สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

1468 items|« First « Prev 2 3 (4/147) 5 6 Next » Last »|
โดย Little Bear on 23 มิ.ย. 55 19:33

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจการเมืองเป็นเรื่องปวดสมอง เบลเยียมเป็นประเทศที่ระบบการเมืองไม่ได้เข้มแข็งเหมือนหลายประเทศในยุโรป ที่นี่มีรัฐบาลผสมมาโดยตลอด โดยสามพรรคการเมืองสำคัญคือ พรรคสังคมนิยม(Social Democratic Party) พรรคคริสเตียนประชาธิปไตย(Christian Democratic party) และพรรคเสรีนิยม(Liberal Party) ซึ่งเป็นตัวแทนของสามอุดมการณ์ พรรคสังคมนิยมแทบจะได้ร่วมรัฐบาลตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ทำให้ทิศทางประเทศมีความสมดุลย์ของความเป็นสังคมนิยมในประเทศทุนนิยมอยู่มาก แต่ในช่วงระยะหลังพรรคการเมืองชาตินิยมของภูมิภาคทั้งที่พูดดัชต์และพูดฝรั่งเศสก็ได้รับคะแนนสนับสนุนมากขึ้น พรรคเหล่านี้มีจุดขายคือการกระจายอำนาจอย่างสุดขั้ว และการปกป้องชุมชน อาจรวมถึงการกีดกันคนต่างชาติที่หลั่งไหลเข้าเมืองอย่างมากด้วย จนน่ากลัวว่

โดย punyha on 23 พ.ค. 55 15:43

มูลนิธิชุมชนสงขลา ขอเชิญอาสาสมัครร่วมคัดแยกเสื้อผ้ามือสอง ณ วัดคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ทุกวันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 16.00 น.

เริ่ม 27 พฤษภาคม 2555

10 , 17 , 24 มิถุนายน 2555

รายได้สมทบกองบุญฟื้นฟูผู้ประสบภัยและกองทุนศูนย์ราษฏร์พัฒนาคนพิการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิชุมชนสงขลา โทร.074-221286

ผู้ประสานงาน 083-6514191 , 087-2956750

โดย Little Bear on 23 พ.ค. 55 01:05

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจอาคารชื่อ Berlaymont นี้เป็นอาคารที่ทำการหลักของสหภาพยุโรป ตั้งอยู่ในกรุงบรัสเซลส์ มีขนาดใหญ่โตไม่น้อย สหภาพยุโรปเป็นองค์กรเหนือรัฐที่ดูแล 27 ประเทศสมาชิก ประชากรกว่า 500 ล้านคน แต่พื้นที่ใช้สอยของอาคารก็ไม่น่าจะมากกว่ากระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทยที่ตั้งอย่างสง่างามที่นนทบุรี แม้แต่ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขของจีนเองก็เคยตกใจเมื่อมาเยือนว่าไฉนจึงใหญ่โตกว่ากระทรวงสาธารณสุขของจีนที่มีประชากรกว่าพันสองร้อยล้านคนได้น่าดีใจที่วันนี้ 10 ชาติอาเซียนเปลี่ยนจากชื่อจากสมาคมประชาชาติอาเซียนที่ชื่อเน้นความเป็นรัฐชาติมาเป็นประชาคมอาเซียนที่สื่อความหมายถึงการเน้นการเป็นประชาคมของคนสิบชาติแต่หลายร้อยชนเผ่ามารวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคม แต่ 10 ชาติจะรวมเป็นหนึ่งอัตลักษณ์หนึ่งจุดหมายค

โดย Little Bear on 18 พ.ค. 55 23:51

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจเบลเยียมได้รับเอกราชแยกจากเนเธอร์แลนด์ในปี คศ. 1830 โดยเป็นหนึ่งในประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เบลเยียมมีประชากร 11 ล้านคน พื้นที่เล็กกว่าประเทศไทย 16 เท่า เป็นประเทศที่เหมาะสมกับการเป็นเมืองหลวงของยุโรป เพราะเป็นประเทศที่ไม่มีอัตลักษณ์ทางภาษาของตนเอง รบไม่เคยชนะใคร เป็นดินแดนที่ถูกปกครองโดยประเทศใหญ่กว่ามาตลอด และมีทำเลดีคือเป็นประเทศเล็กๆที่รายรอบด้วยมหาอำนาจฝรั่งเศส เยอรมันและอังกฤษเบลเยียมกระจายอำนาจการปกครองเป็น 3 ภูมิภาคคือ เมืองหลวง (Brussels region) ตั้งอยู่กลางประเทศ ผู้คนใช้ภาษาทั้งฝรั่งเศสและดัชต์ ภูมิภาควอลลูน (Wallonia region) ตั้งอยู่ครึ่งซีกใต้ ผู้คนใช้ภาษาฝรั่งเศส และภูมิภาคฟลานเดอร์(Flanders Region) ตั้งอยู่ครึ่งซีกเหนือและผู้คน

โดย Little Bear on 16 พ.ค. 55 22:42

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจป้ายสีน้ำเงินรูปห้าเหลี่ยมที่เห็นนี้จะสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปเมื่อเดินชมเมืองในย่านเมืองเก่าของเบลเยียมและยุโรป ที่นี่เขาเรียกกันสั้นๆว่าสัญลักษณ์โล่สีน้ำเงิน หรือ blue shield เป็นป้ายสัญลักษณ์อาคารอนุรักษ์ (Protected heritage) ตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมจากสถานการณ์ความขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธ (The Hague Convention for the Protection of Cultural Property in the Event of Armed Conflict) ซึ่งประกาศในปี 1954 และมีการลงนามรับรองกว่า 90 ประเทศ (ไทยลงนามไหมไม่รู้) อนุสัญญานี้เป็นผลมาจากบทเรียนจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่สองที่สิ้นสุดในปี 1945 และส่งผลอย่างร้ายแรงในการทำลายมรดกทางวัฒนธรรมมากมายในระหว่างสงครามแม้ว่าตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แทบจ

โดย Little Bear on 15 พ.ค. 55 18:45

เมื่อผมมาถึงเบลเยียม หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ผมได้รับการปฐมนิเทศแนะนำบอกกล่าวจากเจ้าของบ้านเช่า คือ เรื่องวิธีการแยกขยะ การจัดการขยะของเบลเยียมเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมากสำหรับสังคมไทย บ้านเราแม้จะพยายามแยกขยะ แต่สุดท้ายรถขนขยะก็โยนเข้าไปในกองเดียวกัน ผู้คนจึงหมดกำลังใจในการแยกขยะไปโดยปริยาย แต่ที่นี่ในวันนัดเก็บขยะประจำสัปดาห์ รถเก็บขยะมากัน 4 คัน เพื่อเก็บขยะ 4 ประเภท ที่แต่ละบ้านแยกไว้แล้ว คนแยกขยะก็มีกำลังใจในการแยกขยะ เทศบาลก็จัดการขยะต่อได้ง่ายขึ้น อันนี้คือหัวใจของความสำเร็จในสายตาของผม

โดย Little Bear on 15 พ.ค. 55 09:37

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสิทธิพลเมืองที่สำคัญของประเทศที่พัฒนาแล้ว สำหรับประเทศเบลเยียมนั้น เป็นพันธกิจของรัฐที่ต้องจัดระบบให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยมี NIHDI (National Institute for Health and Disability Insurance) เป็นองค์กรของรัฐในการจัดระบบหลักประกันสุขภาพเช่นเดียวกับ สปสช.เบลเยียมใช้ระบบกองทุนสุขภาพกองทุนเดียว คือไม่ว่าเงินจากงบประมาณ จากประกันสังคม หรือภาษีเฉพาะ ล้วนนำมาคลุกและบริหารร่วมกันเป็นกองทุนเดียว เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวในการระบบบริการสุขภาพสำหรับทกคน คนส่วนใหญ่เข้าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแบบประเภทจ่ายไปก่อนแล้วค่อยเบิกเงินคืนในภายหลัง (reimbursement system) ซึ่งจะได้เงินคืนราว 80%ของที่จ่ายไป คือต้องร่วมจ่ายราว 20% ระบบที่ 2

โดย Little Bear on 13 พ.ค. 55 19:02

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจจัตุรัสโกรทมาร์ก(Grote Markt) ในแอนเวิร์ปต่างจากจัตุรัสในบรัสเซลส์ จตุรัสที่นี่จะไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่จะเป็นรูปสามเหลี่ยมตามคติการสร้างจัตุรัสของจักรวรรดิเยอรมันในอดีต ในขณะที่บรัสเซลส์จะเป็นจัตุรัสจริงๆตามคติการสร้างจัตุรัสของฝรั่งเศส ที่แอนเวิร์ปไม่เฉพาะจัตุรัสเท่านั้นที่เป็นสามเหลี่ยม ผังเมืองโดยรวมในเขตเมืองเก่าก็จะเต็มไปด้วยห้าแยกหกแยก เป็นเหลี่ยมมุมที่ไม่เป็นตารางเหลี่ยมๆหรือเป็นสี่แยกแบบที่นิยมในระบบผังเมืองสมัยใหม่จัตุรัสแห่งนี้คือศูนย์กลางของเมือง เป็นที่ตั้งของศาลาว่าการของเมือง เป็นตลาดที่ผู้คนมาจับจ่ายแลกเปลี่ยนสินค้า มีอาคารสูงสง่าในสมัยนั้นตั้งอยู่รายรอบ แอนเวิร์ปเป็นท่าเรือใหญ่ที่สองของยุโรปในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีอาคารสูงในรูปใช้เป็นที่ตั้งของ

โดย Little Bear on 11 พ.ค. 55 19:11

วิดีโอสงขลาพอเพียง ฉายเปิดตัวในงานสงขลารวมพลคนพอเพียง เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2555

โดย Little Bear on 11 พ.ค. 55 18:57

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจเบลเยียมเข้าสู้สังคมชราภาพอย่างเต็มตัว ในปีคศ. 2009 ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีมีถึง 17% และจะเป็น 25%ในปีคศ. 2040 สิทธิในการตายอย่างสงบจึงสำคัญ และมีกฎหมายรับรองสิทธิการตายอย่างสงบตั้งแต่ปี คศ.2002สิทธิในการตายอย่างสงบนั้นมี 2 ลักษณะที่แตกต่างกัน สิทธิอย่างแรกคือสิทธิในการไม่ขอรับการรักษาทางการแพทย์ต่อไปเมื่อสิ้นสติสัมปชัญญะ เช่นไม่ขอใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่ขอให้แพทย์ยื้อชีวิตในวาระสุดท้ายของชีวิต แต่เนื่องจากในช่วงเวลานั้นผู้ป่วยมักจะไม่มีสติพอที่จะแสดงเจตจำนงนี้ได้ การแสดงเจตจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น สิทธิการตายอย่างแรกนี้เข้าใจได้และเป็นที่ยอมรับกันในสังคม สิทธิอย่างที่สองคือสิทธิของผู้ป่วยระยะท้ายๆของชีวิตที่ไม่มีทางรักษาหายหรือมีความท

1468 items|« First « Prev 2 3 (4/147) 5 6 Next » Last »|