สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

พิจารณาผลไม้เพื่อสุขภาพ/ สายันห์ เล็กอุทัย

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2548 09:39 น.
        แนวทางการพิจารณาสรรพสิ่งด้วยหยิน-หยาง อันเป็นเสมือนเข็มทิศในการนำทางแก่คนเราในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ง่ายแก่การนำความเข้าใจ และ ฝึกฝนหมั่นสังเกตทุกสิ่งรอบตัว เพื่อทราบคุณสมบัติเบื้องต้นของธรรมชาติ อันเป็นกิเลสสากล ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานเดียวกันทั่วจักรวาล เหมือนการเดินทางไปในแดนที่ลึกลับ การมีเข็มทิศย่อมได้เปรียบแก่ผู้เดินทางที่เพิ่งทราบทิศทางข้างหน้าว่าอยู่ทิศใด ขั้วเหนือใต้ในธรรมชาติก็คือ ขั้วหยิน-หยางที่บรรพชน คนจีนได้พัฒนามา เพื่อใช้กับอาหารการกินเรา ก็สามารถประยุกต์มาใช้การเลือกสรรเป็นเมนู
      - พลังยืดและพลังหดตัวของสรรพสิ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถอธิบายด้วยกฎหยิน-หยาง สิ่งที่ยืดออกไปก็คือ หยิน สิ่งที่หดตัวเข้าภายในก็คือ หยาง
      - ในโลกแห่งการเห็นด้วยตาของเรา สามารถอธิบายด้วยแสงสีรุ้งทั้ง 7 สี ด้วยคลื่นแสงที่ปรากฏสะท้อนเข้าสู่ดวงตาและปรากฏรับรู้ผ่านโสตประสาทด้วยคลื่นต่างความถี่ จากหยิน (เย็น) สู่หยาง (ร้อน) คือ (ขั้วหยิน) ม่วง น้ำเงินเข้ม ฟ้า เขียว เหลือง ส้ม แดง (ขั้วหยาง) ในโลกแห่งอาณาจักรของพืช เราจะเห็นทุ่งนาสีเขียว ป่าไม้สีเขียว สวนผลไม้สีเขียวแสดงว่า มีพลังหยินแห่งความเย็นชุ่มชื้นแฝงอยู่สูง เมื่อเราเงยหน้าแหงนมองท้องฟ้า เราจะเห็นสีน้ำเงินแสดงว่าหยินกว่าเขียวของพืช หรือฟ้านั้น ย่อมเย็นกว่าพืชต้นไม้ เพราะท้องฟ้านั้น เย็นแบบโล่ง โปร่ง เบา ไร้มวลสาร น้ำทะเลก็เช่นกัน สีน้ำทะเลจะอมน้ำเงินแสดงว่า เย็นกว่าต้นไม้ แต่น้ำทะเลนั้น งเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่นกว่าท้องฟ้า น้ำทะเลจึงเย็นกว่าต้นไม้ แต่ไม่เย็นเท่าท้องฟ้า
      - ในอาณาจักรแห่งสิ่งมีชีวิตที่เป็นตระกูลสัตว์ จะมีสีเด่นเป็นสีแดง สีเหลือง สีแดงมาจากสีของ เม็ดเลือดแดง เฮโมโกลบินที่เป็นตัวกลางแห่งการสะสมประจุคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ นั่นคือ ธาตุเหล็ก (Fe) ในเม็ดเลือด ดังนั้น เลือดจึงเป็นที่มาของคลื่นจิตวิญญาณ สัตว์จึงต่างจากต้นไม้พืชก็คือ มีเลือด และมีวิญญาณ เพราะมีเลือดเป็นตัวกลาง คนและสัตว์จึงถูกจัดอยู่ในขั้วหยาง ตรงข้ามกับขั้วหยินของพืชตระกูลพืช และนี่คือเหตุผลสำคัญที่มนุษย์ควรบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารจากตระกูลพืชเป็นหลัก
      เนื้อสัตว์จึงเป็นปรปักษ์ในแง่ของพลังหยางที่ผลักดันในตัวคนเราที่มีเลือดเหมือนกับเนื้อสัตว์ดั่งขั้วแม่เหล็ก ลบกับลบผลักกัน ดังนั้น ในแง่ของอาหารเนื้อสัตว์ ให้โปรตีนแก่คน จึงน่าจะต้องทบทวนใหม่ จากเหตุผลพอสังเขป ทำให้เราสามารถแบ่งคุณสมบัติย่อยลงเพื่อง่ายแก่การพิจารณาคุณสมบัติหยิน-หยางดังนี้       อาหารหรือพืช ที่มีแนวโน้มเป็นหยิน
      1. มีสัดส่วนของ โพแทสเซียมสูงในอาหาร
      2. เติบโตขึ้นงอกงามเร็วใน ฤดูร้อนหรือภูมิอากาศเขต ใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลก
      3. พืชผลที่เติบโตง่ายเร็วขึ้นสูง (หยิน)
      4. มีลักษณะนิ่มอ่อน (หยิน)
      5. มีปริมาณน้ำหรือของเหลวอยู่สะสมภายในมาก เช่น แตงโมหรือมะพร้าว
      6. ต้นไม้ที่ขึ้นตั้งตรงสูงชะลูดเสียดฟ้า เช่น ต้นไผ่ ต้นมะพร้าว ต้นตาล
      7. ต้นไม้ที่มีใบใหญ่โตเช่น ต้นกล้วยแสดงว่า อยู่ใกล้น้ำ ใกล้ความชื้นสูง
      8. ลักษณะของใบไม้ที่เรียบกลมเงามัน
      9. พืช ผลไม้ที่สุกง่ายสุกเร็ว ถูกความร้อนเพียงเล็กน้อยก็เปลี่ยนสภาพเช่น กล้วย ถั่วงอก ใบตำลึง
      10. พืช ผลไม้ใดที่รับประทานแล้ว ร่างกายจะรู้สึกเย็น ทำให้ซึม ทำให้ขี้เกียจ ง่วงและนอนตื่นสาย
      พืชเหล่านี้มีพลังหยินมากเช่น น้ำผลไม้เกือบทุกชนิด น้ำมะพร้าว น้ำลำไย น้ำตาลสด น้ำผลไม้เหล่านี้ล้วนมีน้ำตาลในผลไม้สูงที่ทำให้เลือดในร่างกายเจือจาง และเปลี่ยนสภาวะเป็นกรดง่าย เกิดอาการเหน็บชา และปัสสาวะบ่อย รับประทานหลังอาหารแล้วจะรู้สึกง่วงซึมอยากงีบนอน เพราะน้ำตาลเข้าเส้นเลือดเหมือนโรงหมักกระแช่ สาโท

      อาหารหรือพืชที่มีแนวโน้มเป็นหยาง
      1. อาหารที่มีสัดส่วนโซเดียม (เกลือ) สูง
      2. พืชที่ขึ้นงอกงามในฤดูหนาว หรือภูมิอากาศภาคเหนือเช่น ลำไยของภาคเหนือ จะหยางกว่า พืชภาคใต้ (มะพร้าว) หรือต้นยาง (ปักษ์ใต้)
      3. พืชที่เติบโตช้าใช้เวลานานกว่าจะโต
      4. พืชที่มีขนาดเล็กแต่เนื้อแน่นต้นสั้น
      5. พืชที่มีใบเล็กเป็นเส้นแข็งเช่น ใบสน
      6. พืชที่มีความชื้นหรือปริมาณน้ำภายในน้อย
      7. พืช ผลไม้ที่ขึ้นขยายออกด้านข้าง แนวนอน
      8. พืชทุกชนิดที่มีใบเล็กเป็นพืชค่อนข้าง หยางในตระกูลหยิน
      9. พืชที่มีใบไม่เรียบเป็นฟันเลื่อย เป็นซี่ เป็นแฉก
      10. พืช ผลไม้ที่ใช้เวลานาน กว่าจะสุก
      11. พืชที่เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารแล้ว เมื่อถูกความร้อนจะเปลี่ยนสภาพจากอ่อนนุ่มเป็นแข็งตัว
      12. พืชใดที่รับประทานแล้วให้ความร้อนสูงกว่าเช่น พืชประเภทพืชรากเช่น ขิงหรือโสม เป็นหยางมากกว่า หากรับประทานมากจะรู้สึกกระฉับกระเฉง ว่องไว นอนน้อย ในตระกูลของไข่ ให้พิจารณาจากระดับพื้นดินเป็นหลัก เช่น นกเป็น สัตว์บนอากาศ เป็นสัตว์ปีกตัวเบากว่า ไข่ก็จะเป็นหยางมาก ไข่นกจะลูกเล็กไม่เหมาะสำหรับคนเดินบนดินรับประทาน ในขณะเดียวกัน
      ไข่เป็ดหรือไข่ห่าน ก็เป็นไข่ของสัตว์น้ำมีปีก ที่เป็นพันธุ์ที่ยังไม่สมดุล เป็นพันธุ์ทาง ระหว่าง บก น้ำ อากาศ ไข่เป็ด ไข่ห่าน คนจีนจึงถือว่าแสลง เพราะเป็ด ห่าน ยังลงว่ายน้ำได้ ส่วนไข่ไก่ถือว่า สมดุลกว่าในจำพวกสัตว์ปีกทั้งปวง
      ในขณะเดียวกัน ก็ถือว่าไข่ของสัตว์ทุกชนิดนั้น มีธรรมชาติที่เป็นหยางโดยกำเนิด เพราะเป็นตัวอ่อนที่กำลังจะต้องโตไปอีก จึงเป็นหัวกะทิที่อัดแน่น ไม่ควรบริโภคปริมาณมาก เพราะมีโปรแกรม หน่วยความจำที่แฝงอยู่มหาศาล ทารกหรือเด็กอายุยังน้อย       หากรับประทานไข่มาก จะมีปัญหาในภายหลังตอนโตเพราะร่างกายได้สะสมข้อมูลความจำของชีวประวัติไก่ไว้มากเกินไป
      รวมทั้งนมวัวที่มีข้อมูลของชีวประวัติ ตระกูลวัวไว้มาก เมื่อรวมกันในร่างกายจะทำให้เด็กสมัยใหม่ โตเร็ว กระดูกใหญ่ ในขณะเดียวกัน หน้าอกก็จะโตยื่นออกมามากจนเกินพอดีกลาย เป็นคนอาภัพในภายหลังเพราะเซลล์ในร่างกายตอนหนุ่มสาว ยังมีความหยางอยู่ จึงดูว่าหุ่นดี สวยงาม รูปงาม เพราะพลังหยางยังแกร่งพอที่จะยึดเหนี่ยวไว้ให้ได้ แต่พอเวลาผ่านไปอันสั้น ร่างกาย จะพัฒนาสู่ความเสื่อม เฉาเร็วกว่าปกติ เพราะเมื่อ ยังหนุ่มสาวอยู่ ร่างกายต้องทนแบกน้ำหนักและรองรับส่วนเกินนี้ไว้ให้กว่าสองเท่าตัว จนกล้ามเนื้ออ่อนล้าเกินไป
      ในประเภทนมสัตว์ นมแพะ เนยทำจาก นมแพะ ถือว่าหยางมากเหมาะสำหรับคนเมืองหนาวเท่านั้น ที่บริโภคบ้านเราเป็นเมืองร้อน การบริโภค ดื่มนม จึงเป็นเรื่องผิดปกติ เป็นนโยบายส่งเสริมเยาวชนที่ควรได้รับการทบทวนก่อนจะสายเกินไป นมวัว เป็นอาหารของคนเมืองหนาว ที่มีหิมะตกมี 4 ฤดูกาล นมวัวเป็นผลิตผลของคาวบอย เมืองโคบาลที่มิใช่เมือง ไทยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่หยินจัดที่สุดคือ วอดก้า (Vodka) เป็นเครื่องดื่มของคนเมืองหนาว ดื่มเพื่อเพิ่มความร้อนไว้ต้านความหนาว ที่มีหิมะตกหนัก ถัดมาคือ ไวน์ (Wine) ถัดมา คือ วิสกี้ (Whiskey)
      ถัดมาคือ เบียร์ที่ถือว่า หยินน้อยกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ถือว่าเหมาะสมก็คือ สาเก (Sake) ทั้งที่เดิมเป็นหยิน แต่เวลาดื่มนั้น หากแช่น้ำร้อนเป็นการปรับลดหยินลง กลายเป็นหยาง กลายเป็นสรรพคุณของยาบำรุงได้ เพราะบริโภคเมื่อยังอุุ่นอยู่ นี่คือเคล็ดลับของการปรับดุลของคนญี่ปุ่น ในกรณีเบียร์หรือไวน์หรือวิสกี้ก็ดี หากแทนที่เราจะลดความหยิน ซึ่งเป็นโทษกับสุขภาพร่างกายเรากลับไป เพิ่มความหยิน โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยการแช่เย็น (หยิน) ใส่น้ำแข็ง (หยิน) เติมโซดา คาร์บอเนต (เพิ่มหยิน) แล้วยังรับประทานใน ห้องแอร์ (หยิน) เวลากลางคืน (หยิน) สรุปรวมความแล้ว เราเพิ่มโทษความเป็นหยินขึ้น หลายเท่าทวีคูณ ทำให้เครื่องดื่มเหล่านี้ไม่เหมาะสมกับเลือดในร่างกาย นำไปสู่โรคตับและโรค เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในที่สุด

Comment #1
017 (Not Member)
Posted @9 ม.ค. 50 08:44 ip : 203...69

อยากจะให้มีภาพ

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว