แผนสุขภาพประเด็นบทบาท อสม.กับการสร้างเสริมสุขภาพ
แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา ประเด็น 3. อสม.กับการเสริมสร้างสุขภาพภาคประชาชน
เสนอโดย
นายผล โสธะโร นักวิชาการสาธารณสุข 8 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
นายวัชรินทร์ จันทรพงศ์ นายกสมาคม อสม.จังหวัดสงขลา
นางวรรณา สังข์เวช กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
นายกวี จงวิไลเกษม กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา<br />
นายสุทัศน์ วรรโณ สาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่
นายณรงค์ ด้วงปาน สาธารณสุขอำเภอนาทวี
นายสมศักดิ์ สุคนธรัตน์ กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
นายสัน เหล็มแหล๊ะ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา
นายรัฐพล ประพรหม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกม่วง
นายสุลัยมาน ริตโต กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
นายธีรยุทธ สะอิดี กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
นางกัลยา มณีรัตน์ กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
นายนิมิตร แสงเกตุ นักวิชาการสาธารณสุข 7 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
นายชวน แก้วเกลี้ยง นักวิชาการสาธารณสุข 7 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา<br />
1.แนวคิดของแผน : อสม. กับการเสริมสร้างสุขภาพ
ใช้ปรัชญาเมืองไทยแข็งแรงกับการขับเคลื่อนโดยกระบวนการภาคประชาชน
ระบบสุขภาพภาคประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของระบบการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นวัฒนธรรมการดูแลความสมบูรณ์ทางสุขภาพกาย และจิตใจ ตนเอง สมาชิกในครอบครัว สมาชิกในชุมชน และสังคม ด้านการจัดระบบการจัดการของชุมชน ในสิ่งที่ชุมชนมีอยู่ให้เกื้อกูลกัน เกิดประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพอันได้แก่ ความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน ( อสม. อบต. ผู้นำกลุ่มต่าง ๆ และประชาชน ) ศูนย์ปฏิบัติการให้บริการเบื้องต้น องค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพในชุมชน และทุนเพื่อการพัฒนาสุขภาพ โดยการส่งเสริมผลักดันให้องค์กรอาสาสมัคร และแกนนำร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถและทักษะ ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงการจัดการบริหารส่งเสริมสุขภาพด้านต่าง ๆ ตลอดจน สร้างกระแสผลักดันปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนในชุมชน ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบ การดูแลสุขภาพพื้นฐานได้โดยตนเอง ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาสุขภาพของคนไทย
การมีสุขภาพดี เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมวลมนุษย์ชาติตามปฏิญาณสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่สหประชาชาติได้กำหนดไว้ ประกอบกับสุขภาพเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ผู้อื่นจะหยิบยื่นหรือทำแทนไม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องรับผิดชอบดูแลสุขภาพตนเอง ไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย และไม่ทำอะไรที่เป็นอันตราย่อสุขภาพตนเองและผู้อื่น พร้อมทั้งขวนขวายหาความรู้และแนวทางที่เหมาะสม เพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างยืนยาวเป็นสุข
ดังนั้นระบบสุขภาพภาคประชาชน จึงเป็นระบบสุขภาพทุกมิติในลักษณะองค์รวม ซึ่งรวมถึงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบอาหาร ระบบยา ระบบเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วิถีชุมชน และวัฒนธรรม สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสุขภาพภาคประชนขึ้น
- ทิศทางยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะ
โดยใช้ปรัชญาเมืองไทยแข็งแรงกับการขับเคลื่อนโดยกระบวนการภาคประชาชน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมศักยภาพชุมชนให้มีหมู่บ้านการจัดการสุขภาพ
2.เพื่อส่งเสริมให้มีภาคีเครือข่าย และพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ในการพัฒนาระบบสุขภาพภาคประชาชน จังหวัดสงขลา
3.เพื่อจัดการข้อมูลด้านสุขภาพภาคประชาชน จังหวัดสงขลา
4.เพื่อจัดการ องค์ความรู้ การบริหารนวัตกรรม ในการพัฒนาระบบสุขภาพภาคประชาชน จังหวัดสงขลา
เป้าหมาย
พัฒนาตำบลให้เป็นตำบลต้นแบบในการเสริมสร้างสุขภาพภาคประชาชน อำเภอละ 1 ตำบล
ยุทธศาสตร์การสร้างสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างกำลังใจ
การเสริมสร้างพลังใจคือ การสร้างความเข้มแข็งทางใจ ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นของการวางรากฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เพราะพลังทางใจเช่น จิตสำนึก ศรัทธา ความเชื่อมั่นในตนเองความรู้สึกมีศักดิ์ศรี เหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันให้บุคคลแสดงบทบาท หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตลอดจนมีความมุ่งมั่นในการแสดงบทบาทนั้น ๆ ให้สำเร็จอย่างต่อเนื่อง
การสร้างพลังใจ จะมุ่งเน้นเป็นอันดับแรกที่บุคคลและแกนนำชุมชนต่าง ๆ เพื่อเตรียมบุคลากรเหล่านั้น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างหรือปรับบทบาทใหม่ของบุคลากรหรือแกนนำ
การส่งเสริมสุขภาพเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องแสดงบทบาทในการปรับปรุงพฤติกรรมด้วยตนเอง และบุคลากร ( เจ้าหน้าที่ ) รวมทั้งแกนนำชุมชน ( เช่น อสม. ฯลฯ ) คือกุญแจสำคัญที่สามารถใช้เป็นสื่อในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนได้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างหรือปรับบทบาทของคนในสังคม
การสร้างหรือปรับบทบาทของคนในสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลสามารถแสดงบทบาทในการสร้างสุขภาพด้วยตนเอง สามารถรักษาสภาวะแวดล้อม รวมทั้งเต็มใจในการให้ความร่วมมือ ในการดำเนินมาตรการทางสังคมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างหรือปรับระบบสนับสนุนที่ดี
การที่คนในสังคมจะสามรถแดงบทบาทใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จำเป็นต้องปรับบริบทต่าง ๆ เพื่อการสนับสนุนที่ดี เหมาะสมกับสถานการณ์ และทันเวลา ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมระบบสนับสนุนให้พร้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีภายในและระหว่างองค์กร
การสร้างสุขภาพในชุมชนต้องอาศัย แรงสนับสนุน และบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ทั้งภายในองค์กรเองและระหว่างองค์กร เพื่อความร่วมมือเป็นแรงสนับสนุน ตลอดจนแบ่งเบาภารกิจ ความรับผิดชอบ เมื่อสัมพันธภาพเป็นไปด้วยดี ก็จะเกิดกำลังใจที่ได้ร่วมกันทำสิ่งที่มีประโยชน์
3.โครงสร้างการทำงาน
ที่ปรึกษา
1. นายแพทย์วิเชียร แก่นพลอย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา
2. นายแพทย์สรรพงษ์ ฤทธิรักษา นายแพทย์ด้านเวชกรรมป้องกัน
3. นางอรพินท์ เค้าสงวนศิลป์ นักวิชาการสาธารณสุข 9 ด้านส่งเสริมพัฒนา
คณะทำงาน
1.นายผล โสธะโร นักวิชาการสาธารณสุข 8 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
2.นายวัชรินทร์ จันทรพงศ์ นายกสมาคม อสม.จังหวัดสงขลา
3.นางวรรณา สังข์เวช กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
4.นายกวี จงวิไลเกษม กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
5.นายสุทัศน์ วรรโณ สาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่
6.นายณรงค์ ด้วงปาน สาธารณสุขอำเภอนาทวี
7.นายสมศักดิ์ สุคนธรัตน์ กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
8.นายสัน เหล็มแหล๊ะ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา
9.นายรัฐพล ประพรหม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกม่วง
10.นายสุลัยมาน ริตโต กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
11.นายธีรยุทธ สะอิดี กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
12.นางกัลยา มณีรัตน์ กรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
13.นายนิมิตร แสงเกตุ นักวิชาการสาธารณสุข 7 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
14.นายชวน แก้วเกลี้ยง นักวิชาการสาธารณสุข 7 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
4.แผนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อน
1.พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข
1.1 โครงการพัฒนาศักยภาพกรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
- การบริหารจัดการเบื้องต้น
- ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้คณะกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการบริหารจัดการสมาคม อสม. เบื้องต้น ผู้รับผิดชอบ สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล
แหล่งทุน สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพ ( Cup )
1.2 โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำระดับตำบล ในการจัดทำแผนงานโครงการ
วัตถุประสงค์ เพื่อให้แกนนำ อสม. ระดับตำบล สามารถจัดทำแผนงานโครงการได้
ผู้รับผิดชอบ สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล
แหล่งทุน สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพ ( Cup )
1.3 โครงการจัดตั้งโรงเรียนอาสาสมัครสาธารณสุข
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ อสม. ในจังหวัดสงขลาได้มีความรู้เพิ่มเติมในด้านสุขภาพ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง
ผู้รับผิดชอบ สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
แหล่งทุน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
2.โครงการพัฒนาการสร้างสุขภาพในตำบลต้นแบบ
2.1 โครงการพัฒนาการสร้างสุขภาพในตำบลต้นแบบอำเภอละ 1 ตำบล
โดยใช้กรอบยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรง และ 14 องค์ประกอบหลัก ในงานสาธารณสุขมูลฐาน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้มีพื้นที่ต้นแบบในการจัดการสุขภาพภาคประชาชน
- เพื่อพัฒนาให้เป็นโรงเรียน อสม.
ผู้รับผิดชอบ สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล
แหล่งทุน สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพ ( Cup )
3.โครงการสร้างขวัญและกำลังใจ
3.1 โครงการคัดเลือก อสม. และแกนนำสุขภาพภาคประชาชนดีเด่นทุกระดับ
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ อสม. และแกนนำสุขภาพภาคประชาชนดีเด่น
ผู้รับผิดชอบ สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล
แหล่งทุน สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพ ( Cup )
3.2 โครงการตลาดนัดสุขภาพและเวทีแห่งเกียรติยศคนทำงานด้านสุขภาพจังหวัดสงขลา
วัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอสิ่งดี ๆ ในการสร้างสุขภาพ และเชิดชูเกียรติคนทำงานดีเด่นด้านสุขภาพจังหวัดสงขลา ผู้รับผิดชอบ สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล
แหล่งทุน สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพ ( Cup )