สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

ต้นกล้า....แกร่งแห่งลุ่มอู่ตะเภา

by kai @30 เม.ย. 50 20:30 ( IP : 124...244 ) | Tags : แนะนำเครือข่าย
photo  , 648x486 pixel , 83,800 bytes.

ต้นกล้า....แกร่งแห่งลุ่มอู่ตะเภา[/b]

"ใครจะแก้ปัญหาเรื่องคลองอู่ตะเภาก็แก้ไป ขออย่างเดียวอย่ามายุ่ง  บางบ้านเปิดประตูรับเหมือนกัน บอกว่าเข้ามาซิแต่หมาดุนะ"

ปฐม  คงแก้วหรือ "เอก"   นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์   อ.หาดใหญ่ ประธานกลุ่มต้นกล้าเพื่อการอนุรักษ์คลองอู่ตะเภา เล่าด้วยสีหน้าเคร่งขรึม จริงจัง ต่อสิ่งที่เคยเจอสารพัดสารพันปัญหา  ในฐานะแกนนำเยาวชนคลองอู่ตะเภา ลำน้ำแห่งชีวิตของคนสงขลาที่กำลังมีปัญหารุมเร้า  แต่คนจำนวนมากกลับเลือกปัดปัญหาให้พ้นตัว

สองสามปีก่อนหลายคนมองเด็กกลุ่มนี้ว่าทำในสิ่งที่เหลวไหล เป็นไปได้ยาก แต่การยืนหยัดพูดจริงทำจริง อย่างแข็งขันทนแรงเสียดทาน&nbsp; ได้พิสูจน์อะไรบางอย่าง<br />

การจัดค่ายเครือข่ายต้นกล้าเพื่อการอนุรักษ์ เมื่อ 24-27 เมษายน 2550 ได้รับความสนับหนุนจากแผนสุขภาพประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ในส่วนของลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ร่วมกับอีกหลายฝ่าย&nbsp; ผู้เข้าร่วมจำนวน 91 คน เป็นนักเรียนแกนนำอนุรักษ์คลองอู่ตะเภา ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตั้งแต่ต้นน้ำถึงสุดสายปลายคลอง<br />


โรงเรียนแต่ละแห่ง สนใจกิจกรรมต่างกันออกไป  เช่นการทำน้ำหมักชีวภาพ  ปัญหาขยะ  และน้ำเสีย  นี่เป็นโอกาสเรียนรู้แลกเปลี่ยนเพื่อเป้าหมายเดียวกัน คืออนุรักษ์เยียวยาคลองอู่ตะเภา

เรานั่งคุยกับ "เอก" ในค่ำคืนที่ชาวค่ายเดินทางจากต้นน้ำมาแวะพักที่วัดคลองแห หาดใหญ่ ก่อนทั้งหมดจะลงเรือจากท่าน้ำวัด ล่องไปยังปลายคลองอู่ตะเภาในวันรุ่งขึ้น
"กิจกรรมวันแรก  เน้นการทำความรู้จักกัน  น้องๆยังไม่ค่อยกล้าแสดงออกมากนัก แอบพบว่าหลายคนมีความคิดและคำตอบดีมากครับ แต่ไม่กล้าพูดเท่านั้นเอง  อีกวันเดินทางไปน้ำตกผาดำ มีกิจกรรมสนุกๆ  ได้ทดลอง ลงมือทำบางอย่าง ก็เริ่มจะกล้ามากขึ้น" เอกเล่า

การเดินทางโดยรถยนต์ลัดเลาะลงมาตามคลองอู่ตะเภา ชาวค่ายได้มีการใช้เครื่องมือตรวจคุณภาพน้ำ แบบที่วัดระดับออกซิเจน ตามจุดต่าง ๆ  นอกจากนั้นเด็กๆยังช่วยกันสังเกตความสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตไม่มีกระดูกสันหลังบางประเภทที่เป็นดัชนีชี้วัด  เช่น หอยฝาเดียว ตัวอ่อนแมลงปอ และแมลงชีปะขาว  พบว่า ช่วงต้นน้ำคลองอู่ตะเภาคุณภาพน้ำค่อนข้างดี  พอถึงกลางน้ำจึงพบว่าอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม เอกเล่าว่าวันนั้น ชาวค่ายมีโอกาสเข้าไปดูระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานแห่งหนึ่งริมคลองอู่ตะเภา    จากการวัดคุณภาพน้ำออกจากโรงงาน พบว่าค่าออกซิเจนสูงกว่าต้นน้ำ  ทำให้หลายคนได้ความรู้ใหม่ จากที่เคยเชื่อว่าโรงงานอุตสาหกรรม  เป็นสาเหตุสำคัญของน้ำเสียว่าอาจไม่เป็นจริงเสมอไป  ยังมีสาเหตุอื่นอีกมากมาย  อย่างการทิ้งสิ่งปฏิกูลลงน้ำ  หรือเหตุผลอื่นอีกมาก

"แต่ ที่เราเห็นและพิสูจน์&nbsp; เป็นเพียง 1ใน 121 แห่ง ที่อยู่ริมคลองอู่ตะเภาเท่านั้น&nbsp;  เฉพาะที่ตำบลพะตงบ้านผม มีโรงงาน 8 แห่ง&nbsp;  มี 1 แห่งที่ได้เข้าไปดูมานั่นแหละ ที่เหลืออีก 7 แห่งยังไม่รู้" เอกเล่า แล้วอีกร้อยกว่าแห่งนั่นอีกเล่า<br />

ที่ผ่านมากลุ่มต้นกล้าเพื่อการอนุรักษ์คลองอู่ตะเภา มีบทบาทในการเฝ้าระวังน้ำเสียอยู่ตามกำลังที่ทำได้  อย่างพอเกิดเหตุผิดปกติอย่างเช่นปลาตายมาก  ทีมงานลงไปสำรวจเพื่อแจ้งทางราชการที่รับผิดชอบ ส่วนมากแจ้งผ่านเทศบาลตำบลพะตง หลายครั้งที่รับรู้ว่าโรงงานเป็นต้นเหตุ  ชาวบ้านมักเล่าให้ฟังว่าทางโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งปล่อยน้ำเสียออกมาในยามที่ฝนตก อ้างว่าล้นบ่อกักเก็บบ้าง  หรือแม้แต่เคยมีเหตุที่ถังน้ำมันจากโรงงานแห่งหนึ่งเกิดรั่วลงคลอง แต่เด็กๆ ก็ทำได้แค่แจ้งให้เทศบาลรับทราบเพื่อดำเนินการเท่านั้น ไม่รู้จะทำอะไรได้มากไปกว่านั้น ยิ่งรู้ว่าทางโรงงานเองก็มี ฝ่ายกฎหมายเอาไว้ต่อสู้กับข้อกล่าวหาอีกชั้นหนึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องหาทางออกยากยิ่งในสายตาเด็ก

"ก็อย่างที่เล่านั่นแหละ&nbsp; ยังไม่ได้รับความร่วมมือ จากชุมชน บางทียังถูกด่ากระแทกกลับมาอีก&nbsp; พอกลุ่มเด็กของเราลงไปหาข้อมูลก็ถามว่ามาทำไม มายุ่งอะไรด้วย หรือชวนเข้าบ้าน เข้ามาเลยแต่ขู่ว่าหมาดุนะ พวกผมหลายคนก็ท้อ ล้มเลิกที่จะทำงานนี้ไปเลยก็มาก แต่ที่ผมประทับใจมาก คือพวกเราจำนวนหนึ่งที่สู้ต่อ"

สิ่งที่เอกเล่าสอดคล้องกับข้อมูลว่า สมาชิกของกลุ่มต้นกล้าเพื่อการอนุรักษ์อู่ตะเภา ที่โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ นั้นเคยมีอยู่ถึง 100 คน แต่ค่อยหดหายทีละคนสองคนเหลือเพียง 8 คนเท่านั้น แต่คนที่เหลือคือตัวจริงเสียงจริง&nbsp; สามารถยืนหยัดขับเคลื่อนกิจกรรมมาจนปัจจุบัน และพร้อมสืบทอดไปยังรุ่นน้องต่อไปอีกไม่ขาดตอน

กระบวนการเรียนรู้ใหม่เกิดขึ้นกับนักต่อสู้เชิงอนุรักษ์กลุ่มนี้อย่างน่าทึ่ง  แม้กระทั่งตัวของเอกเองก็คิดไม่ถึงมาก่อนว่าคนรุ่นเขาทำได้  อย่างเช่นเมื่อสมาชิกของกลุ่มลงไปหาข้อมูลบ้านไหนแล้วถูกไล่ตะเพิด แทนที่จะมีใครเก็บมาโกรธแค้น  พวกเขาได้เรียนรู้มิติใหม่ของการพยายามใช้คำพูดที่ดีกลับไป หรือไม่ได้รุกเขามากนัก ปล่อยให้เวลาผ่านพ้นไปสักระยะหนึ่ง  แล้วค่อยกลับไปแสดงเจตนา และความจริงใจใหม่

ในที่สุดพวกเขาพบว่า การที่ชาวบ้านริมคลองอู่ตะเภาส่วนหนึ่งมีท่าทีปฏิเสธการให้ข้อมูล เป็นเพราะปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับการเมืองท้องถิ่นบางอย่าง&nbsp;  เลยมาลงกับเด็กที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่&nbsp; พอถึงบางอ้อเด็กจึงพยายามอธิบายว่า เป็นการทำงานที่ไม่อิงกับการเมืองไม่ว่าฝ่ายใด ชาวบ้านบางส่วนจึงยินดีเปิดใจรับ แต่หลายคนก็ยังปิดประตูบ้านอยู่เหมือนเดิม<br />


อันที่จริงปัญหาแบบนี้เองที่ทำให้เอกมีพลัง จนเข้ามายืนในฐานะประธานกลุ่มต้นกล้าเพื่อการอนุรักษ์คลองอูตะเภา  อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งที่ชาวบ้านสบประมาทอย่างจังว่างานอนุรักษ์คลองอู่ตะเภาไม่มีวันทำได้

"บ้านผมอยู่พะตง แต่ไม่ได้อยู่ติดคลองนะ ผมทำให้เห็นว่าแม้ผมจะไม่ได้อยู่ติดคลองแต่พยายามทำเพื่อคลองอู่ตะเภาอย่างที่สุด" เขารู้ว่าคนแถวพะตงเคยเอาน้ำในคลองอู่ตะเภามากรองเพื่อดื่มเอง และจำหน่าย แต่พักหลังไม่สามารถดื่มได้&nbsp;  เพราะมีกลิ่นเหม็น<br />

เด็กหลายคนที่มาร่วมค่าย ฯ บ้านอยู่ริมคลอง ครอบครัวเอาน้ำจากคลองมาใช้ในการเกษตร  จับปลาในคลองมาเป็นอาหาร    ใช้คลองลงเล่นน้ำ  แต่ปัจจุบันไม่สามารถลงไปเล่นน้ำคลองได้อีก เพราะมีสารเคมีปนเปื้อน ทำให้มีอาการคัน สัตว์น้ำที่เคยจับมาเป็นอาหารก็หายไปมาก

แม้เป็นเรื่องยาก แต่เอกและเพื่อนที่ร่วมอนุรักษ์คลองอู่ตะเภาแอบหวังว่า อยากให้สายน้ำฟื้นคืนกลับสภาพเดิม&nbsp; อย่างน้อยสามารถนำมาใช้ทางการเกษตร&nbsp; หรือคนกลับไปจับปลาได้&nbsp; นำวิถีชีวิตคนริมคลองกลับมาให้มากที่สุด<br />

เอกเข้าเรียนชั้นม. 1 โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์  พอขึ้น ม.4 มีโอกาสเรียนหลักสูตรท้องถิ่น วิชารักษ์คลองอู่ตะเภา ช่วงนั้นอาจารย์ผู้สอนได้พานักเรียนลงวัดคุณภาพน้ำในคลอง  เริ่มมีคำถามถึงน้ำเสีย
เมื่อขึ้นชั้น ม.5 เอกได้รู้จักกับอาจารย์เบญจมาศ นาคหลง ผู้สอนวิชาศิลปะเพื่อชีวิต ริเริ่มทำหลักสูตรท้องถิ่น ด้วยกระบวนการที่ให้เด็กฝึกคิด  ทำกิจกรรม โดยให้เด็กสมัครใจ เอกเข้าร่วมกับกิจกรรมของอาจารย์  ทั้งออกวัดคุณภาพน้ำ ประชุมสิ่งแวดล้อมร่วมกับอาจารย์ในสถานที่ต่างๆ  ก็เลยติดใจและลงทำงานอย่างเต็มตัว เท่าทีจะปลีกเวลาจากการเรียนได้

การจัดค่ายฯครั้งนี้ อาจารย์เบญจมาศก็ยังตามมาให้กำลังใจเช่นเดิม โดยหลักคิดว่า  ฝึกให้เยาวชนทำงานเองให้เป็น ตั้งแต่หัดทำกระบวนการเอง รู้จักวางแผน  รู้อุปสรรคในการลงมือทำงาน  ครูจะไม่เข้าไปคอยชี้นำ หรือกำกับ สั่งการ นอกจากจะเป็นที่ปรึกษาอยู่ห่างๆ เท่านั้น

ครั้งหนึ่งเอก เคยล่องคลองอู่ตะเภาไปยังปลายน้ำ พบเห็นทั้งวิถีชีวิตที่งดงามของผู้คนสองฝั่ง แต่อีกมุมหนึ่งคือการทิ้งขยะลงคลอง เจอสภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลง แตกต่างไปแต่ละที่  นั่นเป็นสิ่งที่เด็กอย่างเขาไม่เคยรับรู้มาก่อน

แม้ครั้งหนึ่งเอกและเพื่อนเคยถูกสบประมาท ถูกมองอย่างเหยียดๆ ไม่แน่ใจในสิ่งที่ทำ  แต่วันนี้กลับได้ความร่วมมือมากขึ้นแม้แต่ จังหวัดสงขลา และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา  มีการตอบสนองที่ดีขึ้นของหน่วยงานราชการ เช่น เทศบาลพะตง

"สิ่งที่เยาวชน อยากให้คลองอู่ตะเภาเหมือนอดีต อยากให้ทุกคนทราบว่า อย่ามองว่าไม่ใช่ปัญหาของตนเอง ปัดสวะออกจากบ้านตัวเอง อย่างนั้นแย่ ซึ่งแม้คนที่ไม่อยู่ริมคลองยังทำเลย คนริมคลองถ้าไม่ไยดีก็น่าคิด"

เอกมองว่าที่ผ่านมาผู้ใหญ่ไม่ค่อยรับแนวคิด อาจจะมองว่าเพราะเป็นเพียงความคิดแบบเด็กๆ&nbsp; เสียเวลาเปล่า ก็ทำให้เด็กอึดอัดบ้างเหมือนกัน แต่ จากการได้ปรึกษากับอาจารย์ และผู้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าทุกคนต่างมีปัญหาทั้งนั้น&nbsp; การให้ได้ความร่วมมืออย่างแท้จริง ไม่ได้มาง่ายๆ&nbsp; เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม

"เด็กแสดงให้เห็นเปลี่ยนแปลงได้&nbsp; ไม่มากก็น้อย ดูจากที่เทศบาลพะตง ที่เดิมไม่ได้ตื่นตัวเรื่องนี้มากนัก ส่วนมากจะเน้นการสัมมนา แต่ไม่เคยลงมือปฏิบัติจริง แต่เมื่อกลุ่มเด็กตื่นตัว สะท้อนการทำงานออกมา ทำงานจริงจัง&nbsp; อยู่นิ่งไม่ได้&nbsp; เขาก็เลยมารับลูกหรือร่วมมือกับเรา โรงเรียนก็สนใจมาช่วย จากที่เคยมองเป็นเด็ก ที่ก้าวร้าวหัวรุนแรง หรือ เป็นเอ็นจีโอ ประจำโรงเรียน ก็คงเปลี่ยนไปบ้าง เราเองก็ปรับตัว หลายโรงเรียนสนใจ แต่ผู้บริหารบางแห่งไม่สนใจ "<br />

เอกมีความหวังส่วนตัวถึงขนาด จะผลักดันให้จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดต้นแบบทางด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ระดับที่ใครจะพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมจะต้องพูดถึงจังหวัดสงขลาก่อน

อนาคตของเอกหลังจบ ม.6 เขาอยากเรียนต่อระดับอุดมศึกษาทางด้านไบโอเทค อยากมีอนาคตทำงานเกี่ยวกับการวิจัยพืช วิจัยน้ำ และเกี่ยวกับก๊าซชีวภาพ เขายอมรับว่า  การได้ทำกิจกรรมอนุรักษ์คลองที่ผ่านมานี่เอง ทำให้เขากลายเป็นคนสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มตัว

และแม้ว่าวันข้างหน้าเขาไม่ได้ทำหน้าที่ตรงนี้แล้ว เขายังหว่านเมล็ดพันธุ์ ความคิดสำหรับต้นกล้าต้นใหม่ เอาไว้เรียบร้อยแล้ว  อย่างน้อยเด็กที่เข้าร่วมในค่ายครั้งนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของอนาคตนั้น

"น้องอัลเฟรด" ชั้น ป.2 จากโรงเรียนปริก  อ.สะเดา เห็นว่า การเข้าร่วมกิจกรรมค่ายเครือข่ายต้นกล้าเพื่อการอนุรักษ์ ในครั้งนี้ได้ประโยชน์มาก ทำให้เรียนรู้กระบวนการทำงาน มีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างเช่น สามารถกลับไปวัดคุณภาพน้ำ  และรู้วิธีในการแยกขยะ ส่วน "ป๊อบ" หนุ่มน้อย ม.4จากโรงเรียนหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกัลยา  เห็นว่ากิจกรรมค่ายนอกจากจะได้ความรู้ ทำให้ทุกคนตลอดแนวคลองอู่ตะเภามาพบรู้จัก แลกเปลี่ยน ความรู้กัน  ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์ในการทำงานร่วมกันในอนาคต

ค่ายเครือข่ายต้นกล้าเพื่อการอนุรักษ์ นับค่ายแห่งการเรียนรู้  ทำความรู้จักเพื่อการประสานความร่วมมือ กันในระดับต้นน้ำถึงปลายน้ำ  นับว่าเป็นนิมิตที่ดี เด็กเหล่าโตขึ้น คือผู้มีบทบาทอนุรักษ์คลองกันต่อไป แม้ว่าวันนี้เด็กบางคนอาจมีระดับความรู้ ความเข้าใจ และวิเคราะห์ปัญหาที่แตกต่างกัน  แต่เขาเหล่านี้ละคือความหวัง ที่ไม่เคยหมดหวัง

Relate topics

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว