เก็บข้อมูล อ. คลองหอยโข่ง
เก็บข้อมูล
วันที่ 4 - 15 กันยายน 2548
ผู้เก็บข้อมูล 3 คน
1. นางสาวศศิวิมล ทองแก้ว
2. นางสาวใบเฟริ์น สุวรรณมณี
3. นางสาวฟาริดา ทองแก้ว
ประวัติความเป็นมาของอำเภอคลองหอยโข่ง
ค้นหาจากอินเตอร์เน็ต
ค้นหาจากห้องสมุด
ประวัติคลองหอยโข่ง
จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบทอดกันมา ในอดีตกาลประมาณ 500 ปี คลองหอยโข่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่งที่ห้อมล้อมไปด้วยป่าดงดิบ ชาวบ้านดำรงชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบากทุรกันดารแร้นแค้น
ในการต่อมาคลองหอยโข่ง จึงได้เป็นอำเภอหนึ่งของอำเภอหาดใหญ่ ประชากรเป็นคนดั้งเดิม ที่อาศัยสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยสันนิษฐานได้จากสถานที่หลายแห่งโดยเฉพาะศาสนสถาน บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์เก่าแก่สมัยรัตนโกสินทร์ หรืออาจมีการตั้งถิ่นฐานก่อนหน้านี้ สังเกตได้จากสภาพสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมที่บ่มเพาะให้ชาวอำเภอคลองหอยโข่งเป็นคนที่มีอุดมการณ์การความคิดพัฒนาตลอดมา ดังนั้นด้วยความทุรกันดาร ห่างไกลจากชุมชนเมือง ประกอบกับประชาชนมีความแตกแยกทางความคิดในการเมืองการปกคลองและด้วยเหตุผลความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีประกาศเรื่องแบ่งเขตท้องที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ โดยใช้อาคารโรงพยาบาลคลองหอยโข่ง ( ยุวสมาคมแห่งประเทศไทย ) เป็นที่ทำการชั่วคราวของส่วนราชการ มีนาย สุนทร ประทุมทอง ดำรงตำแหน่งเป็นปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอคลองหอยโข่งในขณะนั้น
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ กระทรวงมหาดไทย ได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอมาตรฐานขนาดกลางโดยใช้ที่ดินราชพัสดุจำนวน ๗๒ ไร่ เป็นที่ตั้งศูนย์ราชการอำเภอคลองหองโข่ง จนกระทั่งก่อสร้างเสร็จแล้ว จึงได้ทำพิธีเปิดที่ว่าการอำเภอคลองหอยโข่งเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๖ โดยนายอนัน อนันตกูล ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิด
ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะเป็นอำเภอคลองหอยโข่ง เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๐
สภาพทางภูมิศาสตร์
อำเภอคลองหอยโข่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอหาดใหญ่ และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสงขลา ระยะห่างจากจังหวัด ๔๔ กิโลเมตร ห่างจากอำเภอหาดใหญ่ ๑๘ กิโลเมตร มีเนื้อที่ 278 ตารางกิโลเมตร ๑๗๑,๒๕๐ ไร่ อาณาเขตทิศเหนือติดอำเภอหาดใหญ่ ทิศใต้จดอำเภอสะเดา ทิศตะวันออกจดอำเภอหาดใหญ่ ทิศตะวันตกจดจังหวัดสตูล สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นเทือกเขา และภูเขาสูง มีแหล่งน้ำสำคัญคือ คลองยาง คลองหลา คลองจำไหร คลองรำใหญ่ คลองรำน้อย คลองหีบ คลองรำ และคลองอู่ตะเภา
ศักยภาพการพัฒนาของอำเภอคลองหอยโข่ง มีหน่วยราชการของรัฐวิสาหกิจ ที่ตั้งในพื้นที่อำเภอคลองหอยโข่ง ซึ่งถือเป็นหน่วยประสานงานระหว่างส่วนราชการประกอบด้วย กองบิน ๕๖ ค่ายรัตนพล สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสงขลา โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลา สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาคที่ ๔ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ศูนย์ควบคุมวิทยุการบิน และสถานีวิจัยฯคณะทรัพยากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้านการแพทย์ และสาธารณสุขมีโรงพยาบาลคลองหอยโข่ง สถานีอนามัยทุกตำบล จึงทำให้อำเภอคลองหอยโข่งมีศักยภาพด้านการพัฒนาต่างๆอย่างชัดเจน
ด้านการเมืองการปกครอง ด้วยการปฏิบัติอย่างเสียสละของผู้นำชุมชนในด้านการบำบัดทุข์บำรุงสุขแก่ราฎร เป็นผลที่ทำให้อำเภอคลองหอยโข่งมีกำนันและผู้ใหญ่บ้านแหนบทองคำ ติดต่อกันมา ๕ ปี นับเป็นเกียรติประวัติของอำเภอคลองหองโข่งอย่างยิ่ง นอกจากนี้ประชาชนในอำเภอคลองหอยโข่งยังเป็นผู้ที่มีความตื่นตัวในการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับต่างๆทุกครัวเรือนโดยพร้อมเพรียงกันทุกครั้ง
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในคมนาคม มีถนนสายหลักเป็นถนนลาดยางเชื่อมต่อกับพื้นที่ ตำบล หมู่บ้าน สามารถใช้สัญจรได้ตลอดฤดู ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปกรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบประปาหมู่บ้าน ไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น
ด้านเศรษฐกิจ อำเภอคลองหอยโข่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางอากาศที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีพื้นที่ทางเกษตรคิดเป็นร้อยละ ๙๕ ของพื้นที่ทั้งหมด ประกอบกับมีแหล่งน้ำและส่วนราชการ คอยให้การส่งเสริมสนับสนุนอย่างชัดเจน อำเภอคลองหอยโข่งมีกลุ่มอาชีพต่างๆ โดยอยู่บนพื้นฐานของการมีสัจจะซื่อสัตย์ และการแบ่งปันผลประโยชน์ด้วยความเอื้ออาทรต่อกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากความยากลำบากของชาวอำเภอคลองหอยโข่ง ที่เคยผ่านความทุกยากมาตลอด จึงทำให้มีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งขึ้นมาคือความรักพวกพ้อง ความเอื้ออาทรต่อกันเสมอมา
ด้านการท่องเที่ยว ได้มีการพัฒนาและค้นพบแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น น้ำตกผาดำ อ่างเก็บน้ำคลองหลา อ่างเก็บน้ำคลองจำไหรพิพิธภัณฑ์ชาวบ้าน วัดโคกม่วงมีทวดช้างพลายสวัสดิ์ เป็นที่สักการะบูชาของผู้คนทั่วไป วัดปลักคล้ามีพระพุทธรูปองคืใหญ่เด่นสง่าสวยงาม วัดโคกเหรียง วัดโพธิ์ วัดปรางแก้ว มีโบราณสถานที่เก่าแก่น่าศึกษาอย่างยิ่ง และเขาวังชิง
ด้านการศึกษา ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
มีการส่งเสริมให้นักเรียนต้องเรียนภาคบังคับทุกคน และมีระบบการศึกษานอกโรงเรียนให้แก่เยาวชนที่ขาดโอกาสการเรียนในระบบ และด้วยการต่อสู้กับความยากลำบากมาตลอดเวลา ทำให้ชาวอำเภอคลองหอยโข่งมีเอกลักษณ์รักพวกพ้องเอื้ออาทรต่อกัน ตลอดถึงการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามตลอดมา เช่นกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ วันกตัญญู วันอาสาสมัครสาธารณสุข งานประเพณีชักพระ จะมีกลุ่มสตรีแม่บ้าน พลังมวลชน ร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง และยังมีความโดดเด่นสายเลือดศิลปิน โดยมีคณะหนังตะลุง และมโนราห์หลายคณะด้วยกัน
บุคคลสำคัญในอดีตของอำเภอคลองหอยโข่งที่มีคุณูปการ ที่มีส่วนในการสร้างความเจริญด้านต่างๆ และการรักษาความสงบเรียบร้อยของคลองหอยโข่งหลายท่านด้วยกัน เช่น ขุนคล่อง คลองหอยโข่ง เดิมชื่อเพชร บำรุงศักดิ์ อดีตกำนันตำบลคลองหอยโข่งและสมาชิกสภาจังหวัดสงขลาสมัยนั้น และยังมี ขุนสิทธิ์ สุรกัณฑ์ เดิมชื่อว่า แจ้ง ณรงค์กูล กำนันถนัด คุณสงค์ กำนันแสง จันทร์ละออง กำนันนุ่น บุญสิทธิ์ พระครูกิตติยารักษ์ ( แคล้ว ) อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกเหรียง พระครูสุวรรณสิริรัตน์ ( ขวัญทอง ) วัดโคกม่วง หลวงพ่อจันทร์แก้ว ปุญญมณี ( หลวงพ่อปราบภัย ) วัดเลียบพระครูพิทักษ์ ( พ่อท่านชุม จุตติมุตโต )วัดโพธิ์ ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่สร้างคุณประโยชน์ไว้ให้ลูกหลานชาวอำเภอคลองหอยโข่งอย่างคณานับ
แนวโน้มการเจริญเติบโตของชาวอำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่งมีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งไม่ไกลจากชุมชนเมือง และขนาบด้วยชุมชนเมืองขนาดใหญ่ จึงเป็นที่รองรับของการขยายตัวของชุมชนเมืองโดยรอบด้าน และที่สำคัญยังเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมทางอากาศ และในอนาคตอันใกล้นี้จะมีถนนสายสำคัญตัดผ่านอีกด้วย จึงคาดการเอาไว้ว่าอำเภอคลองหอยโข่งจะสามารถรองรับการเจริญเติบโตของเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านต่างๆอย่างแน่นอน ตามวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ การพัฒนาที่ว่า " อำเภอคลองหอยโข่งจะเป็นเมืองปริมณฑลและเป็นพื้นที่สีเขียว รวมทั้งการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของจังหวัดสงขลา "
จากพัฒนาการด้านต่างๆ ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ๑๓ ปี จนเกิดเป็นที่มาของคำขวัญอำเภอคลองหอยโข่ง
" เมืองศิลปิน สนามบินนานาชาติ สวยสะอาดอ่างเก็บน้ำ เลื่องลือนามพ่อขุนคล่อง"
Relate topics







