สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

อบรมให้ความรู้ "เด็กที่มีความต้องการพิเศษ"

photo  , 280x210 pixel , 32,084 bytes.

"เด็กที่มีความต้องการพิเศษ"  เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และมีความแตกต่างในแต่ละคน

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ  คือ  เด็กที่มีพัฒนาการช้าในด้านใดด้านหนึ่ง
หรือหลายด้าน  ของพัฒนาการทางด้าน
-   ร่างกาย  (เช่น  กล้ามเนื้อใหญ่-กล้ามเนื้อเล็ก  ฯลฯ)
-   ประสาทสัมผัส  (เช่น  การเห็น  และการได้ยิน)
-   การสื่อสาร  (เช่น  การรับรู้  และการแสดงออก)
-   สติปัญญา
-   สังคม-อารมณ์
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ  อาจจะมีเงื่อนไขความพิเศษตั้งแต่เกิด  เช่น  เด็กสมองพิการสไบนาบิฟิดา  หรือภาวะน้ำในสมอง  (ไฮโดรเซฟฟาลัส)  ดาวน์ซินโดรม

ความผิดปกติหรือความบกพร่อง  อาจจะไม่แสดงออก  หรือแสดงให้เห็นเด่นชัดในภายหลัง ครอบครัวที่มีเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  ต้องการการมีส่วนร่วมในการ    แก้ไขปัญหาเป็นอย่างมากจากครอบครัว  พวกเขาต้องเผชิญกับความผิดหวัง  และต้องประสบกับการปรับเปลี่ยนแบบวันต่อวัน โปรแกรมการเรียนร่วม การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  ครูจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนงาน  การจัดสิ่งแวดล้อม  การปรับวัสดุ-อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน เพื่อให้เด็กสามารถเข้าถึงได้ง่าย ความต้องการพิเศษในการเรียนรู้  (Special Learning Need)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น • เด็กจะเรียนรู้สิ่งแวดล้อมจากการสัมผัสและจากเสียง  ดังนั้นการจัดวางวัสดุ-อุปกรณ์จะต้องจัดวางตำแหน่งเดิมเป็นประจำทุกวัน • อย่าเพิ่มวัสดุ-อุปกรณ์ต่าง ๆ ในทันที ให้จัดเพิ่มทีละน้อย ผู้ใหญ่ก็ต้องคอยแนะนำแก่เด็กว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม • ป้ายต่าง ๆ  สำหรับอุปกรณ์  อาจทำเป็นป้ายอักษรนูน  ทำจากวัสดุ-อุปกรณ์ที่มีพื้นผิวสัมผัสได้ง่าย เช่น กระดาษทราย หรือสักหลาด โครงร่างที่ทำจากเชือกติดบนกระดาษ (Paper Outline) เพื่อที่จะให้เด็กสัมผัสได้ • พื้นจะต้องเรียบและสะอาด  เพื่อให้เด็ก ๆ  เดินได้อย่างสบายโดยไม่มีอันตรายหรือมีผู้คนพลุกพล่าน • การจัดมุมดนตรีหรือมุมธรรมชาติ  (ทราย น้ำ) ต้องจัดให้เด็กที่มีความ  บกพร่องทางการมองเห็นด้วย

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน • ครูต้องพยายามทำให้เสียงภายในห้องเบาที่สุดเท่าที่จะทำได้  พรม  ผ้าม่าน  เหล่านี้จะสามารถทำให้เสียงในห้องเงียบลง • กิจกรรมควรเป็นกลุ่มเล็ก ๆ  ซึ่งมีความสำคัญต่อเด็กมาก  เพราะจะทำให้เด็กได้มีโอกาสอ่านริมฝีปาก  หรือการใช้ภาษามือ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย • ครูจะต้องมีการสังเกตเด็กก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยน หรือจัดทำอุปกรณ์เครื่องช่วยแก่เด็ก • การจัดทำอุปกรณ์-เครื่องช่วยต่าง ๆ ต้องให้เด็กสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับระดับได้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ที่เด็กสามารถนั่งหรือยืน โดยสามารถเขียนหนังสือ หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ถนัด • เด็กบางคนอาจต้องใช้รถเข็น  ครูต้องจัดให้เด็กสามารถใช้รถเข็นได้อย่างมั่นใจและเป็นอิสระ  เด็กสามารถเข้าไปเล่นหรือทำกิจกรรมได้อย่างอิสระ เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา • ครูต้องสังเกตความสามารถของเด็กแต่ละคน และต้องช่วยจัดหาอุปกรณ์ที่จะช่วยพัฒนาความสามารถของแต่ละคน • ครูต้องให้เวลากับเด็กในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่เข้าใจช้า  และต้องทำอะไรซ้ำ ๆ  ครูจะต้องให้เวลามากกว่ากลุ่มอื่น ๆ  เพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้สภาพแวดล้อม • จัดหาของเล่นง่าย ๆ  ซึ่งเหมาะกับความสามารถของเด็ก  จะช่วยให้เด็กรู้สึกประสบความสำเร็จ  และจะช่วยให้เด็กมีสมาธิมากยิ่งขึ้น • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมต้องเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป  ซึ่งครูจะต้องแนะนำให้เด็ก ๆ  ได้เรียนรู้และคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมใหม่

ขั้นตอนการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษาพิเศษ


ค้นหาหรือคัดแยก


วินิจฉัย


กำหนดจุดเริ่มต้น  และทำแผนการศึกษารายบุคคล


การวางแผนการสอน


การตรวจสอบความก้าวหน้า


1. การค้นหาหรือคัดแยก (Screening  and  Identification) จุดมุ่งหมายเพื่อช่วยในการค้นหาเด็กที่ควรได้รับการช่วยเหลือพิเศษเสียแต่เนิ่น ๆ

    2.  การวินิจฉัย (Diagnosis)
    เป็นการตรวจสอบข้อสงสัยว่าเป็นจริงหรือไม่  มีปัญหาอะไร  ทำไม  เพื่อกำหนดว่าใครควรได้รับการช่วยเหลืออย่างไร  จากใคร  และต้องการผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านใด  หรือไม่
    การวินิจฉัย  จะทำให้ทราบว่า  ปัญหานั้นรุนแรงหรือไม่  สาเหตุคืออะไร  และต้องการความช่วยเหลือพิเศษอะไร  อย่างไร  นั่นก็คือ  บริการที่เหมาะสมที่สุดคืออะไร

    3.  การกำหนดจุดเริ่มต้น และทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Placement and IEP Development)
    เป็นการทดสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจว่าจะเอาเด็กเข้าโปรแกรมไหน  และอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุดสำหรับเด็ก  ข้อมูลนี้จะทำให้ทราบว่าเด็ก มีความสามารถอยู่ที่ระดับไหน  และจะต้องพัฒนาไปในทิศทางใด

    4.  การวางแผนการสอน (Instructional Program Planning)
    เมื่อทราบจุดยืนของเด็ก  และทิศทางแล้วก็จัดโปรแกรมเพื่อช่วยเหลือเด็ก  เช่น  วางแผนการสอน  และการให้บริการต่าง ๆ  จากจุดที่เด็กทำได้แล้วไปสู่ทิศทางที่ก้าวหน้าขึ้นตามวัตถุประสงค์

    5.  การตรวจสอบความก้าวหน้า (Progress   Checking)
    หลังจากการจัดโปรแกรม  และดำเนินงานตามที่วางแผนแล้ว  ก็ต้องมีการวัดผลเพื่อให้เด็กรู้จักว่าตนเองมีความก้าวหน้าแค่ไหน  อย่างไร  และทำให้ครูทราบว่าโปรแกรมที่วางแผนนั้นเหมาะสมหรือไม่  หากเด็กไม่มีความก้าวหน้า  ก็ต้องมีการทบทวนใหม่  เพื่อหาจุด      บกพร่อง


เรื่องที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการศึกษารายบุคคล  (IEP) ในประเทศสหรัฐอเมริกา  มีกฎหมาย  PL 94-142  ระบุไว้ว่า  หลังจากที่เด็กผ่านการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กพิการแล้วภายใน  30  วัน  เด็กจะต้องได้รับบริการการศึกษาพิเศษ  ซึ่งจะต้องจัดทำโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคลให้กับเด็กคนนั้น  ดังนั้นทีมงานตั้งแต่ผู้บริหารโรงเรียนที่รับเด็ก  ผู้ปกครอง  ซึ่งอาจเป็นพ่อแม่  หรือผู้ดูแลเด็กตามกฎหมาย  และครูก็จะมาพบกันเพื่อวางแผนดังกล่าว  ในประเทศไทยการดำเนินงานดังกล่าวขึ้นอยู่กับโรงเรียนและยังไม่มีกฎหมายบังคับ  จะทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลหรือไม่ขึ้นกับความสามารถของครูเป็นสำคัญ

    ความสามารถของครูและการทำ&nbsp; IEP<img src="upload/pics/dsc_8170.jpg" align=left width=200 height=301 border=0 class="photo" alt="" />
    ศรียา&nbsp; นิยมธรรม&nbsp; กล่าวว่า&nbsp; ทั้งสองเรื่องนี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง&nbsp; โดยปกติเท่าที่ปฎิบัติกันมาครูประจำชั้นก็ไม่ถูกคาดหวังให้ประเมินกิจกรรมเองยกเว้น&nbsp; ในเรื่อง&nbsp;  ตรวจสอบความสามารถเด็กจากโปรแกรมการสอน&nbsp; แต่ในกฎหมายใหม่ระบุให้ครูประจำชั้นเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการวัดและประเมินผลเด็ก&nbsp; ซึ่งมักทำในรูปของสหวิทยากร&nbsp; ดังนั้นครูจึงมีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิของเด็ก&nbsp; การกำหนดโปรแกรมการช่วยเหลือการสอน&nbsp; ตลอดจนการประเมินผลเป็นระยะ ๆ

    ส่วนประกอบของโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
    โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคลนั้น&nbsp; ตามกฎหมาย&nbsp; PL 94-142 ตอนที่ 121 a. 346 ได้กล่าวไว้ว่า จะต้องประกอบด้วยเรื่องต่อไปนี้คือ
    1.  ข้อความที่บอกถึงระดับความสามารถทางการศึกษาของเด็กในขณะนั้น
    2.  ข้อความที่บอกถึงจุดมุ่งหมายประจำปี รวมถึงจุดมุ่งหมายในการสอนระยะสั้น
    3.  ข้อความที่บอกถึงบริการทางการศึกษาพิเศษ รวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับการช่วยให้เด็กสามารถเล่าเรียนในโปรแกรมการศึกษาปกติได้
    4.  วัน เวลา และสถานที่ของการเริ่มให้บริการและระยะเวลาที่คาดว่าเด็กจะได้รับบริการ
    5.  เกณฑ์และกระบวนการที่เหมาะสมในการตรวจสอบประเมินผลที่เหมาะสม ตลอดจนในตารางเวลาที่จะดำเนินการไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว

    ครูประจำชั้นจะต้องเป็นหลักในการร่วมทีมทำงานเพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ&nbsp; ตลอดจนกระบวนการวัดและประเมินผล&nbsp; ผู้ที่จะมาร่วมทำ&nbsp; IEP นั้นจะต้องเป็นผู้ผ่านการฝึกฝนมากแล้ว&nbsp;  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการ&nbsp;  การแปลความของผลการประเมินครูการศึกษาพิเศษ จะต้องภูมิหลังในการทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงจำเป็นที่ครูประจำชั้นซึ่งทำหน้าที่นี้จะต้องได้รับการฝึกอบรมให้เข้าใจตรงกันด้วย

    เรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของการวัดและประเมินผล
    สิ่งที่ครูควรตระหนักและคำนึงเสมอก็คือ&nbsp; การมีบทบาทสำคัญในการรวบรวม ข้อมูลของเด็ก&nbsp; ตลอดจนการตรวจวัดประเมินผลทุกขั้นตอน&nbsp; ไม่มีใครจะรู้จักข้อมูลเท่ากับครู&nbsp; ครูจะต้องรู้ว่าจะใช้กระบวนการใด&nbsp; ในการรวบรวมข้อมูล&nbsp; และมีเรื่องใดที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของครู&nbsp; ครูและผู้บริหารโรงเรียนหลายคนที่ต้องเผชิญปัญหายุ่งยากอันเนื่องมาจากคุณภาพของกระบวนการวัด&nbsp; และประเมินผล<br />



บุศรินทร์  เจริญวัฒนดุลย์





เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ.  สู่…การเรียนร่วม.  กรุงเทพมหานคร  :  สำนักพิมพ์เบญจพล,  พิมพ์
ครั้งที่  1, 2543. โรงพยาบาลราชานุกูล.  คู่มือการฝึกอบรมทักษะการเป็นพ่อแม่เด็กปัญญาอ่อน.  กรุงเทพ- มหานคร :  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539. ศรียา  นิยมธรรม.  การวัดและประเมินผลทางการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ P.A. ART & PRINTING CO., LTD., 2542.

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว