จังหวัดสงขลาได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดสัมมนาครูภูมิปัญญาไทย 4 ภาค ครั้งที่ 4
จังหวัดสงขลาได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดสัมมนาครูภูมิปัญญาไทย 4 ภาค ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 20 - 22 มกราคม 2552 ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
นายนครินทร์ ชาทอง ศิลปินแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการจัดงานสัมมนาครูภูมิปัญญาไทย 4 ภูมิภาค ครั้งที่ 4 แจ้งว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและสมาคมครูภูมิปัญญาไทย ได้มอบหมายให้ภาคใต้ โดยจังหวัดสงขลา เป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมครูภูมิปัญญาไทย 4 ภูมิภาค ครั้งที่ 4 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้จัดมาแล้ว 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ภาคอีสาน จัดที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2 ภาคกลาง จัดที่กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดน่าน ซึ่งในครั้งที่ 4 นี้ จังหวัดสงขลาได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพได้ใช้การทำงานในเชิงกระบวนการบูรณาการ โดยมีหลาย ๆ องค์กรเครือข่ายในจังหวัดได้เข้าเป็นภาคีมีส่วนร่วมในการดำเนินการ เช่น จังหวัดสงขลา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา สภาวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา สมาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวัดสงขลา สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ (สวรส.ใต้) เทศบาลนครหาดใหญ่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอจะนะ เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคใต้ เทศบาลตำบลน้ำน้อย และองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ เป้าหมายหลักของการจัดสัมมนาครั้งนี้ คือ การระดมความคิดเห็นของครูภูมิปัญญา ครูเขตพื้นที่การศึกษา ครูองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 20 ? 22 มกราคม 2552 ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
กิจกรรมหลักคือการสัมมนา เรื่อง "การนำภูมิปัญญาไทยเข้าสู่การศึกษาขั้นพื้นฐานและกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น" เพื่อหาประเด็นปัญหาร่วมของครูภูมิปัญญาไทยทั้ง 4 ภาค แล้วผลักดันเชิงนโยบายให้รัฐกำหนดเป็นนโยบายของชาติต่อไป การสัมมนาครั้งนี้มีการถ่ายทอดสดทั่วประเทศทางเครือข่ายวิทยุชุมชน นอกจากนี้มีการแสดงนิทรรศการผลงานของครูภูมิปัญญาทั้ง 4 ภาค และในคืนวันที่ 21 มกราคม 2552 มีการแสดงของครูภูมิปัญญาทั้ง 4 ภาค คือ ภาคเหนือแสดงเพลงซอ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแสดงโปงลาง ภาคกลางและภาคตะวันออกแสดงหนังใหญ่ และภาคใต้แสดงโนรา ดิเกฮูลู และหนังตะลุง
กำหนดการโครงการสัมมนาครูภูมิปัญญาไทย 4 ภูมิภาค ครั้งที่ 4 "การนำภูมิปัญญาไทยเข้าสู่การศึกษาขั้นพื้นฐานและการปกครองส่วนท้องถิ่น"
วันที่ 20 - 22 มกราคม 2552 ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
วันที่ 20 มกราคม 2552
08.00 น. - 15.00 น. ครูภูมิปัญญาไทยทั่วประเทศ ถึงที่สัมมนา ลงทะเบียน เข้าที่พัก
12.00 น. - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. - 16.00 น. เวทีครูภูมิปัญญาภาคใต้เพื่อสุขภาวะคนใต้ (ครูภูมิปัญญาบางส่วนร่วมกันจัดนิทรรศการ)
16.00 น. - 17.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
17.00 น. - 18.00 น. รับประทานอาหารเย็น
19.00 น. - 20.00 น. ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมครูภูมิปัญญาไทย
วันที่ 21 มกราคม 2552
08.30 น. - 09.30 น. ผู้เข้าร่วมสัมมนาลงทะเบียน - รับเอกสาร
09.30 น. - 09.40 น. นายเมธี ณ นคร กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา
09.40 น. - 10.00 น. การแสดงเปิดงานการแสดงร่วมกันระหว่างหนังใหญ่และโนรา ชุด "หนังใหญ่โนราภูมิปัญญาสัมพันธ์"
10.00 น. - 10.20 น. พิธีเปิดและให้โอวาท โดย นายนพพร สุวรรณรุจิ รองเลขาธิการสภาการศึกษา - นายอรุณ ทิพย์วงศ์ นายกสมาคมครูภูมิปัญญาไทย กล่าวรายงาน - นายนพพร สุวรรณรุจิ กล่าวเปิดงานและให้โอวาท - นายนครินทร์ ชาทอง ประธานคณะกรรมการจัดงานครูภูมิปัญญาภาคใต้ - มอบของที่ระลึกให้ นายนพพร สุวรรณรุจิ รองเลขาธิการสภาการศึกษา , นายอรุณ ทิพย์วงศ์ นายกสมาคมครูภูมิปัญญาไทย , นายเมธี ณ นคร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
10.20 น. - 12.00 น. เสวนา เรื่อง "การนำภูมิปัญญาไทยนำสู่การศึกษาขั้นพื้นฐานและการปกครองส่วนท้องถิ่น" ถ่ายทอดสดเครือข่ายวิทยุชุมชนทั่วประเทศทาง http://www.banbanradio.com
วิทยากร ผู้แทนจากครูภูมิปัญญาไทย 4 ภูมิภาค - ภาคใต้ ร.ศ.ดร.ยุทธนา ศิริวัธนนุกูล - ภาคเหนือ ครูสมเจตน์ วิมลเกษม - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครูสมคิด สอนอาจ ครูจิรวัฒน์ สว่างวงศ์ - ภาคกลาง/ภาคตะวันออก ครูสมชาย สมานตระกูล ครูกฤษณ์ ฤทธิ์เดชา
ผู้ดำเนินการเสวนา ดร.นภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม
12.00 น. - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. - 15.00 น. แบ่งกลุ่มครูภูมิปัญญาไทยและผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม/ภูมิภาคเพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ "การนำภูมิปัญญาไทยเข้าสู่การศึกษาขั้นพื้นฐานและการปกครองส่วนท้องถิ่น"
16.00 น. - 17.00 น. ผู้แทนในแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นของกลุ่มย่อย
17.00 น. - 20.00 น. รับประทานอาหารค่ำ พร้อมชมการแสดงของครูภูมิปัญญาไทย 4 ภาค
20.00 น. กลับที่พัก
วันที่ 21 มกราคม 2552
เวลา 17.00 น. - 20.00น.
- การแสดงดนตรีพื้นบ้านของครูสุชาติ แวเด็ง
- การแสดงศิลปะศาสตร์การต่อสู้ประจำชาติไทยของครูกฤษณ์ ฤทธิ์เดชา
- การแสดงดีเกฮูลูของครูหะมะ แบลือแบ
- การแสดงซอปี่กลองมองเซิง ชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยล้านนา
- การแสดงโนราชุด ?ไชยชายโยนหอก? ของครูจวบ พันธ์คีรี
- การแสดงหนังใหญ่ ?ชุดเบิกโรงจับลิงหัวค่ำ? ของครูวีระ มีเหมือน
- การแสดงพิณแคนแดนอีสาน
- การแสดงหนังตะลุงประกอบดนตรี 4 ภาค คณะศิษย์ครูนครินทร์ ชาทอง
วันที่ 22 มกราคม 2552
06.30 น. พิธีทางศาสนา ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ครูภูมิปัญญาไทยที่ล่วงลับไปแล้ว
ที่วัดเขาบ่อ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
07.30 น. - 08.00 น. รับประทานอาหารเช้า ที่วัดเขาบ่อ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
08.00 น. - 12.00 น. ศึกษาดูงานในการนำภูมิปัญญาไทยเข้าสู่การศึกษาขั้นพื้นฐานและการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ได้แก่
- ดีเกฮูลูที่โรงเรียนเทศบาล 3 (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์)
- โนราและดนตรีพื้นบ้านที่โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดคลองเรียน)
- วิทยาลัยชาวบ้าน ครูอัมพร ด้วงปาน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันที่บ้านครูอัมพร ด้วงปาน
13.00 น. ถึงที่พัก เดินทางกลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ
นิทรรศการครูภูมิปัญญาไทย 4 ภาค
- ภาคกลาง
- หนังใหญ่ ครูวีระ มีเหมือน
- วิวัฒนาการของอาวุธไทยและศิลปะศาสตร์การต่อสู้ประจำชาติไทย (ค่ายพระยาตาก)
- นิทรรศการแหล่งเรียนรู้ ครูมลรัตน์ สารภาพ
- นิทรรศการพระโกศไม้จันทร์ ครูจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์
- ภาคเหนือ
- ตุงไชยล้านนา ครูสมเจตน์ วิมลเกษม
- ภาคอีสาน
- ต้นเทียน ครูสมคิด สอนอาจ
- ทุงอีสาน
- ภาคใต้
- ผ้าทอเกาะยอ ครูกริ้ม สินธุรัตน์
- การทำบายศรี ครูบุตรธิกรณ์ จุลพล
- การทำผ้าบาติก ครูฮัสสือเม๊าะ ดอมะ
- การทำขนมไทยโบราณ โรงเรียนบ้านไม้แก่น จังหวัดยะลา
- น้ำบูดูและซีอิ้วน้ำปลา ครูถนอม ศิริรักษ์
- ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว ครูสาธิต ชูพิทักษณาเวช
Relate topics
- สธ.หนุน 'จิตอาสาหมอพื้นบ้าน-สมุนไพร' ร่วมดูแลสุขภาพชาวบ้าน
- โพลพบคนไทยกตัญญูสูงแต่จิตอาสา-มีน้ำใจต่ำ
- ไทยเฮ ! รักษา"ฤาษีดัดตน" ไว้ได้ หลังศาลสั่งให้เป็นภูมิปัญญาไทย
- ขอเชิญร่วมงาน สัปดาห์ศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
- ผลวิจัยเครื่องดื่มสมุนไพรไทย 30ชนิด ชะลอความแก่ได้
- ประกวดภาพถ่ายโบราณและประกวดก่อเจดีย์ทราย เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา
- รายงานพัฒนากิจกรรมประเด็นวัฒนธรรมในแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
- รายงานพัฒนาโครงการประเด็นวัฒนธรรม
- รายงานการประชุมพัฒนากิจกรรมประเด็นวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ
- กระบวนการผลิตซ้ำ และสร้างใหม่ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม