สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

สมัชชาแผนสุขภาพตำบล (1)

การประชุมความร่วมมือสร้างสุขสงขลา

วันที่ 22 พฤษภาคม 51 เวลา 10.00-14.00 น. ณ สำนักงาน สปสช สาขาเขตพื้นที่สงขลา

ผู้เข้าร่วม

  1. นายนิมิตร แสงเกตุ - สสจ.
  2. นายสัมพันธ์ จิรันดร - วจส.
  3. นางยุรี แก้วชูชิต - สกว.
  4. นายบรรเจต นะแส - ประชาคม
  5. นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน - สปสช.
  6. นายชาคริต โภชะเรือง - สวรส.ภาคใต้
  7. นายสนธยา สุวรรณมาลา - สวรส.ภาคใต้
  8. น.ส.ปรัษฐา อ่อนบรรจง - สวรส.ภาคใต้
  9. นายเชภาดร จันทร์หอม - สวรส.ภาคใต้

เริ่มประชุมเวลา 10.30 น.

คุณนิมิตร แสงเกตุ ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุม ที่ต้องการประสานความร่วมมือองค์กร หน่วยงานที่มีการทำงานสร้างสุขภาพระดับตำบล เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกัน

ผู้เข้าร่วมนำเสนอสถานการณ์การดำเนินงานในพื้นที่ โดยสรุปดังนี้

  1. พอช.  มีการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่งานของ พอช และจะมีการดำเนินการทำแผนชุมชนอีก 20 พื้นที่
  2. ธกส. ทำโครงการแก้ปัญหาหนี้สินระดับภาค ทำแผนจากครัวเรือนมาถึงหมู่บ้าน
  3. พมจ. มีแนวทางจัดทำสวัสดิการตำบล-จังหวัด โดยในจังหวัดสงขลาหน่วยงาน พมจ /ศปส 56 /สสว 12 รับผิดชอบ
    • มีการออกพรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม มีการจัดสรรงบประมาณ 6 ล้านบาท โดยมียุทธศาสตร์ คือสนับสนุนสวัสดิการให้เป็นเรื่องของทุกคน
    • ให้ช่วยค้นหาหน่วยองค์กรชุมชนที่สนใจเรื่องสวัสดิการ
    • เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง งบประมาณ 4 ล้านบาท  โดยพื้นที่แจ้งความต้องการการจัดทำสวัสดิการในพื้นที่  และจะมีการกระบวนการหนุนเสริมทำความเข้าใจ เรียนรู้เรื่องสวัสดิการ  และมีความพยายามให้ท้องถิ่นร่วมสมทบงบประมาณ
    • ข้อจำกัดของ พมจ ขาดบุคลกรในระดับพื้นที่ พมจ. มีการสร้างเครือข่าย  และ สสว. ก็มีการสร้างเครือข่ายคุณธรรม ทั้งนี้มีปัญหาเรื่องโครงสร้างการทำงานที่ขาดการบูรณาการร่วมกัน
  4. เครือข่ายสร้างสุขภาพจังหวัดสงขลา สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ โดยการสนับสนุนของ สสส. จัดทำแผนสุขภาพตำบล กระบวนการทำแผนเน้นความสำคัญเรื่องของการได้มาซึ่งแผน การจัดตั้งคณะทำงาน และผลักดันให้เกิดกองทุนสุขภาพระดับตำบล  ปัญหาที่พบในพื้นที่คือ ชุมชนติดกรอบความเข้าใจเรื่องมิติสุขภาวะที่ยังมีความเข้าใจในมิติสาธารณสุขเดิม

การดำเนินงาน ปี 50 ดำเนินการใน 14 พื้นที่ และ ปี 51 จะดำเนินการเพิ่ม 6-10 พื้นที่ จังหวะก้าวการทำงานจะมีการดำเนินการในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 3 ปี โดย ปี 1 จัดทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2-3 นำแผนสู่การปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ โดยมีการทำงานในลักษณะหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่าง เครือข่ายกับคณะทำงานระดับตำบล

3.โครงการความร่วมมือฯ (สกว./สสส./ธกส./พม./อปท.) เรียนรู้จากการทำแผนชุมชน(ประชาวิจัย) และมีการทำงานในลักษณะความร่วมมือ ดำเนินงานในพื้นที่มีการใช้เครื่องมือบัญชีรับจ่ายครัวเรือน นำมาสู่การทำแผนชุมชนระดับตำบล

  • มีคณะกรรมการทำงานระดับจังหวัด
  • พื้นที่ปฏิบัติการ
  • มีทีมหนุนช่วย

สามารถดำเนินการทำ MOU ได้ 32 พื้นที่ แต่พื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ของแผนมี 11 ตำบล

ปัญหาในการดำเนินงาน คือ - การขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่รับผิดชอบ - บัญชีครัวเรือนทำแล้วหยุดไม่ต่อเนื่อง - บทเรียนการทำงาน เห็นความต่างของบริบทแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีกระบวนการหนุนเสริมตามความต้องการของแต่ละพื้นที่เช่น การให้ไปดูงานในพื้นที่ - นโยบายของภาครัฐที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น นโยบายอยู่ดีมีสุข

การขับเคลื่อนต่อไป ทีมงานได้สรุปเป้าหมาย 5 ตัวชี้วัดของโครงการความร่วมมือฯ การทำงานของ สกว. ต่อจากนี้ก็จะดูจาก 5 ตัวชี้วัดของแต่ละพื้นที่

4.สสจ. ดำเนินงานผ่านสมาคม อสม. และ สสจ. ตำบลสร้างสุข 32 พื้นที่ และอาหารปลอดภัย 16 พื้นที่ อยากเชิญชวนคนในพื้นทีได้เห็นสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ อสม เป็นแกนชวนภาคี โดยหาพื้นที่ที่มี อบต.เก่ง ภาคประชาชน และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยที่ทำงานได้

ผลที่เกิด ได้เครื่องมือนำไปสู่การค้นพบตัวเอง (แผนสุขภาพตำบล ) มีลักษณะการทำงานเป็นหุ้นส่วน  อบต. /สอ./สสอ.

จากการดำเนินปี 50 ใน16 พื้นที่ มี 10 พื้นที่เข้าในข้อบัญญัติ มีตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน เช่น ตัวเลขสถิติในด้านสุขภาพที่ดีขึ้น

ปี 51 ผลักดันให้ทาง สสจ. รับประกาศเป็นนโยบายของจังหวัด  นำแนวทางไปขยายผลโดยมีพื้นที่นำร่อง 32 พื้นที่ สนับสนุนชุมชนให้ได้แผน โดยมีงบ อสม./อบต. ใช้ในการปฏิบัติการ และเน้นยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยเป็นหลัก ส่วนหนึ่งมีแนวทางบูรณาการร่วมกับงบ งบส่งเสริมสุขภาพของ สปสช.  37.50 ต่อรายหัวประชากร ของจังหวัดสงขลา งบประมาณ 31 ล้านบาท

5.สปสช. กองทุนสุขภาพระดับตำบล การดำเนินงานในปี 2550 มี 7 พื้นที่ และปี 2551 มี 29 พื้นที่เข้าร่วม สนับสนุนงบประมาณกองทุนสุขภาพ โดยคิดจากงบส่งเสริมสุขภาพตามหัวประชากร  37.50  X จำนวนประชากร และงบประมาณสมทบจาก อปท.ตามขนาดของอปท. โดยมีคณะกรรมการกองทุนบริหารจัดการ  โดยมีนายกอบตเป็นประธาน และ หัวหน้าสถานีอนามัยในพื้นที่ เป็นเลขานุการ

แผนงานสนับสนุนครอบคลุมสุขภาวะ  แต่ข้อจำกัดคืออิงกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในพื้นที่ยังคิดว่าเป็นเงินของสาธารณสุขมากกว่าเงินของชุมชน ทำอย่างไรจะให้ชุมชนสามารถจะเขียนแผนขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพ

บทเรียนการทำงาน พบว่าควรมีการเพิ่มในส่วนของกระบวนการสร้างความมีส่วนร่วม เช่น ประชุม อสม. สภาตำบล และควรเตรียมความพร้อมของชุมชนในการใช้กองทุนสุขภาพ และสร้างเงื่อนไขในการจัดการ

ทั้งนี้พื้นที่ต้นแบบ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากกองทุนสุขภาพจากการดำเนินงานในปี 2550 เช่น ต.ท่าข้าม
และมีบทเรียนตัวอย่างของพัทลุง ที่แต่ละอบต.มาลงหุ้นงบประมาณเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกลาง และการพยายามขับเคลื่อนร่วมกันเป็นพวง

เงื่อนไขการใช้งบประมาณ

  • จากการประชุมประชาคมหมู่บ้าน แต่ก็มีข้อจำกัดด้านกรอบคิด
  • อปท. ซึ่งดูแลกองทุน  อาจมีวาระการเมืองในพื้นที่  ทำอย่างไรจะได้คณะกรรมการที่มีมิติครอบคลุม
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งมีข้อมูลสุขภาพในท้องถิ่น  ทำอย่างไรให้คณะกรรมการหรือชุมชนทราบ และตระหนักเพื่อใช้เป็นงบตัวนี้ให้เต็มศักยภาพ

ทั้งนี้ในเดือนพฤษภาคมจะมีเปิดรับสมัครรอบสองในการเข้าร่วมกองทุนสุขภาพ

หลังจากนั้นที่ประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยนถึงกระบวนการทำงานร่วมกัน มีสาระสำคัญดังนี้

  • เป้าหมายการทำแผน ต้องการการขับเคลื่อนงานสุขภาพในพื้นที่มากกว่าการทำแผนฯเพื่อให้ได้มาซึ่งแผน และภาคีปรับแผนของตนมาทำงานร่วมกัน
  • กลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงการจัดการสุขภาพในพื้นที่ ควรมีการไปเรียนรู้จากพื้นที่รูปธรรม ความเข้าใจเรื่องระบบสุขภาพ และกระบวนการทำแผน เราต้องเห็นจังหวะก้าวการเดินงานของหน่วยงาน  เช่น องค์กรปกครองท้องถิ่นที่ขณะนี้กำลังร่างแผนพัฒนา 3 ปี ควรใช้ให้เป็นโอกาสในการทำงาน
  • การทำแผนไปสู่การปฏิบัติ ควรสร้างรูปธรรมความสำเร็จเล็กๆจุดประกายความเชื่อมั่นให้ชุมชน มี กลไกการประสานงานชัดเจน มีเจ้าภาพในแต่ละแผนงาน/กิจกรรมที่ชัดเจน ควรพัฒนาตัวชี้วัดร่วมกัน ระดับจังหวัด ระดับตำบล มีการสื่อสารสาธารณะ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • จัดการความรู้ จากการศึกษาบริบทพื้นที่  ถึงเรื่องความพร้อมต่อประเด็น เป้าหมาย ภาคีในพื้นที่ ใคร สัมพันธภาพ แกนนำ การเคลื่อนงานต่อประเด็นในพื้นที่ วิเคราะห์ร่วมกัน ร่วมกำหนด  แผนปฏิบัติการ กระบวนการเรียนรู้ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ร่องรอยที่ทิ้งไว้
  • ข้อสังเกต  ขนาดของการเคลื่อนของแต่ละหน่วยงานที่ต่างกัน กระบวนการเฝ้าระวัง แต่ละพื้นที่กระบวนการเตรียมพื้นที่ ?
  • จังหวะก้าวต่อไป ประสานกลไกการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด มีการประชุมหารืออย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายร่วมกัน หนุนเสริมการทำงานร่วมกัน

การประชุมครั้งต่อไป

วันที่ 18 มิถุนายน 51 เวลา 10.00 น. ณ สปสช.สาขาเขตพื้นที่สงขลา โดยมีแผนงานกองทุนระดับตำบลของ สปสช.เป็นเจ้าภาพและเป็นประเด็นหลักในการหารือการทำงานร่วมกัน ระหว่างการประชุมควรมีการเล่าบทเรียนพื้นที่ตัวอย่างทั้งในเชิงความสำเร็จและไม่สำเร็จ และ เห็นปฏิทินการเคลื่อนงานของแต่ละหน่วยงาน

ทั้งนี้การประชุมควรเพิ่มเติมผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นนักวิชาการ โดยที่ประชุมเสนอ รศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้า

ปิดประชุมเวลา 14.00 น.

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว