สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

Topic List

โดย kai on 10 มี.ค. 51 23:18

ซอยแคบลดเลี้ยวซับซ้อนก่อนถึงบ้านเลขที่ 145 หมู่ 2 บ้านน้ำกระจาย ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา

ถึงจะหายากสักหน่อยแต่บ้านหลังนี้ไม่เคยว่างเว้นเดินทางเข้าออกของผู้คน ที่มาพร้อมไม้ค้ำยันรักแร้ ญาติมิตรหิ้วปีกพยุง กระทั่งหาม กันมาเพื่อรักษาอาการกระดูกหักกับหมอภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่รู้จักด้วยการแนะนำกันปากต่อปาก มากว่าสามทศวรรษ

"รักษากระดูกหักทุกอย่างแต่อกหักรักษาไม่ได้"

โดย kai on 20 ก.พ. 51 21:47

บ้านท่ามกลางสวนเขียวครึ้มและร่มรื่น เลขที่ 77 หมู่ 4 ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รับรักษาโรคพิษสุนัขบ้าแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สืบทอดโดยนายพ่วง พรหมเพชรหมาพันธุ์เล็กขนปุกปุยเห่าต้อนรับแขกผู้มาเยือนปู่พ่วงวัย 86 ปี ลงจากศาลาข้างบ้านมาต้อนรับเชิญชวนนั่งในบ้าน จากการติดต่อทางโทรศัพท์ล่วงหน้าทำให้แกรู้ว่าเราไม่ใช่ผู้ป่วยรายล่าสุด ยิ่งทุกวันนี้คนถูกหมากัดตรงไปโรงพยาบาลมากกว่า"ยาหมานี่ไม่มีการเปลี่ยนยาจะต้มกี่หม้อ ใช้ตัวยาเดิมหมด สมุนไพร 8 อย่าง ประกอบด้วย รักหมา หรือรักขาว ,ไม้ค้อนตีหมา, คันหามเสือ ,ตาเสือ ,มือเสือ ,จิ้งจ้อต้น ,จิ้งจ้อย่านและหัวลิงทะเล"ปู่พ่วงเริ่มบทสนทนาโดยการบอกสูตรยารักษาพิษสุนัขบ้าอย่างไม่ปิดบังอำพราง พร้อมเดินไปหยิบยาตากแห้งบรรจุปี๊บเทลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์

โดย kai on 7 ก.พ. 51 12:05

ใต้ร่มไทรใหญ่ลานวัดไทรงาม อำเภอเมืองสงขลา เคยเป็นที่รองรับผู้ป่วยเอดส์แปลกหน้าเหตุการณ์ร้อนเจ้าอาวาสต้องดูแลเบื้องต้น งานช่วยเหลือเร่งด่วนลำดับถัดมาตกเป็นหน้าที่ของนางสมจิต ฟุ้งทศธรรมผู้มีบทบาทช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์คนสำคัญแห่งเทศบาลนครสงขลา เธอทำงานเรื่องนี้มาตั้งแต่คนทั่วไปยังไม่เชื่อว่าเอดส์มีจริง จนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มขับเคลื่อนต่อสู้เอดส์นาม "กลุ่มไทรงาม"ถัดจากใต้ร่มไทรไม่กี่ก้าวเป็นที่ทำการอยู่ที่ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดสงขลา และศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนไทรงาม นอกจากภาระเอดส์ที่ทำมาต่อเนื่องยาวนาน ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับ หลักประกัน สิทธิ รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ โดยสมจิตรมานั่งประจำที่นี่ทุกวันพุธเธอเป็นคนพื้นเพอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก"แฟนพี่เป็นคนสงขลา ตอน

โดย kai on 14 ธ.ค. 50 00:00

จาย พ้นภัย เบ่งกล้ามแขนโชว์ความฟิต แทบไม่น่าเชื่อว่า นี่คือเฒ่าวัย 71 ปี ผู้ใช้เวลากว่าครึ่งชีวิต เดินทำมุมฉากกับพื้นดินสู่ปลายตาลโตนดวันละไม่ต่ำกว่า 120 เที่ยวหลายคนมานั่งคุยกับเราบนแคร่ ในโรงเคี่ยวน้ำผึ้งโหนด บ้านเลขที่ 8 หมู่ 6 บ้านคลองหนัง ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาแดง คงสงฆ์ เพื่อนร่วมอาชีพขึ้นตาลประพันธ์ ทองบริบูรณ์ ผู้ใหญ่บ้านคลองหนังประภาส ขำมาก หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลคลองรี<br />ต่างยกให้ "ลุงจาย" เป็นพระเอกของเรื่องนี้ ด้วยอาชีพขึ้นตาลโตนด แกสามารถส่งลูกเรียนจบได้ทั้ง 6 คน ล้วนแล้วแต่ทำงานดี มีหน้ามีตาในสังคมทั้งนั้น&nbsp; ลุงจายจึงได้รับการยกย่องเป็นคนดีศรีลูกโหนด ของอำเภอสทิงพระเมื่อปี พ.ศ.2546<br />ทุกวันนี้ ลูก

โดย kai on 15 พ.ย. 50 19:28

"กินผักมากอาจเสี่ยงมะเร็ง" คำพูดนี้อาจจะฝืนความจริงอยู่ แต่ถ้ามองความจริงอีกด้านว่าหากผักที่กินเข้าไปปนเปื้อนด้วยสารพิษที่ทุกวันนี้แทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ย่อมเป็นเรื่องน่าคิดทีเดียวมารุต ลอยผา ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ(HA)โรงพยาบาลหาดใหญ่ เล่าว่าปัญหาสารพิษในอาหาร เพราะชาวบ้านไม่มีตัวเลือก หันไปทางไหนก็เจอแต่สารเคมี"ขนาดคนปลูกไม่กล้ากิน แต่ต้องจำใจ ถ้าไม่กินก็ไม่รู้จะกินอะไร"โรงพยาบาลหาดใหญ่ตระหนักตรงนี้ จึงทำโครงการผักปลอดพิษคนปลอดภัยโครงการนี้เริ่มมา 2 ปีแล้ว แต่ไม่มีตัวขับเคลื่อนชัดเจน จนกระทั่งมารุตได้เข้ามารับผิดชอบ มีความชัดเจนมากขึ้นโดยเชื่อมกับ ศูนย์คุณธรรมจังหวัดสงขลาและ เครือข่ายเกษตรวิถีธรรม วิถีไท สู่อาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพชุมชน ที่นำโดย อาจารย

โดย kai on 8 พ.ย. 50 17:55

ชั่วโมงแรกรายวิชาก้าวย่างอย่างเข้าใจ ประจำภาคการศึกษาที่ 2 /2550 ของนักเรียน ม.3 โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ อาจารย์รัชนีกูล ชนะวรรณโณ ผู้สอนแจ้งนักเรียนว่าครูกำลังสร้างหนังเพศศึกษา "ทุกอย่างพร้อมหมดแล้ว รอเพียงลงมือถ่ายทำ " อาจารย์รัชนีกูลหรือ "ครูอ๊อด" ย้ำเด็ก ขณะรอเก็บผลงานประจำคาบในวันนั้น ตั้งโจทย์ให้เขียนถึงสิ่งที่ได้จากการเรียนวิชาก้าวย่างอย่างมั่นใจมาตั้งแต่เทอมก่อน เมื่อหยิบขึ้นมาอ่านดูแผ่นหนึ่งพบข้อความสำคัญเช่นรับรู้ว่าเอดส์ป้องกันอย่างไร มีอาการอย่างไรการใช้ถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ป้องกันเอดส์ได้รู้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์กับใครต้องรู้ว่ามีโรครู้เปล่ารู้ว่าการมีเพศสัมพันธ์และตั้งครรภ์ พ่อแม่ควรจะรู้ ไม่ควรเก็บไว้ เครียดอยู่คนเดียวทำไมวัยรุ่นอยากรู

โดย kai on 4 พ.ย. 50 20:52

"ฝนพะ" ปลายตุลาคมปีนี้ท้องทุ่งนาหลายแห่งในภาคใต้ยังรกร้างอยู่ใต้ละอองฝน สภาพอันดำเนินมาเกินทศวรรษแล้ว พร้อมความเปลี่ยนแปลงปริบททางสังคมหลายเหตุปัจจัยฤดูนี้เองที่ชาวหมู่ 7 บ้านโมยตก ตำบลนาหมอศรี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ร่วมกันพลิกนาร้างกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ท้องทุ่งนาเคยเงียบเหงากลับมาคึกคัก เสียงรถไถนาดังแว่ว ท้องทุ่งเคยรกด้วยต้นกกหญ้าสูงมานาน ถูกพลิกดินเตรียมปักดำ บางบิ้งดำข้าวกล้าเสร็จแล้ว กลิ่นดินโคลนอันคุ้นเคยลอยมาตามลมพร้อมเสียงเขียดร้องนางรอบีอ๊ะ ไกรสุวรรณ เป็นผู้นำชาวบ้านโมยตกฟื้นวิถีทำนากลับมาอีกครั้งเธอเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาหากความคิดกลับไม่ธรรมดา วันนี้ชาวบ้านสนับสนุนแนวคิดของเธอร่วม "พลิกนาร้างเป็นนาดี" ทำให้การทำงา

โดย kai on 26 ต.ค. 50 22:16

ลานหน้าเสาธง โรงเรียนบ้านสุเหร่า ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ยามสายที่แดดกลับมาสดใสอีกครั้งหลังถูกปิดด้วยม่านฝนติดต่อมาหลายวันปี่ชวากรีดเสียงนำ ตามด้วยกลอง ฆ้อง เสียงดนตรีแห่งซีละเหมือนปลุกวิญญาณท้องถิ่นกลับมา ชาวบ้านค่อยโผล่มาห้อมล้อมยืนชื่นชมดูลูกหลานร่ายรำซีละ ท่วงท่าสวยงาม ทรงพลัง ตามแบบศิลปะการต่อสู้ของชาวมลายูชุมชนแห่งนี้เคยเป็นดินแดนตำนานซีละ หากศิลปวัฒนธรรมแขนงนี้เกือบจะเลือนหายหากทุกฝ่ายไม่มาร่วมมือฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง โดยการนำของ อาจารย์เอกจิตรา จันทร์จิตจริงใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสุเหร่า ตามโครงการซีละเพื่อสุขภาพอาจารย์เอกจิตราใช้ความพยายามหลายปีเพื่อนำเสนอเรื่องนี้ จนชุมชนสุเหร่า 4 หมู่บ้าน ให้การขานรับ สังคมภายนอกสนใจ หลังจากเด็กๆ ที่ฝึกซีละได้ไปแสดงในงานตลาดนัดคน

โดย Momo on 11 ต.ค. 50 12:43

5-6 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา ผู้คนทั่วสงขลาเดินทางมาร่วมงาน ตลาดนัดสร้างสุข คนสงขลา 50 จัดขึ้น ณ โรงแรมราชมังคลา พาวีเลี่ยน บีชรีสอร์ท ต่อเนื่องถึงลานวัฒนธรรม ถนนชลาทัศน์

โดย kai on 7 ต.ค. 50 21:34

"เพียงผีเสื้อขยับปีก ย่อมสั่นสะเทือนไปถึงดวงดาว"นงลักษณ์ ศรีชยาภิวัฒน์ หรือ "ครูเจี๊ยบ" แห่งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบางดาน นำประโยคดังกล่าวมาพูดระหว่างเป็นวิทยากรในการสัมมนาโครงการส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปากเด็กปฐมวัย "ฟันลูกดี เริ่มที่บ้าน ร่วมสานฝันที่ศูนย์เด็ก" ของฝ่ายทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสงขลา จัดที่โรงแรมกรีนเวิร์ลพาเลซ 4 -7 กันยายน 2550ที่ผ่านมาตลอด13 ปีในการเป็นครูตัวเล็กๆ ครูเจี๊ยบได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นผีเสื้อที่คอยขยับปีกอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แม้ปัญหาเด็กในโลกปัจจุบันจะยิ่งใหญ่ ซับซ้อนเกินกว่าใครคนหนึ่งจะขับเคลื่อนเพียงลำพังอย่างน้อยการบูรณาการโครงการสานสัมพันธ์ดูแลสุขภาพช่องปากลูก และโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อพฤติกรรมบริโภคในเด็กของ