อบรมให้ความรู้" หลักการจัดการสอนในเด็กกลุ่มพิเศษประเภทต่างๆ"
หลักการจัดการเรียนการสอน ในเด็กกลุ่มพิเศษประเภทต่าง ๆ
ความหมาย
1. ทางการแพทย์ มักเรียกว่าเด็กพิการ หมายถึงผู้ที่มีความผิดปกติ หรือผู้ที่มีความบกพร่อง ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ เนื้อเยื่อหรือระบบประสาท ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้ได้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเขา ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ดีเท่ากับคนปกติ 2. ทางการศึกษา หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทั้งทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
การแบ่งประเภทของเด็กพิเศษ
กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2537) เรื่องกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์คนพิการไว้ดังนี้
ข้อ 1 ประเภทของคนพิการมีดังต่อไปนี้
(1) คนพิการทางการมองเห็น
(2) คนพิการทางการได้ยิน หรือการสื่อความหมาย
(3) คนพิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว
(4) คนพิการทางจิตใจ หรือพฤติกรรม
(5) คนพิการทางสติปัญญา หรือการเรียนรู้
ประเภทของผู้พิการเพื่อการศึกษา จำแนกเป็น 9 ประเภท คือ 1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น 2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 3. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 4. เด็กที่มีความบกพร่องทางกายหรือสุขภาพหรือทางการเคลื่อนไหวซึ่ง ต้องรักษาพยาบาลเป็นเวลานาน 5. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ 6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 7. เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ทางอารมณ์ หรือสมาธิสั้น 8. เด็กออทิสติก 9. เด็กที่มีความพิการซ้อน
เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มี
ความสามารถต่างกันในชั้นเรียนเดียวกัน
1. การสอนโดยการร่วมมือกัน (Co-operative Learning)
2. การสอนโดยเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Tutoring)
3. การสอนเด็กต่างระดับในชั้นเรียนเดียวกัน (Multi Level Teaching)
3.1 ทฤษฎีของบลูม (Bloom)
3.2 ทฤษฎีองค์ประกอบทางสติปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
4. การวิเคราะห์งาน (Task Analysis)
การสอนโดยการร่วมมือกัน (Co-operative Learning) ความหมาย "เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เกิดจากการผสมผสานทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม และทักษะในด้านเนื้อหาวิชาการ" สาระสำคัญ สมาชิกทุกคนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในเชิงบวก นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มย่อย เช่น ซักถาม ตอบปัญหา ฯลฯ สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคม การทำงานร่วมกัน การสร้างความสัมพันธ์ ทักษะในการสรุป รู้จักกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม การสอนโดยเพื่อนช่วยเพื่อน PEER TUTORING ความหมาย การสอนโดยเพื่อนช่วยสอน (Peer Tutoring) หมายถึง วิธีการสอนที่เพื่อนนักเรียนช่วยสอนให้เพื่อนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ แบบตัวต่อตัว หรือ 1 : 1 โดยเพื่อนผู้ช่วยสอนอาจเป็นนักเรียนชั้นสูงกว่าหรือนักเรียนชั้นเดียวกัน อายุเท่ากัน แต่มีความสามารถสูงกว่ามาช่วยสอน
ประโยชน์ที่ครูจะได้รับ 1. ครูได้คนช่วยสอนมากขึ้น 2. ครูได้ภาษาที่เหมาะสม 3. ครูได้มีตัวอย่างที่อยู่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด ประโยชน์ที่ผู้ช่วยสอนจะได้รับ 1. เด็กจะได้เรียน 2 ครั้ง 2. เด็กจะได้เรียนด้วยตนเองเป็น 2 เท่า 3. เด็กจะได้ฝึกฝนทักษะและเก่งขึ้น 4. เด็กมีโอกาสได้ศึกษาและเรียนรู้มากขึ้นในเนื้อหาที่ ตัวเองสอนเพื่อน 5. เด็กจะมีนิสัยเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจโอบอ้อมอารี
การสอนเด็กต่างระดับในชั้นเรียนเดียวกัน
MULTI LEVEL TEACHING
การสอนเด็กต่างระดับในห้องเรียนเดียวกัน หรือการสอนเรื่องเดียวกันให้แก่เด็กที่มีความสามาถต่างกันนี้ตามหลักปฏิบัติของผู้สอน ได้นำทฤษฎีการเรียนและความสามารถที่แตกต่างของแต่ละบุคคลของบลูม และของการ์ดเนอร์ มาประยุกต์ใช้โดยสร้างบทเรียนเดียวกันให้เหมาะสมกับเด็กหลายระดับ เนื่องจากเด็กแต่ละคนมิได้มีความสามารถเหมือนกันและเท่ากัน ครูผู้สอนจึงจะต้องจัดกิจกรรมให้หลากหลายและให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในแต่ละหน่วย มีโอกาสใช้ความสามารถต่าง ๆ ของตนอย่างเต็มที่
ทฤษฎีของบลูม
ได้แบ่งความสามารถในการเรียนรู้ของคนใน 6 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 ขั้นมีความรู้พื้นฐาน (Knowledge)
ระดับที่ 2 ขั้นความเข้าใจ (Comprehension)
ระดับที่ 3 ขั้นนำไปใช้ (Apphication)
ระดับที่ 4 ขั้นวิเคราะห์ความรู้ (Analysis)
ระดับที่ 5 ขั้นสังเคราะห์ (Synthesis)
ระดับที่ 6 ขั้นประเมินผล (Evaluation)
ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
ความสามารถทางสติปัญญา 8 ด้าน คือ
1. ดนตรี : การแยกแยะเสียงดนตรี ร้องเพลง แต่งเพลง ทำนอง และจังหวะ
2. การเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ : แสดงออกถึงสภาพอารมณ์ต่าง ๆ
3. การใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ : คิดเป็นเหตุเป็นผลมีระบบ ตั้ง
สมมติฐาน ทดลองวิเคราะห์หาคำตอบ และสรุปผลได้
4. ภาษา : เรียนรู้ได้ดีจากการใช้ภาษา สื่อสาร
5. มิติสัมพันธ์ : ออกแบบสร้างผังความคิดในสมองได้ดี
6. การเข้ากับผู้อื่น : รับรู้ความตั้งใจ และความปรารถนาของผู้อื่นได้ดี
7. การเข้าใจตนเอง : เข้าใจตนเองในแง่มุมต่าง ๆ และกระตุ้นให้ตนเอง
ทำงานและเรียนรู้ได้ในแนวทางที่เหมาะสม (เรียนรู้รายบุคคล)
8. การเข้าใจธรรมชาติ : รู้เข้าใจในความเป็นไปของธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์
การวิเคราะห์งาน (TASK ANALYSIS)
ความหมาย
การวิเคราะห์งาน เป็นวิธีการสอนที่เหมาะกับเด็กพิเศษอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งครูวางแผนการสอนอย่างดี มีเป้าหมาย และแบ่งกิจกรรมหรืองานใดงานหนึ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ จากขั้นตอนแรกไปจนขั้นสุดท้าย และสอนไปตามลำดับขั้นทีละขั้นจนเด็กทำได้สำเร็จ
ประโยชน์ (นักเรียน)
1. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
2. มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
3. บรรยากาศในการเรียนดี
4. ผู้ที่เรียนอ่อนมีความมั่นใจในตัวเอง
5. ผู้เรียนรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
6. ผู้เรียนยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
7. ผู้เรียนรู้จักการปรับตัว
ประโยชน์ (ครู)
1. ทำให้ครูตัดสินใจว่า จะสอนอะไรต่อจากเนื้อหาที่สอนไปแล้ว
2. ทำให้ครูรู้ว่า เด็กมีปัญหาตรงไหน ทำขั้นตอนใดไม่สำเร็จ
3. ทำให้ครูแยกขั้นตอนย่อยที่จำเป็น เพื่อช่วยให้เด็กทำงานแต่ละชิ้นจน
สำเร็จ
4. ทำให้ครูรู้ว่าต้องปรับปรุงและเปลี่ยนอะไรบ้าง ที่จะช่วยให้เด็กทำงานได้
สำเร็จ
5. ทำให้ครูหาวิธีอื่น เพื่อให้ทำงานได้สำเร็จ
ข้อควรคำนึงในการสอนเด็กพิเศษเรียนร่วมเด็กปกติ
1. สร้างบรรยากาศของการสนับสนุนซึ่งกันและกัน
2. ใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือในการเรียนรู้
3. สอนเรื่องเดียวกันแก่เด็กที่มีความสามารถต่างกัน
4. ใช้ผู้ช่วยสอนมาช่วยสอนในห้องเรียน
5. สร้างทีมสนับสนุนโรงเรียน
การช่วยเหลือเด็กพิเศษในชั้นเรียนปกติ
1. ให้การช่วยเหลือเป็นรายบุคคล
2. การได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
3. อาจต้องมีผู้ช่วยคอยให้การช่วยเหลือเด็ก
4. การสอนเสริมจะช่วยให้เด็กพัฒนาได้เร็วขึ้น
การช่วยเหลือเด็กบกพร่องทางสติปัญญาในชั้นเรียนปกติ
1. สอนเป็นลำดับขั้นตอนอย่างละเอียด
2. ให้ทำซ้ำ ๆ ฝึกหัดบ่อย ๆ
3. ให้เด็กออกเสียงในสิ่งที่เรียน
4. ต้องมีแรงจูงใจในด้านเนื้อหา กิจกรรม
5. ต้องประเมินพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง
6. พยายามให้ข้อมูลป้อนกลับทันทีหลังเด็กทำกิจกรรม
การช่วยเหลือเด็กบกพร่องทางการได้ยินในชั้นเรียนปกติ
1. จัดที่นั่งให้เด็กสามารถรับฟังเสียงชัดเจน
2. พยายามลดการรบกวนด้วยเสียง
3. พยายามพูดให้เป็นปกติและเป็นธรรมชาติ
4. ครูต้องอยู่ในตำแหน่งที่เด็กเห็นหน้าและท่าทางของครูได้
5. พยายามจัดกิจกรรมให้เด็กได้พูดบ่อย ๆ
6. มีการทดสอบความเข้าใจเป็นรายบุคคล
7. ให้กำลังใจในการตอบคำถาม
8. ใช้สื่ออุปกรณ์ให้มาก
9. ครูต้องเขียน สรุปบทเรียน ในกระดานดำ
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพในชั้นเรียนปกติ 1. ศึกษาประวัติเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการศึกษา 2. เด็กต้องได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 3. ถ้าเด็กต้องอยู่บ้านนาน ควรจัดครูเดินสอนหรือสอนที่บ้าน 4. ควรมีการติดต่อกับผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ 5. เมื่อเด็กเข้าเรียนครูต้องเข้าใจและยอมรับตลอด จนชี้แจงให้เพื่อนร่วม ชั้นเข้าใจ 6. ต้องมีการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญ 7. การจัดสภาพห้องเรียนควรเป็นที่ว่างให้เด็กได้ทำกิจกรรม 8. จัดอุปกรณ์ในการเรียนให้เหมาะสมกับสภาพความพิการของเด็ก
การช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษาใน
ชั้นเรียนปกติ
1. การจัดกิจกรรมที่เด็กมีความสุขและพอใจจะพูด
2. ควรมีการเสริมแรงทันทีเมื่อเด็กพูดได้เหมาะสมหรือถูกต้อง
3. เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดมากที่สุด
4. ครูต้องชี้แจงให้เพื่อน ๆ ยอมรับความแตกต่างในการพูดของเด็ก
การช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในชั้นเรียนปกติ
1. พยายามปรึกษาหารือและขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
2. ชี้แจงกฎระเบียบของโรงเรียนหรือชั้นเรียนให้เด็กทราบ
3. ต้องแสดงพฤติกรรมคงที่กับเด็ก
4. ตั้งความคาดหวังให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก
5. ศึกษาสภาพแวดล้อมของเด็กที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเพื่อวางแผนช่วยเหลือ
6. จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียน
การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ
1. พยายามให้เด็กทำงานที่สอดคล้องกับความสามารถของเขา
2. ใช้คำสั่ง คำชี้แจง ในบทเรียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
3. ถ้าเด็กอยู่ไม่นิ่ง อาจแยกออกจากเพื่อนบางเวลา
4. ครูต้องยอมรับ เข้าใจ เด็ก
สิ่งที่ครูต้องปรับ
1. หลักสูตร
2. วิธีสอน
3. วิธีสอบ
4. วิธีตัดเกรด
5. ทักษะทางสังคม
6. ทักษะการดำรงชีวิต
เทคนิคการสอน 3 R Routine Repeat Relaxation
หลักการสอนเด็กพิเศษ
1. ถือหลัก I.Q. อย่างเดียวไม่ได้เป็นอันขาด หรือยึดติดกับสภาพความ
พิการ
2. ยอมรับสภาพของเด็กพิเศษทั้งทางบวก และทางลบ อย่ามองแต่ความพิการของเด็กเท่านั้น
3. เด็กพิการคือครูของเรา เราต้องเรียนรู้จากเขาเหล่านั้น
4. จุดประสงค์ของการฝึก คือเด็กจะพัฒนาการก้าวหน้าขึ้น การฝึกถือความพร้อมของเด็กเป็นสำคัญ ฝึกตามขั้นตอนและเป็นไปอย่างเป็นระบบ
5. ควรเริ่มฝึกเด็กพิเศษเมื่ออายุยังน้อย
6. การสอนควรเปิดโอกาสให้เด็กสำรวจและทำอะไรด้วยตัวเองมากที่สุด เพื่อเด็กจะได้พึ่งตัวเองอย่าปกป้องเด็กไปเสียทุกอย่าง 7. ครูต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกว่าปลอดภัย มีที่พึ่งแต่ไม่ควรตามใจอย่างไร้เหตุผล 8. ควรเริ่มจากการปรับพฤติกรรม การสอนตัวต่อตัว แล้วจึงเริ่มเข้ากลุ่มทีละน้อยเมื่อเด็กมีความพร้อม 9. ทักษะที่จะสอนเด็กต้องสอดคล้องกับพื้นฐานความพร้อม ความสามารถของเด็กแต่ละคน
10. ช่วงการสอนควรเป็นช่วงสั้น ๆ แต่สม่ำเสมอเป็นเวลา
11. การสอนเด็ก ไม่ควรทำให้เด็กวุ่นวาย สับสนหรืออารมณ์ไม่ดี โดยที่ครูมีความหวังสูงเกินความสามารถเด็ก
12. ของเล่นอาจเป็นสิ่งเร้าเกินไป ควรใช้ทีละอย่าง
13. การออกคำสั่งควรเป็นคำสั่งที่สั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่ยึดยาว และให้เวลาก่อนที่สั่งซ้ำ การออกคำสั่งมากเกินไปทำให้เด็กสับสน
14. สอนให้สม่ำเสมอ (Routine)
15. เลือกหรือสร้างสถานการณ์ที่สร้างความพอใจให้กับเด็กเพื่อให้เด็กเรียนรู้
16. การใช้คู่มือครู Cook Book ต้องทำความเข้าใจก่อนการใช้
17. ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่าการสอนเด็กบกพร่องทางสติปัญญาจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ครูรู้สึกว่าเด็กไม่พัฒนาเลยลักษณะเช่นนี้เป็นไปตามธรรมชาติ และมีเครื่องบ่งบอกว่าเด็กไม่พัฒนาเลยลักษณะเช่นนี้เป็นไปตามธรรมชาติและมีเครื่องบ่งบอกว่าเด็กจะเริ่มเรียนรู้อีกชั้นหนึ่ง
18. การสอนต้องมีระบบในการประเมินผลทางด้านการพัฒนาการของเด็ก ความเหมาะสมของทักษะที่จะสอนเด็ก และวิธีการที่ครูใช้สอนเด็ก 19. Team Work การทำงานเป็นทีมระหว่างบุคลากรในหน่วยงานระหว่างโครงการ และผู้ปกครองบุคลากรมีความรับผิดชอบมาก
20. ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก มีแบบอย่างพฤติกรรมที่ดีในทุกเรื่อง
21. เริ่มการสอน และจบการสอนโดยมีสิ่งจูงใจ ให้สนุกสนาน น่าสนใจ หยุดการสอนก่อนที่เด็กจะเริ่มเบื่อ
22. สร้างสถานการณ์ให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียน และให้กำลังใจ
23. ใช้หลักการวิเคราะห์งาน (Task Analysis)
คำถามที่เราควรถามตัวเราเอง
1. สิ่งที่เด็กเรียนรู้ตรงกับสิ่งที่ครูตั้งใจจะให้เรียนหรือไม่ ถ้าไม่ ตรงทำไม
2. ทักษะที่สอนยากเกินไปหรือไม่ หรือเป็นเพราะเหตุทางกาย
3. เด็กเรียนรู้ทักษะอื่นแทนทักษะที่เราสอนหรือไม่
4. เด็กสนุกสนานในการเรียนรู้หรือไม่
5. พัฒนาการของเด็กเป็นที่ยอมรับหรือไม่
6. การสอนประสบผลสำเร็จหรือไม่
7. ภาษาที่ใช้สอนเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
8. ครูมีส่วนช่วยให้เด็กนักเรียนเข้าใจได้มากน้อยเพียงไร
9. แผนการสอนดีแค่ไหน
10. การเตรียมตัวของครูเป็นอย่างไรพร้อมหรือไม่
11. วิธีการสอนเหมาะสมหรือไม่
12. สอนมากเกินไปหรือไม่ ครูให้ระยะเวลาเด็กทานพอหรือ ไม่ก่อนที่จะมีการตอบสนอง
13. การฝึกฝนเพียงพอหรือไม่ ข้อมูลป้อนกลับ (Feed Back) ดีไหม
14. แรงเสริมถูกต้องหรือไม่
จำเป็น สังข์มุสิกานนท์
โปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา