สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

แผนงบประมาณและโครงการ

ตารางแผนงบประมาณที่ขอการสนับสนุน


ที่ประเด็นงบประมาณ (บาท)หมายเหตุ
1การจัดการระบบบริการสุขภาพและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า1,500,000 
2การจัดสวัสดิการชุมชนโดยกองทุนชุมชน2,500,000 
3อสม.กับการเสริมสร้างสุขภาพภาคประชาชน3,000,000ได้รับการสนับสนุนแล้ว
4การส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชน1,500,000 
5การสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการและผู้ด้อยโอกาส1,500,000 
6สุขภาพวัยแรงงาน : แรงงานนอกระบบ1,500,000 
7การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ3,000,000ได้รับการสนับสนุนแล้ว
8เกษตรและอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ1,500,000 
9การป้องกันและลดอุบัติเหตุจากการจราจร1,500,000 
10การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ1,500,000 
11วัฒนธรรมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ1,500,000 
12การคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภค1,500,000 
13การจัดการสื่อสารสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ1,500,000 
14การจัดการข้อมูลและความรู้เพื่อสุขภาพ1,500,000 

แผนปฎิบัติการและโครงการแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา

1.ประเด็นการจัดการระบบริการสุขภาพและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

รวมงบประมาณทั้งสิ้น  1,500,000 บาท

1.  การสร้างความรู้ความเข้าใจเผยแพร่ข้อมูลเรื่องหลักประกันสุขภาพ 1.1 โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อหลักประกันสุขภาพและการสร้างสุขภาพแก่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัตถุประสงค์
1. เพื่ออบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพและบทบาทในการสร้างสุขภาพให้กับผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการสร้างสุขภาพในชุมชน 3. เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หน่วยบริการสาธารณสุข และภาคประชาสังคมในการสร้างสุขภาพโดยมีพื้นที่เป็นตัวตั้ง งบประมาณ 100,000 บาท
1.2  โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจต่องานหลักประกันสุขภาพและการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมผ่านสื่อวิทยุ วัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพและการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยตนเองผ่านการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมผ่านสื่อวิทยุสู่สาธารณะ ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลในวงกว้าง งบประมาณ 100,000 บาท
2.การรับเรื่องร้องเรียนและประสานงานองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อการติดตามและพัฒนาคุณภาพบริการ 2.1  โครงการสนับสนุนจุดประสานงานและแก้ปัญหาหลักประกันสุขภาพในชุมชน วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนให้เกิดจุดประสานงาน  จัดการปัญหาและเรื่องบริการสุขภาพตั้งแต่ระดับชุมชน  โดยมี อสม.หรือ ภาคประชาสังคมที่สนใจ เป็นกลไกหลัก 2. เพื่อสร้างกลไกประสานงานในแนวราบระหว่างจุดประสานงานในพื้นที่กับโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัยในพื้นที่ งบประมาณ 300,000 บาท
2.2 โครงการรับฟังความเห็นต่อระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างช่องทางการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่  โดยเวทีสัญจรเป็นกลไกหลัก งบประมาณ 200,000 บาท 3.  การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรชุมชนในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานหลักประกันสุขภาพ 3.1  โครงการสนับสนุนและเสริมศักยภาพอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพจังหวัดสงขลา 3.1.1 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 2 เดือนครั้ง วัตถุประสงค์  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้อง ระหว่างอนุกรรมการภาคประชาชนกับประชาชน งบประมาณ 100,000 บาท
3.1.2 การศึกษาดูงานเพื่อค้นหารูปแบบการสร้างสุขภาพที่เหมาะกับพื้นที่ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและค้นหารูปแบบการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมกับจังหวัดสงขลา  โดยการศึกษาจากรูปแบบที่มีอยู่
งบประมาณ 100,000 บาท
3.2  โครงการสนับสนุนและเสริมศักยภาพศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนในจังหวัดสงขลา 3.2.1 เวทีวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของคณะทำงานศูนย์ฯ  ซึ่งเป็นองค์กรภาค ประชาชนที่ดำเนินงานเพื่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ งบประมาณ 100,000 บาท
3.2.1 การสนับสนุนภาระกิจของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน วัตถุประสงค์ เพื่อหนุนเสริมบทบาทและภารกิจของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนให้เป็นกลไกที่จะสามารถประสานงาน  และดำเนินการแก้ไขปัญหาในระบบหลักประกันสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ งบประมาณ 200,000 บาท
4. การจัดทำข้อเสนอนโยบายต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ 4.1 โครงการศึกษารวบรวมสังเคราะห์รูปแบบการจัดการสุขภาพและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน    ในระบบหลักประกันสุขภาพ วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาและรวบรวมสังเคราะห์รูปแบบการจัดการสุขภาพที่ประชาชนมีส่วนร่วม
2.เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาให้ประชาชนรับรู้ งบประมาณ 100,000 บาท
4.2 โครงการจัดทำข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อระบบหลักประกันสุขภาพในจังหวัดสงขลา วัตถุประสงค์ เปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอข้อคิดเห็นต่อระบบหลักประกันฯอันนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการ  ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน งบประมาณ 100,000 บาท
5.การประสานงานองค์กรภาคีด้านสุขภาพในจังหวัดสงขลาสู่การเป็นประชาคมสุขภาพสงขลา 5.1 โครงการประสานเครือข่ายภาคีสุขภาพ  โดยมีภาคประชาชนเป็นศูนย์กลาง วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดกระบวนการเชื่อมประสานภาคีสุขภาพที่มีในจังหวัดสงขลาในทุกภาคส่วน  ให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ 2. เพื่อพัฒนาสู่การเป็นประชาคมสุขภาพจังหวัดสงขลาในระยะยาว งบประมาณ 100,000 บาท

2.ประเด็นการจัดสวัสดิการชุมชน โดยกองทุนชุมชน

รวมงบประมาณทั้งสิ้น 2,500,000 บาท


1. การสร้างชุดความรู้ เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะ 1.1  โครงการศึกษา รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสงขลา                   วัตถุประสงค์ เป็นการศึกษาทบทวนสถานการณ์ รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนตามพื้นที่ ตามวัฒนธรรม ตามองค์กรการเงิน เพื่อค้นหาตัวอย่างและให้ได้มาซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดสวัสดิการชุมชนโดยการจัดการทุนของชุมชนในจังหวัดสงขลา
        ผู้รับผิดชอบ    อ.จำนงค์ แรกพินิจ  มหาวิทยาลัยทักษิณ
                        แหล่งทุน        สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ และ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

    1.2  โครงการผลิตเอกสารเพื่อการเผยแพร่         วัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษา และชุดความรู้เรื่อง 2 เรื่อง ได้แก่
" นโยบายสาธารณะและรูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสงขลา " ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับกระบวนการภาคประชาชน       ผู้รับผิดชอบ    อ.จำนงค์ แรกพินิจ  และ ผศ.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 
                        แหล่งทุน        สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ และ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ 1.3 โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่มการจัดการสวัสดิการชุมชน         วัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำคณะทำงานในพื้นที่  ให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดสวัสดิการชุมชน                         ผู้รับผิดชอบ  ผศ. ภก. พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ                         แหล่งทุน      สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้

2.  การสร้างความเข้าใจเรื่องการจัดสวัสดิการชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
                2.1  โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้
        วัตถุประสงค์
" เพื่อสร้างความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การพัฒนา และการมีส่วนร่วมในการ จัดระบบสวัสดิการชุมชน " เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งจากส่วนราชการและจากพื้นที่         กลุ่มเป้าหมาย  มีดังนี้ " ผู้บริหารอบต หัวหน้าส่วนราชการ ที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายในพื้นที่ " ชุมชนที่มีปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งมีโอกาสที่จะพัฒนา ยกฐานะ เป็นผู้รู้ เป็นชุมชนต้นแบบ ศูนย์เรียนรู้ " กลุ่มนักวิชาการ เพื่อให้เกิดการสร้างงานวิชาการที่จะหนุนเสริมการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย     ผู้รับผิดชอบ    ผศ.ดร.สุกัญญาโลจนาภิวัฒน์ และ อ.สุภาคย์ อินทองคง                         แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา งบประมาณ 200,000 บาท                 2.2  โครงการเวทีนโยบายสาธารณะเพื่อการเคลื่อนเชิงนโยบาย
        วัตถุประสงค์   เพื่อเป็นเวทีแห่งการเรียนรู้ และเป็นเวทีการสร้างพันธสัญญาร่วมกันในกระบวนการนโยบายสาธารณะ โดยใช้นโยบายการจัดสวัสดิการชุมชนด้วยชุมชนภายใต้ฐานคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นตัวเดินเรื่อง
        กลุ่มเป้าหมาย  มีดังนี้ " ผู้บริหารอบต หัวหน้าส่วนราชการ ที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายในพื้นที่ " ชุมชนปฏิบัติการทั้งที่มีอยู่และกำลังเริ่มต้นการจัดสวัสดิการชุมชน
" กลุ่มนักวิชาการ เพื่อให้เกิดการสร้างงานวิชาการที่จะหนุนเสริมการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย " กลุ่มสื่อสารมวลชน เพื่อการสื่อสารสาธารณะ     ผู้รับผิดชอบ    ผศ.ดร.สุกัญญาโลจนาภิวัฒน์  และ  อ.สุภาคย์ อินทองคง                         แหล่งทุน        สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ และ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

  1. การสร้างปฏิบัติการในชุมชน เพื่อให้ทุกพื้นที่ของจังหวัดสงขลามีระบบการจัดการสวัสดิการชุมชนโดยชุมชน  ด้วยการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในพื้นที่ที่มีระบบอยู่แล้ว และจะไปสร้างระบบการจัดการสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ที่ยังไม่มีการจัดการ                 3.1 โครงการสนับสนุนปฏิบัติการที่มีอยู่ในพื้นที่
            วัตถุประสงค์   เพื่อสนับสนุนเครือข่ายในพื้นที่เช่น กองทุนออมทรัพย์  กองทุนสัจจะวันละบาทฯ และ สหกรณ์  ให้มีการคิดค้น พัฒนาเรื่องระบบการจัดสวัสดิการชุมชนโดยชุมชน เพิ่มมากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะ และใช้ฐานคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวเดินเรื่อง
        ผู้รับผิดชอบ    ครูชบ  ยอดแก้ว  นายเคล้า  แก้วเพชร  นายลัภย์  หนูประดิษฐ์    นายอัมพร ด้วงปาน                         แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา งบประมาณ 200,000 บาท 3.2  โครงการสร้างชุมชนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการชุมชน
                            วัตถุประสงค์    เพื่อให้พื้นที่ของจังหวัดสงขลาที่ยังไม่มีระบบการจัดการสวัสดิการชุมชนโดยชุมชน มีการพัฒนาระบบขึ้นโดยใช้แนวคิดสัจจะวันละบาท เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดพื้นที่ปฏิบัติการเต็มพื้นที่     ผู้รับผิดชอบ    ครูชบ  ยอดแก้ว  นายเคล้า  แก้วเพชร  นายลัภย์  หนูประดิษฐ์    นายอัมพร ด้วงปาน                         แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา งบประมาณ 1,300,000 บาท 4.  การสร้างกลไกและศูนย์เรียนรู้                 4.1  โครงการสร้างชุมชนต้นแบบเพื่อการเรียนรู้
                            วัตถุประสงค์  มี 2 ประเด็น  คือ " การมีชุดความรู้ในชุมชนให้คนภายนอกเข้ามาเรียนรู้ " การสร้างกลไก กระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชน     ผู้รับผิดชอบ    ครูชบ  ยอดแก้ว  นายเคล้า  แก้วเพชร  นายลัภย์  หนูประดิษฐ์    นายอัมพร ด้วงปาน                         แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา งบประมาณ 200,000 บาท                 4.2  โครงการจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้
                            วัตถุประสงค์  เพื่อนำชุดความรู้ที่มีอยู่มาสังเคราะห์เป็นหลักสูตรเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในระดับต่างๆ  เช่น " หลักสูตรนักวิจัยชุมชน
    " หลักสูตรการจัดการชุมชน " หลักสูตรในสถาบันการศึกษา     ผู้รับผิดชอบ    ผศ.ดร.สุกัญญาโลจนาภิวัฒน์ และ อ.สุภาคย์ อินทองคง                         แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา งบประมาณ 200,000 บาท 5.  การสื่อสารสาธารณะ                 5.1  โครงการสื่อสารสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
                              วัตถุประสงค์
    " การสร้างพื้นที่สาธารณะ เพื่อการสื่อสาร เช่นเวทีชาวบ้าน ร้านน้ำชา วัด
    " การใช้สื่อกระแสหลักเช่น  โทรทัศน์  วิทยุชุมชน  สิ่งพิมพิ์ " การใช้เครื่องมือ ช่องทางเชิงวัฒนธรรม เป็นสื่อ เช่น หนังตลุง มโนราห์ พระ " การใช้ช่องทางการศึกษาเพื่อการสื่อสาร เช่น การสร้างการออมในโรงเรียน         ผู้รับผิดชอบ    นายพีระ  ตันติเศรณี  และนายสินธพ   อินทรัตน์
    แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา งบประมาณ 200,000 บาท 5.2  โครงการพัฒนาศักยภาพของสื่อ             วัตถุประสงค์    เพื่อให้สื่อมีความเข้าใจและนำเสนอข้อมูลเรื่อง การจัดสวัสดิการชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไปยังสาธารณะได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ         ผู้รับผิดชอบ    นายพีระ  ตันติเศรณี  และนายสินธพ   อินทรัตน์
    แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา งบประมาณ 200,000 บาท
  2. การประเมินผล
    6.1 โครงการประเมินผลโดยใช้กระบวนการเรียนรู้                             วัตถุประสงค์  เพื่อประเมินการรู้จักตนเอง เพื่อให้รู้ความพอเพียง เพื่อการวางเป้าหมายในอนาคต                                                     โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น " ความสามารถในพึ่งตนเองกัน  เนื่องจากยิ่งพัฒนามากขึ้นยิ่งสูญเสียการพึ่งตนเองมากขึ้น  เช่น การลดหนี้สินของตนเอง ลดการจ้างงาน " อำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
    " การพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ  เช่น  แนวคิด  กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน       ผู้รับผิดชอบ    อ.จำนงค์ แรกพินิจ  และ ผศ.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 
                            แหล่งทุน        สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ และ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

3.ประเด็นอสม.กับการเสริมสร้างสุขภาพภาคประชาชน

รวมงบประมาณทั้งสิ้น 3,000,000 บาท * ได้รับการสนับสนุนจาก อบจ.แล้ว

1.พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข 1.1 โครงการพัฒนาศักยภาพกรรมการบริหารสมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
- การบริหารจัดการเบื้องต้น
- ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้คณะกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการบริหารจัดการสมาคม อสม. เบื้องต้น ผู้รับผิดชอบ  สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล แหล่งทุน สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล             สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพ          ( Cup )

1.2 โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำระดับตำบล ในการจัดทำแผนงานโครงการ วัตถุประสงค์ เพื่อให้แกนนำ อสม. ระดับตำบล สามารถจัดทำแผนงานโครงการได้ ผู้รับผิดชอบ  สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล แหล่งทุน  สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล                 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพ( Cup ) 1.3 โครงการจัดตั้งโรงเรียนอาสาสมัครสาธารณสุข วัตถุประสงค์ เพื่อให้ อสม. ในจังหวัดสงขลาได้มีความรู้เพิ่มเติมในด้านสุขภาพ  เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง
ผู้รับผิดชอบ สมาคม  อสม. จังหวัดสงขลา แหล่งทุน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

2.โครงการพัฒนาการสร้างสุขภาพในตำบลต้นแบบ 2.1 โครงการพัฒนาการสร้างสุขภาพในตำบลต้นแบบอำเภอละ 1 ตำบล
โดยใช้กรอบยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรง และ 14 องค์ประกอบหลัก ในงานสาธารณสุขมูลฐาน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้มีพื้นที่ต้นแบบในการจัดการสุขภาพภาคประชาชน
- เพื่อพัฒนาให้เป็นโรงเรียน อสม.
          ผู้รับผิดชอบ  สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล แหล่งทุน  สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล                 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพ(Cup )

3.โครงการสร้างขวัญและกำลังใจ 1.1 โครงการคัดเลือก อสม. และแกนนำสุขภาพภาคประชาชนดีเด่นทุกระดับ
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ อสม. และแกนนำสุขภาพภาคประชาชนดีเด่น ผู้รับผิดชอบ  สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล แหล่งทุน  สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล                 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพ( Cup )

3.2 โครงการตลาดนัดสุขภาพและเวทีแห่งเกียรติยศคนทำงานด้านสุขภาพจังหวัดสงขลา<br />
วัตถุประสงค์    เพื่อนำเสนอสิ่งดี ๆ ในการสร้างสุขภาพ และเชิดชูเกียรติคนทำงานดีเด่นด้านสุขภาพจังหวัดสงขลา    

ผู้รับผิดชอบ  สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
                        ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล
แหล่งทุน  สมาคม อสม. จังหวัดสงขลา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล                 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพ
( Cup )

4.ประเด็นการส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชน

รวมงบประมาณทั้งสิ้น 1,500,000 บาท

แผนงาน รวบรวมข้อมูลกลุ่ม องค์กร บุคคลที่ทำงานด้านเด็กฯ 1. โครงการฐานข้อมูลพื้นฐาน  เพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาวะเด็ก
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่รวบรวมแนวความคิด
และรวบรวมองค์ความรู้ในเชิงเทคนิค ชุดประสบการณ์ การพัฒนาเด็กและเยาวชน     กลุ่มเป้าหมาย  เครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งในระดับจังหวัดและในระดับประเทศ     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานประเด็นสุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
งบประมาณ 200,000 บาท แผนงาน หนุนเสริมกลุ่มทางสังคมที่ทำงานด้านเด็ก 1. โครงการการลดปัจจัยเสี่ยงต่อพฤติกรรมบริโภคในวัยเด็ก วัตถุประสงค์    เพื่อรณรงค์ให้ความรู้และสร้างกระแสต่อการสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมของเด็ก  โดยเฉพาะการลดการบริโภคขนมถุงและน้ำอัดลม     กลุ่มเป้าหมาย  โรงเรียนประถม  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่สนใจเข้าร่วมโครงการ     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานประเด็นสุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
งบประมาณ 200,000 บาท แผนงานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน 1. โครงการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิต วัตถุประสงค์    เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิตให้แก่นักเรียน  ให้เกิดค่านิยมและความรู้ในการดูแลตนเองที่เหมาะสมให้เท่าทันกับสภาพสังคมในปัจจุบัน     กลุ่มเป้าหมาย  โรงเรียนระดับประถมและมัธยมที่สนใจเข้าร่วมโครงการ     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานประเด็นสุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
งบประมาณ 200,000 บาท 2. โครงการกิจกรรมทางเลือกนอกห้องเรียน วัตถุประสงค์    เพื่อสร้างกรณีตัวอย่างของกิจกรรมทางเลือกนอกห้องเรียน  ในการเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาและนำไปสู่การมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม     กลุ่มเป้าหมาย  เครือข่ายครูในจังหวัดสงขลา     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานประเด็นสุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
งบประมาณ 200,000 บาท แผนงาน หนุนกลุ่มเด็กและเยาวชน 1.  โครงการหนุนเสริมกลุ่มเยาวชนอาสาสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคม วัตถุประสงค์    เพื่อสนับสนุนการจัดกระบวนการและกิจกรรมของเด็กและเยาวชนกลุ่มต่างๆที่ต้องการรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม     กลุ่มเป้าหมาย  กลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีการรวมตัวกันในจังหวัดสงขลา
    ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานประเด็นสุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
งบประมาณ 200,000 บาท แผนงาน ยกระดับองค์ความรู้ด้านเด็กและเยาวชน 1. โครงการเวทีถอดบทเรียนและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน วัตถุประสงค์    เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในเชิงเทคนิค ชุดประสบการณ์ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในจังหวัดสงขลา  และนำไปสู่การสร้างเป็นนโยบายสาธารณะระดับจังหวัด     กลุ่มเป้าหมาย  เครือข่ายทุกภาคส่วนในประเด็นเด็กและเยาวชนในจังหวัดสงขลา     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานประเด็นสุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
งบประมาณ 200,000 บาท 2. โครงการลงพื้นที่เพื่อศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติดีเด่นในรายกรณี วัตถุประสงค์    เพื่อรวบรวมกรณีศึกษาที่มีแนวความคิด  องค์ความรู้ ชุดประสบการณ์ ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่โดดเด่นเฉพาะกรณี ( Best  Practice)     กลุ่มเป้าหมาย  เครือข่ายเด็กและเยาวชนที่มีแนวทางการปฏิบัติงานดีเด่นในจังหวัดสงขลา     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานประเด็นสุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
งบประมาณ 100,000 บาท แผนงาน สื่อสาธารณะเพื่อการพัฒนา
1. โครงการสื่อสารสาธารณะเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน วัตถุประสงค์    เพื่อสร้างกระบวนการสื่อสารในประเด็นเด็กและเยาวชน  โดยผ่านกลุ่มเด็ก
  และให้สังคมได้ร่วมเรียนรู้ต่อความคิดความเห็นของเด็กผ่านสื่อสาธารณะ     กลุ่มเป้าหมาย  เครือข่ายเด็กและเยาวชนที่สนใจด้านการสื่อสารสาธารณะ     ผู้รับผิดชอบ    คณะทำงานประเด็นสุขภาวะเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา                         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
งบประมาณ 200,000 บาท

5.ประเด็นการสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการและผู้ด้อยโอกาส

รวมงบประมาณทั้งสิ้น 1,500,000 บาท

  1. ยุทธศาสตร์สร้างเสริมความเข้มแข็งขององค์กรคนพิการ: แผนงานการหนุนเสริมองค์กร สมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา และสร้างเครือข่ายผู้พิการระดับอำเภอ ประกอบด้วยโครงการปฏิบัติการ ดังนี้       1.1 โครงการสนับสนุนการบริหารจัดการ สมาคมคนพิการ จ. สงขลา                             วัตถุประสงค์  เพื่อให้องค์กรคนพิการมีที่ตั้งที่ถาวร มีเจ้าหน้าที่ประจำ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ เช่น การประชุมคณะกรรมการสมาคมคนพิการ ฯ  เป็นที่ปรึกษาด้านการสร้างเสริมสุขภาวะและรับเรื่องราวร้องทุกข์ เป็นต้น มีครุภัณฑ์และวัสดุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานคนพิการ และมีงบบริหารจัดการที่เพียงพอ สม่ำเสมอ                       ผู้รับผิดชอบ คุณสมศักดิ์ ผจงวงศ์        นายกสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา               คณะกรรมการสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา         แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา งบประมาณ 200,000 บาท       1.2 โครงการจัดตั้งชมรมคนพิการระดับอำเภอ                             วัตถุประสงค์  เพื่อเป็นเครือข่ายองค์กรคนพิการในระดับอำเภอ ที่ทำหน้าที่ประสานงานคนพิการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่ปรึกษาให้แก่คนพิการ ประชาชน และหน่วยงานในระดับอำเภอ               ผู้รับผิดชอบ พันจ่าเอก ทวีป เสนขวัญแก้ว              คนพิการอำเภอสิงหนคร               คุณยงยุทธ  แสงพรหม                        คนพิการอำเภอควนเนียง               คุณเบญจพรรณ เอี่ยมเอม                    อพม. ก อำเภอระโนด
    แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา งบประมาณ 200,000 บาท   1.3 โครงการการจัดการระบบฐานข้อมูลคนพิการ                     วัตถุประสงค์ เป็นการศึกษาทบทวน สำรวจ รวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลสถานการณ์ของคนพิการ และข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  พัฒนาฐานข้อมูลศักยภาพคนพิการ (Every Human Mapping-Deform: EHM-Deform) วางระบบการสืบค้น การเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสารของคนพิการ               ผู้รับผิดชอบ อ. อำนาจ ทองขาว  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา                     แหล่งทุน      แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา งบประมาณ 100,000 บาท

1.4 โครงการจดหมายข่าวคนพิการ               วัตถุประสงค์ เพื่อส่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการ แก่คนพิการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสงขลา       ผู้รับผิดชอบ คุณสมศักดิ์  ผจงวงศ์      นายกสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา             คุณสมพร ปาตังตะโร    สมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา ผศ. เนตรนภา  คู่พันธวี    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                               แหล่งทุน        แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา งบประมาณ 100,000 บาท 2. ยุทธศาสตร์สร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนาศักยภาพคนพิการ ฯ:  แผนงานพัฒนาระบบการดูแลผู้พิการระดับอำเภอแบบเบ็ดเสร็จและแผนงานพัฒนาศักยภาพผู้พิการให้พึ่งตนเองได้ ประกอบด้วยโครงการปฏิบัติการ ดังนี้                     2.1 โครงการจัดตั้งศูนย์จดทะเบียนและบริการผู้พิการเบ็ดเสร็จ นำร่องใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสิงหนคร  อำเภอรัตภูมิ อำเภอระโนด อำเภอควนเนียง และอำเภอจะนะ  โดยเป็นศูนย์ ฯ ที่ประกอบด้วยองค์กรอย่างน้อยสามองค์กร คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชมรมคนพิการระดับอำเภอ นั้น ๆ
              วัตถุประสงค์ 1.วางระบบการค้นหาและข้อมูลคนพิการระดับอำเภอ                             2.ให้การช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาและหรือประสานการช่วยเหลือด้านการแพทย์ การอาชีพ การศึกษาและด้านสังคม
                            3. ให้บริการช่วยเหลือให้ได้สิทธิการรักษา ได้อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต พร้อมทั้งสนับสนุนเบี้ยยังชีพแก่คนพิการ  รายละ  200  บาท แก่องค์กรคนพิการ ผู้รับผิดชอบ       ผศ. เนตรนภา คู่พันธวี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์       นายแพทย์สุภัทร  ฮาสุวรรณกิจ      ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภอจะนะ       พันจ่าเอก ทวีป เสนขวัญแก้ว          คนพิการอำเภอสิงหนคร       คุณสมพร ปาตังตะโร                    คนพิการอำเภอสิงหนคร       คุณยงยุทธ  แสงพรหม                  คนพิการอำเภอควนเนียง       คุณเบญจพรรณ เอี่ยมเอม อพม. ก อำเภอระโนด
      แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา งบประมาณ 300,000 บาท             2.2 โครงการการฝึกอาชีพและส่งเสริมการศึกษา โดยสมาคมคนพิการทำหน้าที่ประสานงานและขับเคลื่อนด้านการศึกษาและการฝึกอาชีพของคนพิการ ทั้งการศึกษาในโรงเรียนเฉพาะคนพิการโรงเรียนเรียนร่วม การศึกษานอกโรงเรียน และการประกอบอาชีพอิสระ การทำงานในหน่วยงานเอกชน สถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจในระดับอำเภอ                     วัตถุประสงค์ พัฒนาการศึกษา อาชีพและการตลาดของผลิตภัณฑ์งานอาชีพคนพิการ  เพื่อให้คนพิการมีเศรษฐานะที่พอเพียงในการดำรงชีวิต             ผู้รับผิดชอบ สมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา             แหล่งทุน    แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา งบประมาณ 200,000 บาท 3. ส่งเสริมให้ชุมชน และสังคม มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการ ฯ : แผนงานการสร้างความเข้าใจและเจตคติที่ถูกต้องต่อคนพิการและนำไปสู่นโยบายสาธารณะในการขับเคลื่อนสุขภาวะคนพิการในแต่ละประเด็นและแต่ละพื้นที่  และเผยแพร่ชุดความรู้  เรื่องผู้พิการสู่สาธารณะ               3.1 โครงการ งานวันคนพิการ
                      วัตถุประสงค์  การสร้างความเข้าใจและเจตคติที่ถูกต้องต่อคนพิการและนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายและนโยบายสาธารณะ  เกิดกลไกการเรียนรู้และกลไกการมีส่วนร่วมของคนพิการและภาคีพันธมิตร โดยขับเคลื่อนด้วยเวทีสมัชชากระบวนการเรียนรู้ของคนพิการจังหวัดสงขลา                       ผู้รับผิดชอบ               ผศ.เนตรนภา คู่พันธวี  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                ผศ.ทพ.นพ.สุรพงษ์ วงศ์วัชรานนท์  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                 คุณสมศักดิ์ ผจงวงศ์    นายกสมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา         แหล่งทุน แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา งบประมาณ 200,000 บาท               3.2 โครงการการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างสุขภาวะผู้พิการจังหวัดสงขลา                               วัตถุประสงค์
1. สร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์และสภาวะของผู้พิการในการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทรระหว่างผู้คนในสังคม 2.กระตุ้นให้สังคมเกิดความรู้ความเข้าใจ ปรับกระบวนทัศน์และแนวคิดในเรื่องการคุ้มครองสิทธิและการส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงสิทธิโดยเฉพาะด้านบริการสุขภาพด้านต่างๆของผู้พิการ 3.พัฒนาคุณภาพและศักยภาพการสื่อสารในท้องถิ่นให้เป็นช่องทางในการยกระดับสุขภาวะของผู้พิการ             ผู้รับผิดชอบ
                            คุณจุฑา สังขชาติ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนภาคใต้             คุณโตมร อภิวันทนากร กลุ่มละครมานีมานะ             คุณศิริพล สัจจาพันธ์ เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคใต้                               แหล่งทุน        แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา งบประมาณ 100,000 บาท         3.3  โครงการเผยแพร่ชุดความรู้  เรื่องผู้พิการสู่สาธารณะ               วัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำหนังสือชุดความรู้  สถานการณ์ผู้พิการจังหวัดสงขลา ออกเผยแพร่             ผู้รับผิดชอบ   
            ผศ. เนตรนภา  คู่พันธวี 

Relate topics

Comment #1
นายเจริญ เข็มจะระ (Not Member)
Posted @14 พ.ย. 50 08:14 ip : 125...9
Photo :  , 295x413 pixel 25,686 bytes

การประชุมประจำเดือนของอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพจังหวัดสงขลา

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว