สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

วิธีดำเนินการ

วิธีดำเนินการ

1.จัดค่ายเพื่อการเรียนรู้ 2.เฝ้าระวังป่าต้นน้ำผาดำ 3.การเก็บข้อมูล  และเวทีย้อนรอยค้นหาอดีตป่าผาดำ 4.จัดค่ายผู้นำ

รายละเอียดกิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 ค่ายเพื่อการเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมาย 1.กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ  20  คน  (แกนนำ) 2.กลุ่มเยาวชนบริเวณรอบป่าต้นน้ำผาดำ  50  คน 3.กลุ่มผู้สนใจในกิจกรรมอนุรักษ์ป่า  20  คน

ระยะเวลา 2  คืน 3 วัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.สร้างความสัมพันธ์ไนการทำงานเป็นเครือข่าย 2.ทำให้ผู้ที่มีเวลาว่างได้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมได้ ความรู้ความสนุกสนานเพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี  ดีกว่าการนำเวลาว่างเหล่านี้ไปยุ่งเกี่ยวข้องกับ อบายมุขสิ่งเสพติดต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่สุขภาพร่างกายและจิตใจที่เสื่อมโทรมได้ 3.สร้างจิตสำนึกหรือจิตใจที่ดีในการรักและหวงแหนป่า

งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 45,000  บาท ดังรายละเอียด 1. ค่าอาหาร    100 คน  x 7 มื้อ x 50  บาท  =  35,000 บาท 2. ค่าประสานงาน =  3,000 บาท 3. ค่าอุปกรณ์  =  2,000 บาท 4. ค่าวิทยากร(5x500x2) =  5,000 บาท

กิจกรรมในค่ายเรียนรู้

  1. เดินทางขึ้นบริเวณที่พัก (กิจกรรมเดินป่า)  มี 4 ฐาน ฐานที่  1  มีวิทยากรอธิบายเกี่ยวกับพันธุ์สัตว์ป่า  หรือพันธุ์ไม้ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญต่อมนุษย์ ฐานที่  2  เกมส่งเสริมความสามัคคีและเชิงอนุรักษ์เมื่อเราได้ร่วมกับเพื่อน ๆ  ทั้งสุขภาพร่างกาย และจิตใจที่ดีตามมา
    ฐานที่  3  มีวิทยากรอธิบายประวัติของป่าต้นน้ำผาดำซึ่งเป็นความรู้ที่สมควรรู้เพราะเป็นป่าที่มี ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
    ฐานที่  4  ถาม - ตอบ ปัญหาชิงรางวัลเกี่ยวกับป่าต้นน้ำผาดำเพื่อการคิดและการจดซ้ำ ๆ  ทำให้ สุขภาพร่างกายทางด้านสมองได้ฝึกฝน

  2. กิจกรรมรอบกองไฟ คืนแรก -  แนะนำตัว  เพื่อให้ทุกคนในค่ายได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น -  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าในระหว่างการเดินทางมานั้นแต่ละคนได้รับอะไรบ้าง
    เหนื่อยหรือสนุก  หรือได้ออกกำลังกาย คืนที่สอง -  แสดงความรู้สึกว่ามีความรู้สึกเช่นไรบ้างในการมาค่ายอนุรักษ์ครั้งนี้และกลับไปปฏิบัติได้อย่างไรบ้าง (แผนการดำเนินงานหลังจากนี้ของสมาชิกแต่ละคน แต่ละกลุ่ม)

  3. กิจกรรมศึกษาสำรวจป่าต้นน้ำผาดำ ดูพระอาทิตย์ขึ้นยังลานผาดำ  เมื่อได้ไปพบเห็นจะทำให้จิตใจแจ่มใส  เพราะได้เห็นสภาพ ป่าที่เขียวชอุ่ม  แสงพระอาทิตย์  และมีเมฆหมอกมีนกบินสวยงามมีสุขภาพจิตที่ดีสดชื่นแจ่มใส เดินทางไปยังสันปันน้ำหรือต้นน้ำเพื่อไปศึกษาลักษณะของสันปันน้ำว่าเป็นอย่างไรและ จะได้คิดว่านี่แหละคือแหล่งกำเนิดของน้ำที่ได้ใช้อุปโภคบริโภคเพื่อสุขภาพของเรา

กิจกรรมที่  2  :    เฝ้าระวังป่าต้นน้ำผาดำ (เดินสำรวจ)

กลุ่มเป้าหมาย 1. เยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ 2. ประชาคมรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกลุ่มเยาวชน  รวม 20  คน

ระยะเวลา เดือนละ  2  ครั้ง  รวม 24 ครั้งต่อปี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ลดการตัดไม้ทำลายป่าและการบุกรุกแผ้วถางเพราะถ้าเกิดว่าป่านี้ถูกทำลายไปมากขึ้นอีกก็จะ ทำให้ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค 2. ลดปริมาณขยะเพราะว่าขยะนั้นจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอาจจะทำให้น้ำเสียได้ซึ่งเมื่อเราได้ใช้น้ำเสียในการอุปโภคและบริโภคจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและร่างกายและสุขภาพจิตใจก็เสื่อมด้วยเพราะจะทำให้เราหงุดหงิดที่ได้ใช้น้ำที่เน่าเสียไม่มีคุณภาพ 3. เกิดการเฝ้าระวังไม่ให้มีการทำลายป่าหรือสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้ที่ได้ร่วมกระทำและผู้ที่ได้รับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมเฝ้าระวัง นอกจากเราจะได้ออกกำลังกายแล้วเราก็จะสบายใจที่ได้กระทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคม

งบประมาณ รวมทั้งสิ้น  24,000  บาท ดังรายละเอียด 1. ค่าอาหาร    24 ครั้ง x 1,000 บาท  (50บาทต่อคนต่อครั้ง) =  24,000  บาท

กิจกรรมที่ 3 : การเก็บข้อมูล  และเวทีย้อนรอย

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ

ระยะเวลา 4  เดือน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ได้รู้ฐานข้อมูลที่แน่นอนของป่าต้นน้ำผาดำเพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้เผยแพร่ต่อผู้ที่เขามาร่วมทำกิจกรรมกับทางกลุ่มเยาวชนไม่ว่าเป็นชาวต่างชาติ  หรือบุคคลภายนอกก็ตามรวมถึงผู้ที่ต้องการจะรับรู้ข้อมูล

งบประมาณ รวมทั้งสิ้น  25,000  บาท ดังรายละเอียด 1. ค่าเบี้ยเลี้ยง(ทีมเก็บข้อมูล) เหมาจ่าย(5 คน x3000 บ.) = 15,000    บาท
2.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดพิมพ์เอกสาร = 5,000  บาท 3.ค่าอาหาร (เวทีย้อนรอย) = 5,000    บาท

รายละเอียดกิจกรรม 1. รวบรวมข้อมูลสิ่งดี  ๆ  ของป่าผาดำ  เช่น
- สมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย - พันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ - ประวัติความเป็นมาของป่าต้นน้ำผาดำ 2. เวทีย้อนรอย จัดเวทีนำเสนอข้อมูลของโครงการที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลของชุมชนผู้นำท้องถิ่นและภูมิปัญหาท้องถิ่น

กิจกรรมที่ 4 : ดูงานและฝึกความเป็นผู้นำ

กลุ่มเป้าหมาย เยาวชนรักษ์ป่าต้นน้ำผาดำ

วิธีการ  ศึกษาดูงานของเครือข่ายป่าเทือกเขาบรรทัด พร้อมกับได้ฝึกทักษะความเป็นผู้นำผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละพื้นที่เป้าหมาย
- ดูกิจกรรมการดำเนินงานพิทักษ์ป่าของเครือข่าย - เยาวชนฝึกทักษะการพูด การนำเสนอ และทักษะความเป็นผู้นำ

สถานที่จัดกิจกรรม 1. บ้านในเตา  อ. ห้วยยอด  จ.  ตรัง (2 คืน) 2. เทือกเขาบรรทัด  อ.นาโยง  จ. ตรัง (2 คืน) 3. บ้านเหมก  ต.  ละมอ  อ.  ละมอ  จ.  ตรัง (2 คืน) ระยะเวลา 7  วัน

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว