึง เหตุหิ้วกระเป๋าหนัก-นั่งหน้าคอมนาน
- สพฐ.ขยายแนวทางสอนเพศศึกษาครอบคลุม ร.ร.5 พันแห่งทั่วประเทศ