สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

รายงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเยาวชนฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำผาดำเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม  ที่กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำได้จัดทำขึ้น  เพื่อประกอบการรายงานผลในการดำเนินกิจกรรมตลอดระยะเวลา 1 ปีที่จัดทำโครงการเริ่มตั้ง สาเหตุที่ทางกลุ่มเยาวชนต้องจัดทำโครงการนี้ข้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพป่าซึ่งเป็นต้นน้ำให้คนในหมู่บ้านได้ใช้ในการอุปโภค บริโภค รวมถึงเป็นแหล่งน้ำที่ไหลลงสู่คลองอู่ตะเภาและสิ้นสุดที่ทะเลสาบสงขลา ซึ่งกิจกรรมที่ทางกลุ่มได้จัดทำก็ประกอบด้วย กิจกรรมค่ายผู้นำ  กิจกรรมเฝ้าระวังป่าต้นน้ำผาดำ  กิจกรรมค่ายเพื่อการเรียนรู้  และกิจกรรมเก็บข้อมูล  ผลจากการจัดทำโครงการก็ได้รวบรวมไว้ในรายงานฉบับนี้อย่างครบถ้วน  ทางกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการทำโครงการนี้จะช่วยลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและช่วยปลูกจิตสำนึกให้กับชาวบ้านและประชาชนรวมถึงบุคคลที่ได้อ่านรายงานการดำเนินงานฉบับนี้แล้วคงจะทำให้รู้สึกรักทรัพยากรธรรมชาติและช่วยกันดูแลรักษาต่อไป

กิตติกรรมประกาศ ทางกลุ่มยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ กราบขอบพระคุณ
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส. ) ที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้คงอยู่ต่อไป - ประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผา ที่ได้ให้การสนับสนุนให้การช่วยเหลือ ในการทำกิจกรรมต่างๆของโครงการ ซึ่งถ้ากลุ่มเยาวชนไม่ได้รับการช่วยเหลือจากทางประชาคม ก็คงจะทำให้การดำเนินงานในครั้งนี้สำเร็จลงได้ยาก
-  คุณชาคริต  โภชะเรือง ที่ได้ให้คำปรึกษา ได้เป็นอย่างดีตลอดการทำโครงการ
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหอยโข่ง ที่คอยให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ - เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ที่ได้ช่วยบริการด้านการเดินทางระหว่างการทำกิจกรรม และให้ข้อมูลเกี่ยวกับป่าผาดำ                                                                                                                                                  ทางกลุ่มเยาวชนก็ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การช่วยเหลือการดำเนินโครงการไว้ ณ ที่นี้ด้วย  เพราะถ้าเกิดไม่มีท่านดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  การดำเนินโครงการคงจะไม่สามาสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

1. บทสรุปย่อการดำเนินงาน                   โครงการเยาวชนฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำผาดำเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม  ได้จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ปลูกจิตสำนึกให้คนรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์  ซึ่งกิจกรรมที่ทำก็มีดังนี้ 1. ค่ายผู้นำ  เป็นกิจกรรมที่เครือข่ายของกลุ่มประชาคมรักษ์ป่าผาดำได้ฝึกการเป็นผู้นำของเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ  โดยการให้ลงมือปฏิบัติและฝึกตามสถานที่ต่างๆ ที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ ฝึกด้านการพูด  บุคลิก การใช้สายตาในระหว่างการพูด ฝึกการใช้มือ ฝึกด้านการคิดวิเคราะห์ในขณะพูด ฟังการบรรยายความรู้ความเข้าใจเรื่องการเป็นผู้นำ ผลที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ก็คือ เยาวชนมีความรู้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด 2. เฝ้าระวังป่าต้นน้ำผาดำ  เป็นกิจกรรมที่ต้องการสำรวจป่าผาดำเพื่อดูการเพิ่ม - ลดของการตัดไม้ทำลายป่าและนำไปสู่หนทางแก้ไข  รวมถึงหามาตรการแก้ปัญหาขยะในป่าจากนักท่องเที่ยว ผลที่ได้รับจากการทำกิจกรรมนี้ เยาวชนได้เรียนรู้ถึงสภาพป่าต้นน้ำที่แท้จริง แต่ทำได้เพียงในระยะหนึ่ง จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนงาน ดำเนินกิจกรรมนี้ต่อไปในลักษณะอื่น เนื่องมาจากการเฝ้าระวังป่ามีความปลอดภัยน้อยลงเพราะเกิดกระแสข่าวของการขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มอนุรักษ์กับผู้บุกรุกพื้นที่ป่า จึงไม่เห็นสมควรที่จะทำกิจกรรมในลักษณะดังกล่าว ผลที่ได้ จากการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดร่วมกับกลุ่มประชาคมรักษ์ป่าผาดำ และเครือข่ายต่างๆ ทำให้มีการจับกุมผู้กระทำความผิด ส่งผลทำให้การทำลายป่าลดลง และสามารถกระตุ้นให้ทางจังหวัดได้ลงมาแก้ปัญหา ด้วยการที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศใช้ ม.25 ในการแก้ปัญหาผู้บุกรุก ปริมาณขยะในป่าต้นน้ำก็ลดลง 3. ค่ายเพื่อการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่กลุ่มเยาวชนและผู้ที่สนใจได้เข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์ป่า เพื่อปลูกจิตสำนึก และช่วยระดมความคิดหาหนทางแก้ไข การทำลายป่า
ผลที่ได้ จากการทำกิจกรรมนี้คือ  มีเครือข่ายในการเรียนรู้ประโยชน์ของป่าต้นน้ำและร่วมกันแก้ไขปัญหาเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ เครือข่ายเยาวชนและประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำ อ.สะเดา แต่ไม่เกิดเครือข่ายในอำเภอคลองหอยโข่ง เพราะคณะทำงานยังขาดการวางแผนในการจัดตั้งเครือข่าย ทั้งยังมีปัญหาเยาวชนในพื้นที่มีน้อย ผู้ปกครองบางส่วนมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัย
ผลที่ได้อีกประการหนึ่ง คือ เป็นแรงผลักดันให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้ทำงานอย่างเต็มที่มากขึ้น  มีผู้รู้จักป่าผาดำและกล่าวขานกันต่อไปอย่างกว้างขวาง วัดได้จากการที่มีเครือข่ายมาเรียนรู้ป่าต้นน้ำอย่างต่อเนื่อง 4. เก็บข้อมูล  เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้เยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำได้ระดมความคิดกันเพื่อค้นหาข้อมูลและได้เรียนรู้  ผลที่ได้รับจากการทำกิจกรรมนี้คือ  มีข้อมูลที่สามารถเผยแพร่ให้แก่ผู้อื่นได้  เยาวชนได้เกิดการเรียนรู้ระหว่างการหาข้อมูลต่างๆที่ยังไม่ทราบ ซึ่งการดำเนินโครงการถือว่าสามารถดำเนินโครงการสำเร็จลงด้วยดี  สามารถทำให้ปัญหาของป่าต้นน้ำผาดำ เป็นที่รับรู้ทั้งในอำเภอคอลองหอยโข่งและระดับจังหวัด นำมาซึ่งแนวทางแก้ปัญหาต่อไป และแม้ผลที่ได้รับก็ตรงตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ แต่การทำงานก็มีปัญหาจากการดำเนินการ คือ ยังขาดความต่อเนื่องในการทำงานระหว่างกลุ่มเยาวชน อีกทั้งกลุ่มเยาวชนยังเป็นนักเรียน ทำให้ไม่มีเวลาในการทำกิจกรรม และขาดประสบการณ์ในการบริหารจัดการ ที่สำคัญ ยังขาดผู้นำในการทำกิจกรรม การทำโครงการเป็นการเรียนรู้ประสบการณ์ตรงครั้งแรกของกลุ่มเยาวชน
เงื่อนไขความสำเร็จในการแก้ปัญหา 1. กลุ่มเยาวชนมีกลุ่มประชาคมอนุรักษ์ป่าผาดำเป็นพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด กลุ่มเยาวชนส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของกกลุ่มประชาคมที่มีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ป่าต้นน้ำ 2. การทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนช่วยสร้างกระแสการตื่นตัวในการอนุรักษ์ในพื้นที่ได้ง่าย 3. กลุ่มเยาวขนมีความมุ่งมั่น มีจิตสำนึกที่ดีในการทำงาน ทำให้ประสานเครือข่ายมาร่วมแก้ปัญหาได้ง่าย 4. ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าให้คงอยู่ต่อไป โดยเฉพาะเครือข่ายรักษ์คลองอู่ตะเภา คณะธรรมยาตรา

2. ลักษณะกิจกรรม ค่ายผู้นำ 17-23 ต.ค. 47
ผู้เข้าร่วม 18 คน เป็นกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้นำในหัวข้อต่างๆผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
•ฝึกด้านการพูด •ฝึกด้านบุคลิก •ฝึกการใช้สายตาในระหว่างการพูด •ฝึกการใช้มือ •ฝึกด้านการคิดวิเคราะห์ในขณะพูด •ฟังการบรรยายความรู้ความเข้าใจเรื่องการเป็นผู้นำ

สรุปผล 1.เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นผู้นำ 2.กล้าพูดกล้าแสดงออกมากขึ้น 3.สามารถพูดในที่ประชุมได้อย่างถูกต้อง 4.กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น 5.สามารถเป็นผู้นำผู้อื่นได้ 6.สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 7.สามารถนำไปเผยแพร่กับบุคคลอี่นๆได้

25 ธ.ค. 47 - 6 มี.ค. 48 เฝ้าระวังป่าต้นน้ำผาดำ เป็นกิจกรรมเดินสำรวจ เฝ้าระวังร่วมกับกลุ่มประชาคม จำนวน 8 ครั้ง 1.วันที่ 25-26 ธันวาคม 2547 ( 17 คน ) 2.วันที่ 15-16 มกราคม 2548 ( 18 คน ) 3.วันที่ 22-23 มกราคม 2548( 15 คน ) 4.วันที่ 29-30 มกราคม 2548( 15 คน ) 5.วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2548( 18 คน ) 6.วันที่18-19 กุมภาพันธ์ 2548( 12 คน ) 7.วันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2548 ( 15 คน ) 8.วันที่ 5-6 มีนาคม 2548( 15 คน ) เป็นการเดินสำรวจป่าผาดำเพื่อดูการเพิ่ม ลดของการทำลายป่า และแก้ไขปัญหาขยะบริเวณน้ำตก

สรุปผล 1.ทราบข้อมูลเพิ่ม - ลดของการทำลายป่า 2.เป็นข้อมูลให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบได้ปฏิบัติงานมากขึ้น 3.ปัญหาขยะบริเวณน้ำตกผาดำลดลง 4.เยาวชนได้ใช้เวลาว่างบางส่วนทำสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม

ค่ายเพื่อการเรียนรู้ 2-4 พ.ค.48 ลักษณะกิจกรรมเข้าค่ายการเรียนรู้ เป็นเวลา 2 คืน 3 วัน  ในวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2548 เป็นค่ายที่ให้ผู้สนใจร่วมกันทำกิจกรรม ที่ดีๆ เป็นประโยชน์ต่อป่าผาดำ
แสดงความคิดเห็นช่วยกันแก้ไขปัญหาป่าไม้ถูกทำลาย ร่วมกันทำกิจกรรมตามฐาน 3 ฐาน
ฐานที่ 1 สำรวจระบบนิเวศน์ ฐานที่ 2 ศึกษาประวัติป่าไปดูอุโมง ฐานที่ 3 เรียนรู้ศิลปะการวาดภาพ แสดงความรู้สึกเกี่ยวกับป่า ตั้งจิตอธิฐานให้ป่าผาดำมีความอุดมสมบูรณ์ ร่วมกันวางแผนการเป็นเครือข่ายเดียวกัน กิจกรรมสร้างสัมพันธไมตรี ผู้เข้าร่วมค่ายจำนวน 102 คน ณ ป่าต้นน้ำผาดำ
สรุปผลที่ได้ 1มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าผาดำมากขึ้น 2มีประสบการในการใช้ชีวิตอยู่ในป่าซึ่งสามารถช่วยเหลือตนเองได้ 3มีเพื่อนใหม่หรือผู้ร่วมทำกิจกรรมมากขึ้น 4.เมื่อผู้ร่วมค่ายได้เห็นถึงป่าที่ถูกทำลายและป่าที่อุดมสมบูรณ์จึงทำให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของป่ามากขึ้น เกิดความสนิทสนมกันรวมถึงความสามัคคีภายในค่าย 5รู้จักพันธุ์ไม้ที่แปลกใหม่เพิ่มขึ้น 6.ได้เห็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าตามธรรมชาติทำให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ควรรักษาไม่ควรทำลาย 7.เยาวชนและผู้ร่วมค่ายกล้าแสดงออก 8ทำให้ผ่อนคลาย 9.หน่วยงานที่มีหน้าทีรับผิดชอบได้แก้ไขปัญหา 10.มีผู้ที่ร่วมกันแก้ปัญหาป่าถูกทำลายมากขึ้น 11.ได้ความคิดเห็นดีๆในการแก้ไขปัญหา 12.เกิดวามภาคภูมิใจเมื่อได้ร่วมกันทำกิจกรรม เป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็นว่ามีกิจกรรมดีๆเกิดขึ้น

เก็บข้อมูล1ก.ค.-24 ต.ค. 48 ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2548 ผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูล 2 คน
เป็นการสอบถามชาวบ้านที่เป็นคนเก่าแก่เกี่ยวกับข้อมูลพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ในป่าต้นน้ำผาดำ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 1-20 กรกฎาคม 2548 ผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูล  4  คน ( ความเป็นมาของหมู่บ้านเก่าร้างโดยการสอบถามคนเก่าแก่ของหมู่บ้าน) ระยะที่ 3 ระหว่างวันที่ 1-20 สิงหาคม 2548 ผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูล  7 คน ( ความเป็นมาของสหายและป่าผาดำ โดยการสอบถามสหายที่เคยเข้าป่า ) ระยะที่ 4 วันที่  4 กันยายน 2548 ผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูล 3 คน ( ประวัติความเป็นมาของอำเภอคลองหอยโข่ง  โดยการเข้าไปค้นหาในอินเตอร์เน็ต ระยะที่ 5 วันที่ 25 กันยายน 2548 ผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูล 8  คน (  ลักษณะพันธุ์ไม้ต่างๆ โดยการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้  ) ระยะที่ 6 วันที่  28 กันยายน 2548 ผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูล  5 คน ( ลักษณะการทำงานของหมูบ้านเก่ร้าง โดยการสอบถามจากผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการทำงาน
ระยะที่ 7 วันที่ 22-24 ต.ค.48 ผู้ร่วมกิจกรรม  16  คน ( เป็นการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมบริเวณส่วนต่างๆของป่าผาดำ  )

สรุปผลการดำเนินกิจกรรม 1.มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อมูล ที่ได้ร่วมกันเก็บและค้นคว้า 2.ได้มีความกล้าแสดงออกที่จะไปสอบถามกับผู้ซึ่งรู้ข้อมูล 3.รู้จักขั้นตอนในการทำงานกันเป็นทีม 4.ได้ใช้เวลาว่างให้เดประโยชน์แก่ตนเองและบุคคลรอบข้าง 5.สามารถมีข้อมูลไว้ในกลุ่มให้ผู้ซึ่งตองการทราบได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป 6.เป็นประสบการณ์ที่ดีแก่เยาวชนที่ได้ทำกิจกรรม 7.เป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ที่ได้พบเห็นในการทำกิจกรรมเก็บข้อมูล 8.สามารถนำข้อมูลที่ได้มาไปเผยแพร่แก่ผู้ที่ยังไม่ทราบได้ เยาวชนมีความรู้เชิงวิชาการเพิ่มมากขึ้น

ลักษณะภาพรวมโครงการ ชื่อโครงการ เยาวชนฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำผาดำเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศศิวิมล  ทองแก้ว
องค์กรผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ คณะทำงานโครงการ 1.นายพรทวี ยูหนู หมู่ 6 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 2.นายธนานิวัฒน์  ทองแก้ว หมู่ 6 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 3.นายวุฒิชัย    ทองแก้ว หมู่ 6 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 4.นายภูวดล  สุคนธรัตน์ หมู่ 6 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 5.นายประทีป  ดำแป้น หมู่ 5 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 6.นายชวลิต  แก้วชรัตน์ หมู่ 6 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 7.นายสรวง  ทองแก้ว หมู่ 6 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 8.นายพยุงศักดิ์  คงมัยลิค หมู่ 4  ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 9.น.ส.ใบเฟิร์น สุวรรณมณี หมู่ 6 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 10.น.ส.ฟาริดา  ทองแก้ว หมู่ 6 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา   ที่ปรึกษา 1.ประชาคมรักษ์ป่าต้นนำผาดำ 2.อบต.ประจำหมู่บ้าน ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ ศูนย์เรียนรู้เยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำ             หมู่บ้านเก่าร้าง  60/1 ม.6  ต.คลองหอยโข่ง             อ.คลองหอยโข่ง  จ.สงขลา  90230 โทร.06 - 2951295 / 06 - 2856717 ช่วงเวลาดำเนินการ ระยะเวลา    1 ปี  ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2547 ถึงเดือนกันยายน  2548 งบประมาณที่ขอ          120,000  บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) งบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น            ไม่มี ความเป็นมา/ความสำคัญของโครงการ           ทางกลุ่มเยาวชนและประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำได้ร่วมกันวางแผนจัดทำโครงนี้ขึ้นมา  เพราะ ได้ไปพักแรมบริเวณป่าต้นน้ำผาดำ  อ. คลองหอยโข่ง จ. สงขลาได้ไปพบกับป่าที่ถูกทำลายโดยการตัดไม้ ทำลายป่าและการบุกแผ้วถางจากผู้บุกรุก
ด้วยทางกลุ่มของประชาคมนั้นรู้จักและมีความสัมพันธ์กับป่ามาเป็นเวลานานหลายปีจึงรู้ว่าสภาพ ป่านั้นเป็นอย่างไร เคยอุดมสมบูรณ์เพียงใด แต่พอได้เห็นในตอนนี้ป่าก็แตกต่างจากสภาพเดิมไปมาก  จึงได้มีการสำรวจพบว่าบริเวณพื้นที่ป่าในอำเภอคลองหอยโข่งทั้งหมด  27,000 ไร่  โดยเฉลี่ยเช่นปี 2546 พื้นที่ป่าถูกทำลายไปแล้วประมาณ  700 ไร่  โดยผู้บุกรุกที่มาจากนอกพื้นที่ ซึ่งนอกจากมีการแปรรูปไม้แล้วยังทำโรงจักร(ทำยางแผ่น) ปล่อยน้ำเสียลงไปสู่แม่น้ำลำคลอง รวมถึงบริเวณทางเดินไปน้ำตก มีปัญหาขยะเต็มไปหมด สาเหตุเกิดจากผู้ที่ขึ้นไปท่องเที่ยวน้ำตกผาดำทิ้งขยะทำให้ขยะเพิ่มมากขึ้นซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วยเพราะเมื่อขยะสะสมอยู่ในแหล่งน้ำมาก ๆ จะทำให้น้ำเน่าเสียซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ ผลที่เกิดขึ้นตามมาในช่วงเวลาอันเดียวกัน คือชาวบ้านที่ใช้น้ำจากป่าต้นน้ำผาดำได้รับอันตรายต่อสุขภาพจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงทำยางแผ่นลงในคลองทำให้น้ำเน่าเสียและเกิดอาการคันเวลาลงไปเล่นน้ำในคลอง  การตัดไม้ทำลายป่าและการแผ้วถางและเรื่องขยะถ้าหากปล่อยไว้นาน ๆ จะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ขาดน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งทางประชาคมและเยาวชนเห็นว่าถ้าเกิดปล่อยไว้จะเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้มีผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำจากป่าต้นน้ำผาดำไปสู่ทะเลสาบสงขลาจึงได้ลงความเห็นกันว่าควรที่จะจัดตั้งกลุ่มแกนนำในการอนุรักษ์ป่าไว้ซึ่งมีชื่อว่า  กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ  เพื่อจะได้ลดปัญหาต่าง ๆ เช่นการตัดไม้ทำลายป่าการบุกรุกแผ้วถางและปัญหาขยะอีกทั้งปัญหาน้ำเสีย การทำงานของทางกลุ่มเยาวชน คือ การเฝ้าระวังป่าต้นน้ำ การจัดค่ายอนุรักษ์ และ การหาเครือข่ายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่ออันเป็นสิ่งที่เอื้อให้เกิดสุขภาพที่ดีของทุกคนต่อไป  การดำเนินงานของกลุ่มเยาวชนยังขัดข้องอยู่เพราะไม่มีงบประมาณในการดำเนินงานกิจกรรม จึงเขียนโครงการขอรับงบสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มขึ้นมาในครั้งนี้

วัตถุประสงค์
            1 . เพื่อปลูกจิตสำนึกในการหวงแหนและอนุรักษ์ป่า             2 .  เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและความเข้มแข็งในกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ ดังนี้ 2.1 เรื่องของสุขภาวะที่สมบูรณ์มี  4 ด้าน
สุขภาพร่างกาย  คือ    เมื่อมีการเดินป่าสำรวจป่าด้วยกิจกรรมเฝ้าระวังซึ่งเป็นการออกกำลังกายไปในตัวซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี และการที่ได้รับอากาศบริสุทธิ์ก็มีผลทำให้สมองปลอดโปร่ง
สุขภาพจิต  คือ  เมื่อได้ร่วมทำกิจกรรมเรียนรู้กับกลุ่มอื่น ๆ หรือ กลุ่มเยาวชนเราเองก็ จะทำให้เราได้รับสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จะเกิดความรักสมัครสมาน มีจิตใจสามัคคี มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ซึ่งจะส่งผลด้านสุขภาพจิตของกลุ่มเยาวชนไปในทางที่ดีไปด้วย สุขภาพทางสังคม  คือ  เมื่อจัดตั้งกลุ่มเยาวชนขึ้นก็ได้รับการร่วมมือจากผู้ที่เข้าใจ โครงการนี้  มีการขยายเครือข่ายในระดับอำเภอ จะทำให้เกิดการทำงาน มีกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน สังคมมากขึ้น ผ่านการดำเนินการของกลุ่ม แม้อาจจะขัดแย้งกับผู้ที่เสียผลประโยชน์ไปบ้าง แต่ต่อไปอาจจะทำให้สถานการณ์เช่นนี้เปลี่ยนไปในทางที่ดีได้  กลุ่มเยาวชนตั้งใจที่จะทำโครงการนี้เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้ที่บุกรุกเข้าใจ เพื่อเป็นการร่วมสร้างสุขภาพสังคมที่ดีของทุกคน สุขภาพจิตวิญญาณ  คือ  เมื่อมีโครงการนี้ขึ้นมาทำให้ผู้ที่ได้รับรู้เล็งเห็นถึง ความสำคัญและปลูกฝังจิตสำนึกนำไปสู่ความหวงแหนธรรมชาติ จิตใจที่ไม่ได้คิดถึงประโยชน์ส่วนตนได้สัมผัสกับธรรมชาติจะนำไปสู่พื้นฐานของสุขภาพทางจิตวิญญาณที่ดี 2.2 เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และประสบการณ์ในการทำกิจกรรม เช่น ความรู้เรื่องเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ว่าในป่าผาดำมีต้นไม้ที่สำคัญอะไรบ้าง เช่น  ต้นตะเคียน  ต้นหลุมพอ  ต้นกฤษณา  เป็นต้น ความรู้เรื่องเกี่ยวกับพันธุ์สัตว์ที่สำคัญ  เช่น  ชะนี  สมเสร็จ  นกเงือก  เป็นต้น ความรู้เกี่ยวกับประวัติของป่าผาดำ ได้รู้วิธีการดำเนินงานในการทำกิจกรรมของแต่ละครั้ง ได้ฝึกการเป็นผู้นำที่ดี   3 .เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับป่าผาดำ โดยจัดทำเอกสารเป็นรูปเล่ม 4.เพื่อลดปริมาณขยะในบริเวณป่าผาดำ 5.เพื่อลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่าและการบุกรุกแผ้วถาง

กลุ่มเป้าหมาย                     1 . กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ  20  คน                     2 . กลุ่มผู้สนในกิจกรรมการอนุรักษ์ป่า 20 คน                     3 . กลุ่มเยาวชนบริเวณรอบป่าต้นน้ำผาดำในอำเภอคลองหอยโข่ง 50 คน

วิธีดำเนินงาน 1.จัดค่ายเพื่อการเรียนรู้ 2.เฝ้าระวังป่าต้นน้ำผาดำ 3.การเก็บข้อมูล  และเวทีย้อนรอยค้นหาอดีตป่าผาดำ 4.จัดค่ายผู้นำ รายละเอียดกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 ค่ายเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย 1.กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ  20  คน  (แกนนำ)             2.กลุ่มเยาวชนบริเวณรอบป่าต้นน้ำผาดำ  50  คน             3.กลุ่มผู้สนใจในกิจกรรมอนุรักษ์ป่า  20  คน ระยะเวลา      2  คืน 3 วัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.สร้างความสัมพันธ์ไนการทำงานเป็นเครือข่าย 2.ทำให้ผู้ที่มีเวลาว่างได้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมได้ ความรู้ความสนุกสนานเพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี  ดีกว่าการนำเวลาว่างเหล่านี้ไปยุ่งเกี่ยวข้องกับ อบายมุขสิ่งเสพติดต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่สุขภาพร่างกายและจิตใจที่เสื่อมโทรมได้ 3.สร้างจิตสำนึกหรือจิตใจที่ดีในการรักและหวงแหนป่า
งบประมาณ          รวมทั้งสิ้น            45,000  บาท
ดังรายละเอียด                  1.ค่าอาหาร    100 คน  x 7 มื้อ x 50  บาท  =  35,000        บาท                                         2.ค่าประสานงาน                              =  3,000          บาท                                         3.ค่าอุปกรณ์                                          =  2,000        บาท                                         4.ค่าวิทยากร(5x500x2)                            =  5,000        บาท กิจกรรมในค่ายเรียนรู้   1  เดินทางขึ้นบริเวณที่พัก (กิจกรรมเดินป่า)  มี 4 ฐาน ฐานที่  1  มีวิทยากรอธิบายเกี่ยวกับพันธุ์สัตว์ป่า  หรือพันธุ์ไม้ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญต่อมนุษย์ ฐานที่  2  เกมส่งเสริมความสามัคคีและเชิงอนุรักษ์เมื่อเราได้ร่วมกับเพื่อน ๆ  ทั้งสุขภาพร่างกาย และจิตใจที่ดีตามมา
ฐานที่  3  มีวิทยากรอธิบายประวัติของป่าต้นน้ำผาดำซึ่งเป็นความรู้ที่สมควรรู้เพราะเป็นป่าที่มี ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
ฐานที่  4  ถาม - ตอบ ปัญหาชิงรางวัลเกี่ยวกับป่าต้นน้ำผาดำเพื่อการคิดและการจดซ้ำ ๆ  ทำให้ สุขภาพร่างกายทางด้านสมองได้ฝึกฝน
2  กิจกรรมรอบกองไฟ           คืนแรก        -  แนะนำตัว  เพื่อให้ทุกคนในค่ายได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น -  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าในระหว่างการเดินทางมานั้นแต่ละคนได้รับอะไรบ้าง
เหนื่อยหรือสนุก  หรือได้ออกกำลังกาย           คืนที่สอง          -  แสดงความรู้สึกว่ามีความรู้สึกเช่นไรบ้างในการมาค่ายอนุรักษ์ครั้งนี้และกลับไปปฏิบัติได้อย่างไรบ้าง (แผนการดำเนินงานหลังจากนี้ของสมาชิกแต่ละคน แต่ละกลุ่ม) 3  กิจกรรมศึกษาสำรวจป่าต้นน้ำผาดำ             ดูพระอาทิตย์ขึ้นยังลานผาดำ  เมื่อได้ไปพบเห็นจะทำให้จิตใจแจ่มใส  เพราะได้เห็นสภาพ ป่าที่เขียวชอุ่ม  แสงพระอาทิตย์  และมีเมฆหมอกมีนกบินสวยงามมีสุขภาพจิตที่ดีสดชื่นแจ่มใส เดินทางไปยังสันปันน้ำหรือต้นน้ำเพื่อไปศึกษาลักษณะของสันปันน้ำว่าเป็นอย่างไรและ จะได้คิดว่านี่แหละคือแหล่งกำเนิดของน้ำที่ได้ใช้อุปโภคบริโภคเพื่อสุขภาพของเรา

กิจกรรมที่  2  :    เฝ้าระวังป่าต้นน้ำผาดำ (เดินสำรวจ)
กลุ่มเป้าหมาย      1.เยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ                         2.ประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกลุ่มเยาวชน  รวม 20  คน ระยะเวลา        เดือนละ  2  ครั้ง  รวม 24 ครั้งต่อปี ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1  ลดการตัดไม้ทำลายป่าและการบุกรุกแผ้วถางเพราะถ้าเกิดว่าป่านี้ถูกทำลายไปมากขึ้นอีกก็จะ ทำให้ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค 2  ลดปริมาณขยะเพราะว่าขยะนั้นจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอาจจะทำให้น้ำเสียได้ซึ่งเมื่อเราได้ใช้น้ำเสียในการอุปโภคและบริโภคจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและร่างกายและสุขภาพจิตใจก็เสื่อมด้วยเพราะจะทำให้เราหงุดหงิดที่ได้ใช้น้ำที่เน่าเสียไม่มีคุณภาพ 3  เกิดการเฝ้าระวังไม่ให้มีการทำลายป่าหรือสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้ที่ได้ร่วมกระทำและผู้ที่ได้รับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมเฝ้าระวัง นอกจากเราจะได้ออกกำลังกายแล้วเราก็จะสบายใจที่ได้กระทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคม งบประมาณ      รวมทั้งสิ้น  24,000  บาท
      ดังรายละเอียด                 1  ค่าอาหาร    24 ครั้ง x 1,000 บาท  (50บาทต่อคนต่อครั้ง)      =  24,000  บาท

กิจกรรมที่    3  :    การเก็บข้อมูล  และเวทีย้อนรอย กลุ่มเป้าหมาย      กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ ระยะเวลา            4  เดือน ผลที่คาดว่าจะได้รับ    ได้รู้ฐานข้อมูลที่แน่นอนของป่าต้นน้ำผาดำเพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้เผยแพร่ต่อผู้ที่เขามาร่วมทำกิจกรรมกับทางกลุ่มเยาวชนไม่ว่าเป็นชาวต่างชาติ  หรือบุคคลภายนอกก็ตามรวมถึงผู้ที่ต้องการจะรับรู้ข้อมูล งบประมาณ      รวมทั้งสิ้น  25,000  บาท ดังรายละเอียด                     1. ค่าเบี้ยเลี้ยง(ทีมเก็บข้อมูล) เหมาจ่าย(5 คน x3000 บ.)          15,000    บาท
                    2.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดพิมพ์เอกสาร                                      5,000  บาท                     3.ค่าอาหาร (เวทีย้อนรอย)                                                          5,000    บาท รายละเอียดกิจกรรม 1  รวบรวมข้อมูลสิ่งดี  ๆ  ของป่าผาดำ  เช่น
สมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย พันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ ประวัติความเป็นมาของป่าต้นน้ำผาดำ 2  เวทีย้อนรอย จัดเวทีนำเสนอข้อมูลของโครงการที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลของชุมชนผู้นำ ท้องถิ่นและภูมิปัญหาท้องถิ่น กิจกรรมที่  4      :  ดูงานและฝึกความเป็นผู้นำ กลุ่มเป้าหมาย        เยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ วิธีการ  ศึกษาดูงานของเครือข่ายป่าเทือกเขาบรรทัด พร้อมกับได้ฝึกทักษะความเป็นผู้นำผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละพื้นที่เป้าหมาย
ดูกิจกรรมการดำเนินงานพิทักษ์ป่าของเครือข่าย เยาวชนฝึกทักษะการพูด การนำเสนอ และทักษะความเป็นผู้นำ สถานที่จัดกิจกรรม 1  บ้านในเตา  อ. ห้วยยอด  จ.  ตรัง (2 คืน)             2  เทือกเขาบรรทัด  อ.นาโยง  จ. ตรัง (2 คืน)             3  บ้านเหมก  ต.  ละมอ  อ.  ละมอ  จ.  ตรัง (2 คืน) ระยะเวลา            7  วัน ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1  เยาวชนมีความเป็นผู้นำกล้าแสดงออกกล้าพูดในโอกาสต่าง  ๆ
              2  ได้ความรู้สามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน               3  สามารถนำผลที่ได้จากการไปศึกษาจากกลุ่มอื่น  ๆ  ว่ามีส่วนไหนที่สามารถนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาทางกลุ่มตนเองบ้าง  เช่น กลุ่มที่ได้มีโอกาสไปเรียนรู้มีกิจกรรมที่พัฒนาด้านสุขภาพหรือด้านสังคมที่มีคุณภาพเราก็นำมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาสุขภาพและสังคมทางกลุ่มเราได้ งบประมาณ      รวมทั้งสิ้น  26,000  บาท       ดังรายละเอียด
1.ค่าอาหาร เหมาจ่าย                        15,000  บาท                                       2.ค่าวิทยากร                                      5,000  บาท                                       3.ค่าบำรุงสถานที่(จัดเวทีพูดคุย)        6,000    บาท

ตัวชี้วัดความสำเร็จ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ     1    เกิดเครือข่ายเยาวชนรักป่าผาดำระดับอำเภอคลองหอยโข่ง     2    เกิดฐานข้อมูลองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับป่าต้นน้ำผาดำ     3    ปริมาณขยะลดลง     4    ได้องค์ความรู้ของป่าต้นน้ำผาดำ     5    ปริมาณการตัดไม้ทำลายป่าและการบุกรุกแผ้วถางลดน้อยลง     6    เยาวชนสามารถเป็นผู้นำที่ดีได้     7    เกิดสุขภาพสมบูรณ์ทั้ง  4  ด้าน  คือ           1  สุขภาวะร่างกาย           2  สุขภาวะจิตใจ           3  สุขภาวะสังคม           4  สุขภาวะจิตวิญญาณ

การประเมินผล
  1. กิจกรรมค่ายเรียนรู้ :ออกแบบสอบถามให้กับทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมการเข้าค่ายเรียนรู้เพื่อจะสรุปว่ากิจกรรมค่ายเรียนรู้มีผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด   2.กิจกรรมเฝ้าระวังป่าต้นน้ำผาดำ :ทุก 1เดือน เยาวชนและประชาคมจะประชุมเพื่อประเมินผลการตัดไม้การแผ้วถางลดน้อยลงหรือไม่ ถ้าการตัดไม้หรือการแผ้วถางลดน้อยลงก็แสดงว่ากิจกรรมที่เราทำไปก็ประสบผลสำเร็จไปแล้วขั้นหนึ่ง     3.กิจกรรมการเก็บข้อมูลและเวทีย้อนรอย
สรุปจากข้อมูลที่ได้จากสำรวจ สรุปจากเยาวชนและประชาคมว่ามีความรู้เกี่ยวกับป่าผาดำมากน้อยเพียงใด     4.ค่ายฝึกผู้นำ  : ดูจากพฤติกรรมของผู้ที่เข้าค่ายฝึกผู้นำว่ากล้าแสดงออกมากน้อยเพียงใด

กลยุทธ์ที่นำไปสู่ความต่อเนื่องยั่งยืนของโครงการ                 1  การมีสมาชิกเพิ่มขึ้นและเต็มใจที่มาร่วมเป็นอาสาสมัครเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำต่อไป                 2  มีแนวร่วมกับคนวัยอื่น  ๆ และจากหมู่บ้านอื่น  ๆ  เพิ่มมากขึ้น                 3  มีการประสานงานกับหน่วยงานในท้องถิ่นเพื่อช่วยกันสนับสนุนให้น้อง  ๆ  เยาวชนรุ่นหลังได้ทำกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าได้ต่อไป
4. กิจกรรมการดำเนินงาน 1.ค่ายผู้นำ 2.เฝ้าระวังป่าต้นน้ำผาดำ 3.จัดค่ายเพื่อการเรียนรู้ 4.เก็บข้อมูล รายละเอียดกิจกรรม กิจกรรมที่ 1    ค่ายผู้นำ         กลุ่มเป้าหมาย    =    เยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ           วิธีการ              =    ศึกษาดูงานตามสถานที่ต่างๆใน จ. พัทลุง  จ. นครศรีธรรมราช  และ จ. กระบี่  พร้อมทั้งได้ฝึกทักษะการเป็นผู้นำในหัวข้อต่างๆผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
•ฝึกด้านการพูด •ฝึกด้านบุคลิก •ฝึกการใช้สายตาในระหว่างการพูด •ฝึกการใช้มือ •ฝึกด้านการคิดวิเคราะห์ในขณะพูด •ฟังการบรรยายความรู้ความเข้าใจเรื่องการเป็นผู้นำ สถานที่จัดกิจกรรม 1.ต. ห้วยพูด จ. พัทลุง 2.อ. ทุ่งสง  จ. นครศรีธรรมราช 3.จ. กระบี่ ระยะเวลา        =    7  วัน  ( วันที่ 17 - 23  ตุลาคม  2547 ) สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ 1.เยาวชนมีความเป็นผู้นำกล้าแสดงออกกล้าพูดในโอกาสต่างๆ 2. สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.สามารถนำผลที่ได้จากการไปศึกษาจากกลุ่มอี่นๆ ว่ามีส่วนไหนที่สามารถนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาทางกลุ่มตนเองบ้าง เช่น กลุ่มที่ได้มีโอกาสกาเรียนรู้มีกิจกรรมที่พัฒนาด้านสุขภาพหรือด้านสังคมที่มีคุณภาพเราก็นำมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาสุขภาพและสังคมทางกลุ่มเราได้                           งบประมาณ    =  รวมทั้งสิ้น  26,000  บาท                           ดังรายละเอียด    1.ค่าอาหารเหมาจ่าย          15,000 บาท                                                     2.ค่าวิทยากร                        5,000 บาท                                                     3.ค่าบำรุงสถานที่                  6,000 บาท กิจกรรมภายในค่ายผู้นำ •ด้านการพูด    = เยาวชนได้รับความรู้ในเรื่องทักษะการพูด จะต้องพูดให้ดึงดูดใจผู้ฟังและพูดให้ผู้ฟังสามคิดตามและนึกภาพออกได้ พูดแบบยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจของผู้ฟัง ควรมีสติ และใจเย็นในการพูด ( ลงมือปฏิบัติรายบุคคล ) •ด้านการยืน  = ควรยืนโดยให้เท้าอยู่ในลักษณะนาฬิกาในช่วงบ่ายสองโมง ไม่ควรยืนตัวแข็งหรือเกร็ง ( ฝึกยืนประเมินรายบุคคล ) •ด้านการใช้สายตาขณะพูด  =  ไม่ควรหลบตาผู้ฟัง  ควรจะมองไปยังผู้ฟังแล้วทำความเข้าใจร่วมกันด้วยสายตา ( ฝึกการใช้สายตาประเมินรายบุคคล ) •ด้านการใช้มือ  =  มือไม่ควรทำปฏิกริยาที่ไม่เหมาะสม เช่น เกาศีรษะ และจมูก เป็นต้น ควรใช้สัญลักษณ์ในการพูด เพื่อความเข้าใจมากขึ้น ( ฝึกใช้มือประเมินรายบุคคล ) •ด้านการคิด = ควรคิดเรียบเรียงหัวข้อในการพูดเอาไว้ และเมื่อพูดไปแล้วควรคิดต่อไปว่าต่อไปเราจะพูดอะไรต่อ และพูดไปอย่างเป็นระบบ •ด้านความรู้ความเข้าใจ  = ความเป็นผู้นำไม่ใช่ว่าจะเก่งเพียงอย่างเดียว จะต้องมีคุณสมบัติตามมาคือ เป็นคนที่มีอัธยาศัยดี อดทน รู้จักวางแผน มีความคิดที่หลากหลาย มีความรับผิดชอบ กล้าที่จะทำสิ่งที่ตนไม่เคยทำและเป็นประโยชน์ต่อต

Comment #1
่ัมรี (Not Member)
Posted @28 ต.ค. 49 22:44 ip : 203...135

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว