สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

1468 items|« First « Prev 8 9 (10/147) 11 12 Next » Last »|
Submitted by Little Bear on 24 มี.ค. 55 01:28

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Musรฉe du Louvre) แห่งกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นพิพิธภัณฑ์หนึ่งที่ใหญ่และสะสมของมีค่าไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สิ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดก็น่าจะเป็นภาพโมนาลิซา และรูปปั้นวีนัส แต่สำหรับผมผู้ไม่ค่อยมีศิลปะในหัวใจ ผมกลับตื่นตาตื่นใจกับมัมมี่แห่งอิยิปต์ ที่มีจัดแสดงอยู่เพียงร่างเดียว เพราะมัมมี่เกือบทั้งหมดของอียิปต์ไปอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่กรุงลอนดอน เจ้าอาณานิคมที่ขนวัตถุมีค่าเกือบจะทุกอย่างกลับประเทศ อันนี้ก็อย่าไปว่าเขาเลย เพราะไทยเราเองก็พอได้ปกครองเวียงจันทน์ก็อัญเชิญพระแก้วมรกตของเขามาไว้ที่กรุงเทพมหานครเหมือนกันการทำมัมมี่มี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นการ embalm ศพ โดยต้องเอาเครื่องในรวมทั้งแม้แต่สมองและลูกตาออกมาเก็บไว้ในไห เหลือไว้แต่หัวใจเพราะเป็น

Submitted by Little Bear on 24 มี.ค. 55 01:26

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจวัตถุทรงแปลกประหลาดที่ตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะแห่งนี้มีกระจายทั่วไปในเมืองแอนเวิร์ป และเมืองอื่นๆก็น่าจะมีเหมือนกันเกือบทั้งยุโรป มาใหม่ๆก็งงว่า ทำไมเอามาตั้งให้เป็นทัศนะอุจาดริมถนน หรือจะรณรงค์สวมหมวกกันน็อคก็คงไม่ใช่ เพราะที่นี่รถมอเตอร์ไซด์มีน้อยมากๆ จะมีก็ใช้สำหรับร้านพิซซ่าเท่านั้นสำหรับส่งด่วนถึงบ้านครับ แล้วพอจะเดาได้ไหมครับว่า ถังสองใบนี้ไว้ทำอะไร ภาษาก็อ่านไม่ออกเพราะเป็นภาษาดัตช์เฉลยดีกว่า ถังทั้งสองใบนี้คือถังสำหรับการ recycle ขวดครับ ที่นี่เขาแยกขวดหรือแก้วออกเป็น 2 ประเภท คือ แก้วหรือขวดใสก็ใส่ถังขาว ส่วนขวดสีเช่นขวดเบียร์ขวดซีอิ้วบ้านเราก็ใส่ถังเขียว คนที่นี่ก็จะรวบรวมไว้ก่อนที่บ้าน พอมากพอก็ค่อยหิ้วมาทิ้งในถังนี้ หากกินเบียร์มากก็มาทิ้งบ่อยหน่อย แต่ผม

Submitted by Little Bear on 24 มี.ค. 55 01:25

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจหิมะตกแล้วที่แอนเวิร์ป หมอไทยสองคนตื่นเต้นกับหิมะครั้งแรกในรอบปี ออกกันมาถ่ายรูปกันใหญ่ สร้างรอยยิ้มให้กับฝรั่งที่เดินผ่านไปมา เหมือนตลกว่า แค่หิมะจะตื่นเต้นอะไรกันขนาดนี้ นี่เป็นหิมะแรกแห่งสองปีครับ เพราะทราบมาว่าปีที่แล้วหิมะไม่ตกเลย หรือตกมาแค่เกร็ดน้ำแข็งที่พอถึงพื้นดินก็ละลายหนึ่งปีในยุโรปมี 4 ฤดู เขามีวิธีการแบ่งฤดูที่ชัดเจน ฤดูละ 3 เดือนเท่าๆกัน โดยเริ่มที่วันที่ 21 ฤดูหนาวเริ่มมาตั้งแต่ 21 ธันวาคม และจะไปสิ้นสุดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปี แล้วก็เป็นฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน แล้วก็ฤดูใบไม้ร่วง ปีนี้คลื่นความหนาวเย็นก็ถือว่ามาช้า คือมาในช่วงที่เป็นปลายฤดูหนาวแล้ว ในช่วงเดือนมกราคมนั้น อุณหภูมิรวมๆก็ประมาณต่ำสิบ แต่ไม่ต่ำกว่า 3-5 องศา แต่ในสัปดาห์นี้คลื่นความเย็น

Submitted by Little Bear on 24 มี.ค. 55 01:24

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจอยู่เมืองไทยไม่ค่อยได้สนใจกับธงของนานาชาติ จนวันหนึ่งเมื่อผมได้ไปดูงานเรื่องการจัดบริการทางสังคมที่เสริมพลังกับบริการด้านการแพทย์ที่เมืองไครเบเก้ (kruibeke) ในประเทศเบลเยียม และทางเทศบาลเจ้าของสถานที่ได้จัดสถานที่ประดับด้วยธงประจำชาติของนักศึกษาทุกคน สร้างความประทับใจและรอยยิ้ม ต่างถ่ายรูปจับไม้จับมือราวกับเป็นการประชุมซัมมิทนานาชาติประมาณนั้น และถามไถ่เรียนรู้กันว่า นี่ธงประเทศอะไร เราสังเกตได้เลยว่า หากเป็นธงหลากสี อันนั้นธงจากประเทศในทวีปอัฟริกา ผมก็เพิ่งจะสังเกตและเริ่มรู้สึกว่า โธงไตรรงค์ของประเทศไทยนั้นไม่ธรรมดาโประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ธงไตรรงค์แทนธงช้างเผือกพื้นสีแดงในสมัยรัชกาลที่ 6 ตั้งแต่ปี 2460 เป็นต้นมา ธงชาติไทยมี 3 สีคือ แดง ขาว น้ำเงิน พอได้นึก

Submitted by Little Bear on 24 มี.ค. 55 01:22

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจภาพรถไฟสีเหลืองแดงคันเก่าตู้เดียวที่เห็นนี้เป็นรถไฟที่ดำเนินการฟื้นฟูกิจการขึ้นมาโดยชุมชนแห่งเมือง Spontin เมืองเล็กๆในชนบทของจังหวัด Namur ทางรถไฟนี้ได้ถูกสร้างในปี 1890-1907 แต่เมื่อการรถไฟของเบลเยียมพัฒนารางมาตรฐานยุโรปและมีระบบไฟฟ้าแรงสูง 3,000 โวลท์เพื่อปล่อยพลังงานให้กับรถไฟ เส้นทางใหม่ก็ถูกสร้างขึ้น การขนส่งผู้โดยสารปิดไปในปี 1962 เหลือแต่การขนส่งแร่และหยุดสนิทในปี 1983 รถไฟกลายเป็นตำนานแห่งอดีตที่ผู้คนยังจดจำ10 ปีต่อมา ในปี 1992 ชุมชนที่นี่ เขาเลยรวมตัวกัน หาทุนและลงแรงอาสาเข้ามากอบกู้กิจการการรถไฟ เปลี่ยนรางรถไฟและไม้หมอนที่เก่าไปทีละท่อน บำรุงรักษาทาง สะพาน อุโมงค์ รวมทั้งจัดหาหัวรถจักรเก่ามาซ่อมแซม และปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟ จนสามารถเปิดให้บริการกับนักท

Submitted by Little Bear on 24 มี.ค. 55 01:20

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจชีวิตนักเรียน ป.โทที่นี่ เน้นเรียนแบบแลกเปลี่ยนครับ ห้องเรียนก็จัดโต๊ะแบบเด็กอนุบาลบ้านเรา คือแบบที่เห็นในภาพ แต่ละคนต้องอ่านเพื่อมาแลกเปลี่ยน มีโจทย์ให้ แลกกันให้ได้ข้อเสนอหรือข้อสรุป แล้วนำเสนอให้กลุ่มใหญ่ฟัง แต่อาจารย์กลัวเราไม่ฟังสาระของกลุ่มอื่น ก็เลยออกแบบให้สอบเก็บคะแนนด้วยการเขียนวิจารณ์สาระที่กลุ่มอื่นเสนอมาว่ายังมีจุดอ่อนตรงไหนบ้าง แบบนี้ได้ผลครับ ตั้งใจฟังกันใหญ่ เป็นการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม ไม่ค่อยมีการป้อนความรู้แบบไทยๆตอนเป็นนักเรียนที่เมืองไทยนั้น เราเรียนด้วยการป้อน คุณครูปรุงสุกป้อนถึงปาก ขอให้กินให้ทันก็แล้วกัน ป้อนตลอดตั้งแต่ต้นคาบเรียนจนเสียงกระดิ่งดัง ประมาณปิ้งแผ่นใสหรือ แพลม powerpoint ไม่เคยมีคำถาม ไม่เคยถามความเห็น อาจเพราะสอนจนไม่มีเวลาที่จะ

Submitted by Little Bear on 24 มี.ค. 55 01:19

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจประเทศในโลกตะวันตกใช้พลังงานมหาศาล เบลเยียมก็เช่นกัน พลังงานไฟฟ้า 58% มาจากโรงฟ้านิวเคลียร์ที่มีอยู่ 2 แห่ง พลังงานที่เหลือใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล รวมทั้งซื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน สัดส่วนของพลังงานทางเลือกนั้นยังมีสัดส่วนน้อยคือ พลังงานลมมีสัดส่วนราว 3% ในปี คศ. 2009 โดยมีกังกันผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชุดใหญ่สองชุดกลางทะเล และในพื้นที่บนบก เราก็สามารถพบเห็นกังหันลมเช่นในรูปกระจายอยู่ทั่วไป มักจะอยู่กันเป็นชุดๆละหลายๆตัว เรียกกันว่า wind farmหรือฟาร์มลม ซึ่งสวยงามและให้ความรู้สึกที่สะอาดปลอดมลพิษจริงๆประเทศเบลเยียมเขาตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดคือลมและแสงอาทิตย์ จากปี 2009 ที่มีสัดส่วนเพียง 3.3% จะให้ได้ 13% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศในปี คศ

Submitted by Little Bear on 24 มี.ค. 55 01:07

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจที่เบลเยียมมีการรณรงค์การใช้จักรยานกันอย่างมาก แต่รณรงค์อย่างเดียวคนก็ไม่ทำให้คนใช้มากขึ้นเท่าไหร่หรอก ความสำเร็จของอัตราการใช้จักรยานสูงมากอยู่ที่ โการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการขับขี่จักรยานโ เช่น การมีเลนจักรยาน หากถนนที่มีทางเท้าที่กว้างพอ เขาก็ตีเส้นลาดยางมะตอยสีน้ำตาลเป็นเลนจักรยาน หากแคบไปก็ไปใช้ถนนร่วมกับรถยนต์ และที่นี่แต่ละเมืองจะมีโครงการจักรยานสาธารณะ คือสามารถซื้อบัตรเหมือนบัตรATM พอจะใช้ก็ไปเสียบบัตรแล้วเอาจักรยานที่จุดจอดจักรยานออกมาใช้ได้ และจะถูกหักเงินจากบัตรนั้น ขับไปจอดสถานีที่ต้องการ สำหรับกติกาเมืองแอนเวิร์ปนั้น ให้ใช้ได้ไม่เกินครึ่งชั่วโมง หากไปไกลกว่านั้นต้องเปลี่ยนคันใหม่ที่สถานีใหม่ เป็นต้นสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นในยุโรปคือ จักรยานที่น

Submitted by Little Bear on 24 มี.ค. 55 01:03

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจว่าด้วยเรื่องป้ายครับ ภาพที่เห็นคือป้ายของมหาวิทยาลัยที่เรียนครับ คือสถาบันเวชศาสตร์เขตร้อน ทั้งสถาบันมีป้ายเดียวและป้ายเล็กมากๆ สถาบันแห่งนี้มีชื่อเสียงเรื่องเวชศาสตร์เขตร้อนในอันดับต้นๆของยุโรป เป็นสถาบันที่ทำวิจัยและตีพิมพ์รายงาน ผู้ป่วยโรคประหลาดที่ภูมิคุ้มกันปกพร่องเป็นรายแรกๆของโลก ตั้งแต่ปี 1979 ซึ่งสมัยนั้นยังไม่รู้จักเชื้อเอดส์ จนปี 1983 แพทย์จากสถาบันพาสเตอร์ ประเทศฝรั่งเศส จึงสามารถแยกเชื้อไวรัสเอดส์ได้ ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอดส์ทั่วโลก 34 ล้านคน และประมาณเกือบ 1 ล้านคนเป็นคนไทยสถาบันชั้นนำแต่ป้ายเล็กนิดเดียว วัฒนธรรมป้ายเล็กนี้เป็นไปโดยทั่วไปในประเทศนี้ครับ จะมีป้ายใหญ่บ้างก็เป็นพวกห้างร้านหรือบริษัทเอกชน แต่ก็ไม่ได้ใหญ่มากจนเกินพอดี เมื่อเทียบกับบ้าน

Submitted by Little Bear on 24 มี.ค. 55 01:02

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจต่อเรื่องสนามเด็กเล่นอีกนิดครับ สนามเด็กเล่นที่นี่ ไม่ได้มีแต่ที่มีขนาดใหญ่โต ในชุมชนที่มีที่ดินว่างสักสามห้องห้าห้อง และเป็นที่สาธารณะ ทางเทศบาลก็มาจัดสร้างเป็นสนามเด็กเล่นและสวนหย่อม ดูแลให้สะอาด มีเครื่องเล่นง่ายๆเช่นม้าโยกอย่างในรูป แล้วก็กระดานลื่นและชิงช้า มีเก้าอี้ให้ผู้คนมาพบปะพูดคุยกัน คนเมืองที่นี่ยิ่งกว่าบ้านเราคือทำงานหนัก กลับบ้านเย็น หากไม่มีพื้นที่กลางในชุมชน ทุกคนก็อยู่แต่ในบ้าน ผู้ใหญ่ก็ไม่ได้มาคุยกัน เด็กก็ไม่ได้มาเล่นกัน การมีพื้นที่สาธารณะในชุมชนแม้จะเล็กๆ แต่มีความสำคัญมากมายในการสร้างความเป็นชุมชน สร้างความเป็นประชาสังคม และเพิ่มพื้นที่ในการเติบโตของเด็กด้วยพื้นที่สาธารณะในบ้านเราก็มีไม่น้อย อย่างน้อยก็ในโรงเรียน วัด ยังมีสวนหย่อมริมถนน หรือ

1468 items|« First « Prev 8 9 (10/147) 11 12 Next » Last »|