ร้อยแหล่งเรียนรู้
ร้อยแหล่งเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์พัฒนาคนและการสร้างความรู้ของวาระพลเมืองเฉลิมพระเกียรติ "สงขลาพอเพียง" โดยองค์กรภาคีจะร่วมกันผลักดันสนับสนุนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิดความพอเพียงและการสร้างสุขภาวะ โดยเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถขยายแนวคิดแก่ผู้สนใจอย่างน้อย 100 แหล่งเรียนรู้
โดยมีกรอบการศึกษาสำหรับถอดบทเรียนของแหล่งเรียนรู้ คือ
- สภาพพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของแหล่งเรียนรู้
- พัฒนาการทางการเรียนรู้ของชุมชน
- โครงสร้างของแหล่งเรียนรู้
- องค์ความรู้ของแหล่งเรียนรู้
- ความรู้เฉพาะด้านของแหล่งเรียนรู้
- ผู้รู้ของแหล่งเรียนรู้มีใครบ้าง แต่ละคนมีความรู้ด้านใด
- การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้
- ระบบคุณค่าที่แหล่งเรียนรู้ยึดถือ
- ปัญหา/ข้อจำกัดในการดำเนินงานและแนวทางแก้ปัญหาในช่วงที่ผ่านมา
- ที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้
ภาคีจะมีทีมงานเพื่อสนับสนุนการถอดบทเรียนของแหล่งเรียนรู้ โดยจะมีการค้นหาทีมพี่เลี้ยงหนุนเสริมภาคีแหล่งเรียนรู้ และร่วมกันออกแบบหลักสูตรพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทำข้อมูลให้กลายเป็นความรู้ ทำความเข้าใจกับแหล่งเรียนรู้ ถอดบทเรียนโดยเน้นอัตลักษณ์ของแต่ละแหล่ง มีกองบรรณาธิการช่วยเรียบเรียง มีทีมย่อยลงไปบันทึกภาพ ให้เครดิตชุมชนในการถอดบทเรียน และมีการสังเคราะห์บทนำ ผลิตสื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับภาคีพื้นที่ ประเด็น ยกระดับการบริหารจัดการ การนำบทเรียนจากแหล่งเรียนรู้ไปปรับใช้
ส่วนรายชื่อแหล่งเรียนรู้ จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป เมื่อมีรายชื่อที่ชัดเจน
การแบ่งกลุ่ม
- หมู่บ้าน
- ตำบล
- อำเภอ
- ลุ่มน้ำ
- จังหวัด