สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

“กาลครั้งหนึ่ง...กับนิทานที่ต้องเล่า”

by punyha @11 เม.ย. 52 07:56 ( IP : 117...85 ) | Tags : แนะนำเครือข่าย
  • photo  , 640x480 pixel , 33,140 bytes.
  • photo  , 221x166 pixel , 11,619 bytes.
  • photo  , 124x166 pixel , 6,543 bytes.
  • photo  , 124x166 pixel , 6,382 bytes.
  • photo  , 221x166 pixel , 11,005 bytes.
  • photo  , 640x480 pixel , 33,140 bytes.
  • photo  , 816x612 pixel , 177,699 bytes.
  • photo  , 816x612 pixel , 158,849 bytes.
  • photo  , 640x480 pixel , 40,304 bytes.

คณะนิทานจากแดนไกลมาเปิดโลกทัศน์ใหม่ด้วยโครงการ “กาลครั้งหนึ่ง..กับนิทานที่ต้องเล่า” (Once upon a time..in Telling Your Story)

รศ.ดร.วยุพา ทศศะ  อาจารย์ประสงค์ สายพงศ์ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Yvonne Young นักเล่านิทานระดับโลกจากอเมริกา  หอบนิทานสนุกๆหลากหลายเรื่องราวมาฝากสมาชิกวิทยาลัยวันศุกร์ ครั้งที่ 434 ประจำวันที่21พฤศจิกายน 2551 ในค่ำคืนที่ต่างจากปกติ เพราะคลาคร่ำไปด้วยเด็กๆ

รุ่งขึ้น 22-23 พฤศจิกายน  พวกเขาเป็นวิทยากรโครงการกาลครั้งหนึ่ง..กับนิทานที่ต้องเล่า จัด ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ค่ายเสนาณรงค์ เทศบาลเมืองคอหงส์  โดยผู้เข้าร่วมเป็นครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดสงขลาและ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Yvonne Young  เปิดฉากเล่านิทาน นำทุกคนร้องเพลง ออกท่าออกทางประกอบ พร้อมกับให้ความรู้หลายแง่มุมเกี่ยวกับนิทานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เด็กประถมวัยไทย-อเมริกา อย่างเป็นกันเอง

คำอธิบายภาพ

สุวรรณี เกิดชื่น หรือ “ครูเล็ก”  ผู้นำกลุ่ม Sweetjunior ผู้ริเริ่มโครงการนี้เล่าว่า  นิทาน ถือว่าเป็นกระบวนการพัฒนาคนที่ได้ผล

“ตัวเองใช้กับลูกกับหลานมาแล้วเห็นพัฒนาการตรงนี้เยอะมาก เริ่มแรกเราเล่า แล้วมาอ่านนิทาน พออ่านเขาจะเรียกร้องนิทานต่างๆเหล่านั้น แล้วเขาพัฒนาการอ่านของเขาไปเรื่อยๆ” ครูเล็กเล่าความเป็นมาที่เกิดกับตัวเอง จากความสนใจส่วนตัวในระยะต่อมาเธอพยายามสรรหาว่าใครจะมาช่วยทำกระบวนการนี้ให้สมบูรณ์แบบ

“เราเองแค่เล่าในฐานะเป็นแม่ แต่ไม่รู้ว่ากระบวนการจริง มันเป็นอย่างไร บังเอิญอ่านหนังสือพิมพ์จุดประกายกรุงเทพธุรกิจราวปี 2539 เจอเรื่องอาจารย์วยุพา เลยเขียนจดหมายไปที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าอยากให้ อาจารย์มาทำขบวนการเล่านิทานให้กับเราอาจารย์ใจดีมากตอบรับหลังจากนั้นเราก็จะมีนักเล่านิทานลงมากับอาจารย์ตลอด”

ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้นมีกิจกรรมเล่านิทานต่อเนื่อง มีการเชิญนักเล่านิทานทั่วโลกมาร่วมงานด้วยเสมอ  ปกตินักเล่านิทานระดับโลกเดินทางมาในทวีปเอเชียหลายประเทศแต่จะไม่ได้มีเป้าหมายมาเล่านิทานในเมืองไทยโดยตรง ทางมหาวิทยาลัยรอจังหวะดังกล่าว เพื่อชวนพวกเขามาเมืองไทย

“บ้านเราไม่ได้เต็มที่กับเรื่องนี้จึงมีงบอุดหนุนน้อยมากที่ได้ตัวนักเล่านิทานมา เพราะเขาเดินทางผ่านมา สำหรับเราถือว่าตรงนี้เป็นผลพลอยได้อีกทาง เพราะเมื่อนักเล่านิทานระดับโลกมาเมืองไทยอาจารย์วยุพาจะโทรมาบอก ถ้าต่อมาได้จะ เชิญมาบ้านเราด้วย”ครูเล็กเล่า

คำอธิบายภาพ

แม้ไม่สามารถจัดได้ทุกปี แต่ครูเล็กเชื่อมต่อกับอาจารย์วยุพาจัดกิจกรรมนิทานในจังหวัดสงขลา ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี2539  ใช้ชื่อกิจกรรมนำว่า “กาลครั้งหนึ่ง ...” เปลี่ยนประโยคหลังมาเรื่อยๆ ตามแนวคิดหลักในแต่ละครั้ง จึงมีนักเล่านิทานต่างประเทศเดินทางมาแล้ว  5-6 คน  โดยครั้งนี้ใช้ชื่อว่า “กาลครั้งหนึ่ง...กับนิทานกับนิทานที่ต้องเล่า”

ครูเล็กบอกว่าใช้ชื่อนี้เพราะ จากการอ่านหนังสือพิมพ์ พบว่าหน่วยงานสำคัญระดับชาติต้องการมีนโยบายให้ศูนย์เด็กเล็ก เล่านิทานให้เด็กฟัง หรือนิทานพัฒนา ไอคิว อีคิวให้เด็ก&nbsp; “หัวข้อข่าวจะเป็นอย่างนี้แต่ไม่มีคนทำเรื่องนี้จริงจัง”<br />

เมื่อ Yvonne Young นักเล่านิทานจากอเมริกา เดินทางมาเมืองไทย ครูเล็กจึงไม่รีรอติดต่อผ่านอาจารย์วยุพาเชิญลงมาสงขลา

“เมื่ออาจารย์บอกว่าได้ เราหางบอุดหนุน ครั้งก่อนๆที่เราจัดเป็นค่ายเด็กเข้าร่วมต้องเสียเงิน  ครั้งนี้เราคิดว่าคนที่น่าจะได้เรียนรู้น่าจะเป็นครูจึงไปคุยกับครูเจี้ยบ (นงลักษณ์ ศรีชยาภิวัฒน์ ) ทางแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา ประเด็นเด็กและเยาวชน และอาจารย์พงค์เทพ (สุธีรวุฒิ) จากสว.รส.”

ครูเล็กตั้งใจว่าอย่างไรก็ต้องเชิญมาอยู่แล้ว ถ้าไม่ได้การอุดหนุนงบประมาณกะว่าใช้เงินส่วนตัว แต่ครูเจี๊ยบบอกว่ามีงบอยู่นิดหน่อย ส่วนอาจารย์พงค์เทพเห็นว่าควรเอานิทานไปผนวกกับ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้  เพราะ  Yvonne Young เชี่ยวชาญเรื่องนิทานสันติภาพ เคยได้รับรางวัลทางนี้มา

เมื่องบประมาณสองส่วนมารวมกัน และงบส่วนตัวของครูเล็กเองจึงลงตัวในเป้าหมายรวม เริ่มแรกมีแผนจะจัดงานที่จังหวัดยะลา อย่างไรก็ตามในที่สุดผู้จัดเห็นว่าการจัดที่หาดใหญ่น่าจะให้ความการสะดวก ปลอดภัยกับทีมวิทยาการ

ครูเล็กตั้งข้อสังเกตถึงสถานการณ์การเล่านิทานในปัจจุบันว่าน้อยลงจนน่าห่วง

“สมัยก่อนปู่ย่าตายายเล่า ทุกวันนี้ถูกแย่งโดยสื่ออื่น ไม่ว่าเด็กไทยหรือที่ไหน ก็จะมีปัญหานี้เหมือนกัน  ส่วนเทป ซีดีเรื่องนิทานไม่มีคุณค่าทางจิตใจ  คือฟังไปเฉยๆไม่อบอุ่น สังเกตถ้าเราเล่านิทานให้ลูกฟัง ลูกอยู่ที่ตักเรา เราได้มองตาเขา เขาก็ได้มองตาเรา  เขาจะมีคำถามโต้ตอบตลอด เป็นความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ซึ่งต้องทำ จึงจะรู้ แต่ถ้าฟังเทป ก็ไม่ได้ตรงนี้”

ครูเล่านิทานในห้องเรียนน้อยลง ไม่เหมือนสมัยก่อน  อย่างมากเปิดเทปให้เด็กฟังหรือดู ขาดการสัมผัสเด็กแต่ละคนโดยตรง

คำอธิบายภาพ

“เมื่อเราบอกว่า กาละ....ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว เด็กจะเริ่มมา ตาจะแป๋ว  นั่นคือส่วนหนึ่งที่คุณครูจะได้รับการตอบรับจากเด็กมากเลย แต่ว่าเรา ไม่ได้ทำ ไม่รู้ เพราะภาระ เวลาของคนรุ่นใหม่หรือเปล่า”

ครูเล็กเห็นว่าคุณค่านิทานมีเยอะ หลายคนบอกว่านิทานเป็นเรื่องเพ้อฝันแต่เธอเชื่อว่า เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น  ถ้าฟังกันดีๆ ฟังด้วยหัวใจจะรู้ว่าในนิทานมีความจริง เยอะมาก

“อย่างอาจารย์อีวานเขียนเอาไว้ในบทกวีของเขาว่าถ้าหากฟังนิทานอย่างตั้งใจ  นิทานคือความจริง ถ้าหากฟังลึกไปกว่านั้นความจริงเหล่านั้นจะมาหาเรา

เพราะฉะนั้นถ้าพ่อแม่เห็นคุณค่าของนิทาน สิ่งที่ได้จากนิทาน เรื่องราวของความดีต่าง ๆ ทุกอย่างในโลก ความรู้สึก ในนิทาน มีทั้ง กาย จิต วิญญาณ  ทุกอย่างอยู่ในนั้น  ถ้าหากเรายอมรับมันมีคุณค่ามหาศาล”

คำอธิบายภาพ

นงลักษณ์ ศรีชยาภิวัฒน์ หรือ “ครูเจี๊ยบ”  แห่งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบางดาน แกนนำแผนสุขภาพสงขลาประเด็นเด็กและเยาวชน มองว่านิทานเป็นสิ่งที่เด็กทุกคนต้องการและมันเป็นสื่ออย่างดี ที่จะทำให้เด็กมีจินตนาการ สามารถสอดแทรก เรื่องราวต่างต่างๆ ไม่ว่า จริยธรรม คุณธรรม ความเชื่อ ความดี ความงาม ความจริงให้กับเด็กได้ โดยเฉพาะเด็กตัวเล็กๆ ถ้าพ้นช่วงวัยนี้ไปแล้วอาจจะสายเกินไป

“มีโอกาสคุยกับพี่เล็ก(สุวรรณี) บอกว่ามีอาจารย์จากต่างประเทศก็คือ อาจารย์ อีวานมาเล่านิทาน ครูเจี๊ยบก็บอกว่าน่าจะเป็นโอกาสดีของครูในศูนย์เด็ก ซึ่งไม่ใช่มีครูเจี๊ยบคนเดียว  มีครูศูนย์เด็ก และคนที่ทำงานเกี่ยวกับศูนย์เด็ก มองว่านิทานมันต้องมีอยู่ทั่วไป  อยู่กับคนหลายกลุ่ม เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการสร้างอะไรดีๆให้กับ เด็กในจังหวัดสงขลาของเรา”

นอกจากครูเจี๊ยบประสานงบประมาณเกี่ยวข้องแล้วจึงยังทำหน้าที่ เชิญครูในศูนย์เด็ก 16 อำเภอในจังหวัดสงขลา ให้ทางชมรมผู้ดูแลเด็กแต่ละอำเภอ เลือกมา อำเภอละ 2 คน  เพื่อมาร่วมและกลับไปถ่ายทอดต่อในแต่ละพื้นที่

นอกจากครูพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ยังมีคนทำงานด้านเด็กอย่างกลุ่มนิทาน เช่น คณะนกน้อยหัดบิน  และครูจาก 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้  จังหวัดละ 3คน ตัวแทนโรงเรียนเอกชนที่มาเข้าร่วม เช่น โรงเรียนดิษฐพร อำเภอนาหม่อม  โรงเรียนสหศาสตร์  อำเภอหาดใหญ่ โรงเรียนบ้านนา อำเภอจะนะ  เป็นต้น

“คุณสมบัติของผู้มาร่วมต้องเป็นผู้ที่รักการเล่านิทานจริงๆ สามารถถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ได้ และสามารถที่จะนำไป สร้างนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการเล่านิทาน ในส่วนตัวเองและอำเภอตัวเองได้”

ครูเจี๊ยบมองว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วไป  โอกาสที่ครูจะได้รับการพัฒนาแบบนี้น้อยมาก  โครงการนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดี ที่ครูเหล่านี้จะได้รับเรื่องดีๆ มีพันธะสัญญากันเล็กๆว่า ในผู้มาร่วมโครงการว่าองค์ความรู้นี้จะต้องได้รับการพัฒนาต่อ

“คนที่มาคือคัดเลือกจากพื้นที่มาแล้ว2 คนที่มา จะกลับไปช่วยกันคิด เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ อาจใช้นวัตกรรมที่ตัวเองมีอยู่แล้วในพื้นที่ ของดีๆในบ้านเรา ก็มีอยู่เยอะแยะ นิทานพื้นถิ่น รวมกับที่วิทยากรมาให้เราผสมผสานกัน อาจจะเพิ่มเทคนิค หลากหลายรูปแบบ ต่อไป เรากำลังคุยกับแหล่งทุนว่า เมื่อเราได้องค์ความรู้จากตรงนี้มาแล้วน่าจะมี กลุ่มนิทานในจังหวัด ของเราไปพัฒนาแล้วมาเล่าสู่กันฟัง ดูซิว่าจะทำอะไรได้แต่ไหน”

ครูเจี๊ยบเล่าว่าตัวเธอเองได้รับการปลูกฝังนิทานมาตั้งแต่เด็ก นิทานมีหลากหลาย  เช่นเพลงกล่อมเด็ก แต่บางครั้งเราอาจจะหลงลืม  ที่อยากพัฒนาก็คือ เทคนิค กระบวนการต่างๆ

“ อย่างเช่นเราได้รับการเล่านิทานบางอบ่างมาตั้งแต่เด็ก ใช้เทคนิคแบบนั้น กับเด็กต่ออาจจะเป็นสิ่งเดิมๆแค่นั้น  เมื่อได้เห็นแบบอื่น อย่างอาจารย์ที่มาจากต่างประเทศ มีประสบการณ์เรื่องนี้ในหลายประเทศจะได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันด้วย ตรงนี้น่าจะเอามาปรับกันได้”

คำอธิบายภาพ

นฤมล หมัดสะหริ หรือ “ครูแดง” จากศูนย์เด็กเล็กบ้านบ่อแพ เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เล่าว่าได้มาร่วมโครงการ เพราะตัวเองเป็นคนที่ชอบนิทาน และเล่านิทานเก่ง  การเป็นครูประจำศูนย์เด็กเล็กมา 19 ปี บอกว่า การมาร่วมกิจกรรมวันนี้ถือว่าได้เทคนิค เพราะมองเห็นว่าแนวคิดจากวิทยากรทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา สามารถ เอามาแต่งเป็นนิทานได้

“ปกติจะเล่านิทานเก่ง จะเอามาจากหนังสือ อีสปอะไรแบบนั้น การปลูกฝังคุณธรรมเด็กจะไม่เล่าตามเนื้อหานั้นทั้งหมด แต่มีจะมีการแต่ง เสริม  สมมติว่าเรื่องเจ้าหนูจอมเกเร  เนื้อเรื่องอาจจะทื่อๆสั้นๆ แต่ของเราจะบอกว่า หนูตัวนี้พอไปเจอะอะไร จะใส่เนื้อหายาวน่าสนใจขึ้น”

ครูแดงมองว่านิทาน ช่วยพัฒนาเด็กได้มาก  ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ เด็กจิตใจอ่อนโยน  เด็กร้ายๆเอานิทาน ไปสอน เขาจะปรับตัวเองได้

“การเล่านิทาน ต้องใส่อารมณ์ น้ำเสียง คนเล่าเสียงดีไม่ดีไม่เป็นไร  แต่ต้องเสียงทำไปตามเนื้อเรื่อง อย่าอ่านหรือเล่าแบบทื่อๆ ไม่น่าสนใจท่าทาง ถ้าเป็นหนังสือต้องทำความเข้าใจมาก่อน ว่าตรงนี้ เป็นอย่างไร  เราอาจแต่งเอาเอง ไม่ต้องตามเขาทั้งหมด”

ทุกวันนี้พ่อแม่เด็กมักไม่ได้เล่านิทานให้ลูกฟัง  ครูแดงเล่าว่าเจอพ่อแม่บางคนมาบอกว่า เขาเสียอีกได้ฟังนิทานที่ครูแดงเล่าให้ฟังจากปากลูก

“ถามว่าทำไมไม่เล่าให้ลูกฟังบ้างเขาจะบอกว่าเล่าไม่เป็น ลูกเขาจะว่าพ่อแม่เล่าไม่หรอย(สนุก)  ครูแดงเล่าหรอยกว่า”

ตอนเย็นก่อนรอรับลูกกลับบ้าน ผู้ปกครองเสียอีกมาแอบนั่งฟังครูแดงเล่านิทาน เล่นเอาครูแดงต้องเล่าแบบเขินๆ

คำอธิบายภาพ

รศ. ดร. วยุพา ทศศะ เล่าว่านิทานมีส่วนช่วยพัฒนา คนไม่ว่าระดับไหน เพราะนิทาน โดยตัวของมันจะมีพลัง มีข้อคิด  มีภูมิปัญญาที่แทรกมาจากชนหลายรุ่น เพราะฉะนั้นจะมีพลัง ที่สะสมอยู่ในนั้น  เกิดใครได้สัมผัสแล้วจะรู้สึกในพลังนั้น “เวลาเราเล่านิทาน เราส่งจากใจ เมื่อเราส่งใจไป ทางนั้นเขารับด้วยใจ ถ้าเรามีสื่อที่จะเล่านิทานได้อย่างดี เราต้องการที่จะให้คนได้พัฒนาทางด้านไหน เราเลือกนิทานให้ตรง ให้มันเข้าไปถึงใจ  ก็จะอยู่ในตัวเขา เขาจะเกิดการเปลี่ยนแปลง คือพัฒนาไปในทางที่ดี”

เพราะฉะนั้นอาจารย์วยุพาจึวคิดว่านิทาน สำคัญมากตรงที่มีพลัง  การสื่อสารส่งผ่าน นิทานส่งผ่านด้วยวิญญาณ  ไม่เหมือนการเรียนจากสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ อย่างเช่นคอมพิวเตอร์ อะไรอย่างนั้น

“คอมพิวเตอร์เราไม่ได้ว่าไม่ดีแต่ถ้าอยู่อย่างนั้นนานๆ จะขาดสัมผัสของมนุษย์ขาด ความอ่อนโยน ขาดจิตวิญญาณ จะทำให้คนแข็งกระด้าง จะรับอะไรก็รับยาก เอาอะไรให้ก็ไม่รับ ปัญหา ก็จะเกิดขึ้นเยอะ”

อาจารย์วยุพาย้อนวัยเด็กของตัวเองให้ฟังว่า  แม่จะพาไปนอนเล่นที่ระเบียง แล้วก็นับดาว  เล่านิทาน  ทำให้มีจินตนาการไปต่างๆ นานา ในความสงบของธรรมชาติ  ผลจากสิ่งนั้นทำให้เป็นคนที่เข้าใจอะไรได้หลายๆ อย่าง มากกว่าคนที่ไม่ได้ฟังนิทาน  แต่สมัยนี้หายไปเยอะ  คิดว่าเพราะพ่อแม่ ผู้ปกครอง เห็นว่าตัวเองมีความจำเป็นต้องทำมาหากิน  กลับมาจากทำงานตอนเย็นก็เหนื่อยมากอยากจะนอน ไม่ได้คุยกับลูก หรือว่าบางคนไม่ได้ทำงานหนัก เหนื่อยอะไรมาก แต่ เนื่องจากมีสื่อ  พ่อแม่ก็อยากดูโทรทัศน์ ลูกก็เลยไปเล่นเกมคอมพิวเตอร์ อะไรอย่างนี้ ไม่มีความสัมพันธ์กันเลยในครอบครัว

“บางครั้งในบ้านพ่อแม่ดี ในบ้านทำกิจกรรมร่วมกันดี แต่เวลาว่างในโรงเรียนพ่อแม่หรือครู เคยติดตามไหมว่าเด็กไปไหน สื่อที่ทำให้เด็กเสีย ร้านคอมพิวเตอร์ ร้านเกม ศูนย์การค้าไปเที่ยวเตร่ก็ได้”
ถ้าเล่านิทานอาจารย์วยุพาเห็นว่าเด็กอาจมีความยั้งคิดอยู่ในใจบ้าง เพราะนิทาน แต่ละเรื่อง มีข้อคิดให้เด็กระลึก ถึงแม้เด็กเขาอาจ บอกว่าไม่อยากฟัง แต่เมื่อฟังแล้วแล้วข้อคิดเหล่านั้นจะซึมเข้าไปโดยเด็กเองไม่รู้ตัว

“เราต้องฟื้นฟูแต่จะฟื้นฟูตรงไหน&nbsp; ต้องเริ่มต้น ที่เด็กเล็กๆ ก่อนวัยเรียนให้เขาได้ฟัง นิทานอย่างน้อยจากครูบาอาจารย์ หรือส่งเสริมให้ผู้ปกครองมาด้วย อย่างจัดกิจกรรมแบบนี้ให้ผู้ปกครองเด็กมาร่วมกัน”ถ้ามีกิจกรรมมากขึ้น จะขยายไปเรื่อยๆ แต่อาจารย์ยังอดมองไม่ได้ว่ากลุ่มผู้ปกครองทุกวันนี้ยากตรง ที่เขามีอาชีพแต่ไม่มีเวลา<br />

คำอธิบายภาพ

อาจารย์ยกตัวอย่างในอเมริกา ห้องสมุดประชาชนให้คุณแม่ตั้งท้องมานั่งฟังนิทาน ลูกในท้องจะได้ฟังด้วย พอผ่านไประยะหนึ่ง ในวัยเตาะแตะ ในเปล เขาจะมีกิจกรรมให้มาฟังนิทาน&nbsp; เริ่มคลานมีกลุ่มหนึ่ง โตมาหน่อยก็มีกลุ่มหนึ่ง ถ้าเด็ก เดินเอง ก็มีกลุ่มหนึ่ง กิจกรรมแบบนี้เยอะ แต่ประเทศไทยเรายังไม่มีเพราะยังไม่เห็นความสำคัญเท่าที่ควร สำหรับนิทานในทีวี ในสื่อจะต่างกันมาก<br />

“มันไม่มีชีวิต จิตใจ แล้วก็ เด็กจะไม่ได้สัมผัสความรัก ความอ่อนโยน และสายตามที่แม่มองมา ด้วยความรัก เด็กจะได้แต่เรื่อง ที่ร้ายคือบางสื่อ หรือบริษัทที่ทำนิทาน ไม่พิถีพิถัน&nbsp; จะเอานิทาน และใช้ภาษาที่หยาบ เด็กก็จะฟังมาแบบนั้น เขาจะสนุกสนาน แต่ซึมสิ่งที่หยาบกระด้างเหล่านั้นไปด้วย หรือในโทรทัศน์ มันเป็นสื่อสำเร็จรูป เด็กมองเห็นรูปไปด้วย เลยไม่ได้ใช้จินตนาการ&nbsp;  เหมือนสะกดบังคับให้เขาดู ตาเขาดู สมองเขาชา เพราะได้เห็นภาพที่จัดมาบ่อย ๆทำให้สมองไม่ได้ฝึกความคิด&nbsp; เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กอยู่เฉยๆ เท่านั้นเอง ไม่ได้สร้าง อะไร ให้เกิดจินตนาการ หรือพัฒนาประสาทสักอย่าง”

อย่างไรก็ตามอาจารย์มองว่าสงขลามีความหวังเรื่องนิทานอยู่มากเพราะเป็นพื้นที่มีกิจกรรมากมาย&nbsp; มีคนอันมีแนวคิดที่ อยากจะช่วยเหลือคนอื่นเยอะ ยิ่งถ้ามี เยอะต่อไป ถือว่าเยี่ยมมาก .

Relate topics

Comment #1ชอบค่ะ
Posted @20 เม.ย. 52 14:57 ip : 222...250

ได้ไปร่วมกกิจกรรมเล่านิทานที่วิทยาลัยวันศุกร์ บรรยากาศดีค่ะ มากันเป็นครอบครัว เด็ก ๆ สนุกสนานกันใหญ่ น่าจะมีอีกนะค่ะ ชวนเพื่อนสมาชิกชาวยกันเรียกร้องพื้นที่หรือกิจกรรมดีแบบนี้ให้มีมาขึ้นในสงขลาบ้านเราค่ะ หรือใครทำกิจกรรมดี ๆ อยู่ที่ไหนแจ้งข่าวกันมานะค่ะ จะได้มีโอกาสรู้จักกัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันค่ะ

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว