สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

แนะนำเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา

by kai @18 พ.ค. 48 13:49 ( IP : 61...150 ) | Tags : แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
photo  , 444x292 pixel , 34,401 bytes.

เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา สนับสนุนโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ความเป็นมา :

ภาคประชาชนของจังหวัดสงขลาได้รวมกลุ่มกันมาตั้งแต่ 2526 และขยายผลชัดเจนประมาณปี 2530 เริ่มจากความที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมของทะเลสาบสงขลา ต่อมาได้ร่วมกันการผลักดันรัฐธรรมนูญปี 2540 ร่วมแก้ปัญหาความขัดแย้งของประมงพื้นบ้านกรณีปลากะตัก เกิดกลุ่มองค์กรต่างๆ เช่น องค์กรภาคประชาชน องค์กรชุมชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มแพทย์แผนไทย กลุ่มเด็กไทยหัวใจไทย ได้มีการระดมความคิดในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ จากนั้นมีการลงพื้นที่ติดตามและเผยแพร่ในสื่อเพื่อประชาสังคม ที่สถานีวิทยุ สทร. และ อสมท. เมื่อครบหนึ่งปีจึงสรุปบทเรียนร่วมกัน

ในการเกิดประชาคมสุขภาพสงขลา มีการเตรียมการ จำนวนกรรมการ องค์ประกอบแต่ละส่วน ในส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะจัดการโดยโครงสร้างที่มีอยู่เดิมของแต่ละองค์กร ในส่วนภาคประชาชนจะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณสุขจังหวัด เกิดการจัดการให้รับรู้โดยจัดเวทีให้ครอบคลุมพื้นที่ 16 อำเภอของสงขลา

ปี 2543 ถึง ปี 2544 เกิดสงขลาฟอรั่ม ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ซึ่งดำเนินการโดยอาจารย์พรรณิภา โสตถิพันธุ์ ต่อมาทีมงานบริโภคเพื่อชีวิต มูลนิธิรักบ้านเกิดภาคใต้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้จัดกระบวนการคัดสรรกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ของภาคประชาสังคม ปลายปี 2544 ถึง ปี2545 ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) จัดเวทีเพื่อสร้างยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ในการพัฒนาชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาพของสงขลา

ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพสงขลา โดยมียุทธศาสตร์พัฒนาองค์ความรู้สร้างทางเลือก และยุทธศาสตร์การประสานภาคีเป็นกรอบหลัก ในระหว่างการดำเนินงาน จะค้นหายุทธศาสตร์เชิงประเด็น จากการทำงานระดมความคิด กิจกรรมเวทีเรียนรู้ในพื้นที่ ประเด็นร่วมคือ เกษตรเพื่อสุขภาพ อาหารปลอดภัย ออกกำลังกาย สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา สื่อพื้นบ้าน สื่อสารสาธารณะ การมีส่วนร่วมในระบบบริการ และประเด็นอื่นๆ เช่น การสร้างภาคีเครือข่ายพื้นที่ เครือข่ายครอบครัว โรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพ

ขณะเดียวกัน สปรส. (สำนักงานปฎิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ) ก็ได้จัดเวทีต่างๆในระดับพื้นที่ต่างๆ เพื่อรวมรวบความคิดเห็นในการผลักดัน พรบ. สุขภาพแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ เช่น สวรส ( สำนักงานวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้) สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) พอช. (องค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้) รวมทั้งหน่วยงานสุขภาพในพื้นที่ของรัฐ ร่วมผลักดัน

โครงการการพัฒนาเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ ได้เริ่มดำเนินงานระยะเวลา 3 ปี คือ ปี 2546 ถึง ปี 2549

ผู้รับผิดชอบจากส่วนกลาง : ดร.วณี ปิ่นประทีป ผู้จัดการโครงการ

ผู้รับผิดชอบระดับจังหวัด : นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

ที่อยู่ : 2 ถ.ไทยสมุทร ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร& Fax : 074-423711

บทบาท

เป็นองค์กรที่ช่วยเร่งพัฒนาการ องค์กรอื่นๆ โดยใช้เงินทุนเป็นเครื่องมือ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย

เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพระดับจังหวัด ตั้งเป้าว่าอยากให้มีกลไกการจัดการระดับจังหวัดที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และควรเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ คือมีความยั่งยืน และเป็นนวัตกรรม

งบประมาณ

ให้จังหวัดละ 3 ล้านบาทต่อปี โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1 ล้านบาทเป็นงบจัดกิจกรรมของเครือข่าย 30% เป็นงบบริหารจัดการกิจกรรมเครือข่าย 25% เป็นค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ อีก 70% จัดกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่าย จัดประชุม อีก 2 ล้านบาท เป็นงบสำหรับสนับสนุนโครงการย่อยๆในพื้นที่

พื้นที่เป้าหมาย จังหวัดสงขลา

คณะกรรมการบริหาร

องค์ประกอบ

ประกอบด้วยผู้แทนจาก 4 ภาคีสร้างเสริมสุขภาพ อันได้แก่ ภาคราชการ ภาคการเมืองท้องถิ่น ภาคประชาชน และนักวิชาการโดยคัดสรรบุคคลที่มีศักยภาพในการหนุนเสริมการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ และสามารถกำกับติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของคณะทำงาน ดังนี้

  1. ภาคราชการ ได้แก่
    • นพ.ธีรวัฒน์ กรศิลป์ นายแพทย์ 9 ด้านเวชกรรม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

  2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่
    • นายนวพล บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
    • นายอุทิศ ชูช่วย นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลา
    • นายสินธพ อินทรัตน์ ประธานสมาพันธ์นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสงขลา

  3. ตัวแทนภาคประชาชน ภาคเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ได้แก่
    • นายลัภย์ หนูประดิษฐ์
    • นางพิกุล บุรีภักดี
    • นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล
    • นายพิชัย ศรีใส

  4. นักวิชาการด้านสุขภาพ และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่
    • รศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

  5. เลขานุการของคณะกรรมการ คือ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ



บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
  1. มีหน้าที่ให้การสนับสนุน ดูแลการทำงานของคณะทำงานให้เป็นไปตามแผนงาน
  2. ร่วมผลักดันความร่วมมือในการสร้างสุขภาพคนสงขลาในประเด็นร่วมที่มีความสำคัญ โดยการประสานพลังของทุกภาคส่วนในการสร้างสุขภาพคนสงขลา ร่วมกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ภารกิจ แผนงาน การหนุนเสริมทั้งด้านนโยบายสาธารณะ กำลังคน วิชาการหรืองบประมาณ เพื่อให้ประเด็นร่วมนั้นได้รับการบรรลุเป้าหมายในการแก้ปัญหาเพื่อเป็นต้นแบบความร่วมมือทุกภาคส่วนในการสร้างสุขภาพคนสงขลา
  3. ให้คำชี้แนะหรือข้อคิดเห็นต่อการพิจารณาสนับสนุนโครงการแก่กลุ่มต่างๆที่ขอรับทุนสนับสนุนจากภารกิจ node สสส.
  4. หนุนเสริมภาคีหรือองค์กรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพให้สามารถปฏิบัติการในการร่วมสร้างสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. มีวาระการประชุมสม่ำเสมอทุก 3 เดือน

คณะทำงานของโครงการ

มีหน้าที่ ร่วมคิด ร่วมผลักดันภารกิจของการเป็น node สสส.และองค์กรสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของคนสงขลาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

คณะทำงานประกอบไปด้วย

  1. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ
  2. นางพิชยา แก้วขาว รองผู้จัดการใหญ่โครงการปฎิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่, อนุกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
  3. ผู้ใหญ่บรรเจต นะแส ประชาคมจังหวัดสงขลา
  4. อาจารย์ชโลม เกตุจินดา ประชาคมจังหวัดสงขลา
  5. นายบัญชร วิเชียรศรี สื่อมวลชน
  6. นายชาคริต โภชะเรือง นักวิจัยอิสระ

มีวาระการประชุมสม่ำเสมอทุก 1 เดือน

ผู้ประสานงานกลาง

ทำหน้าที่เป็นเสมือนหัวหน้ากองเลขาของคณะทำงาน มีภารกิจในการปฎิบัติงานตามแผนงานของโครงการ เป็นกลไกกลางในการทำงาน หนุนเสริม ประสานงานทุกฝ่ายร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน และเจ้าหน้าที่ข้อมูล

โดยผู้ประสานงานกลางและกองเลขาประกอบด้วย

  1. นายชาคริต โภชะเรือง ผู้ประสานงานกลาง
  2. นส.กมลทิพย์ อินทะโณ เจ้าหน้าที่ธุรการ การเงินและบัญชี
  3. นส.วรรณา สุวรรณชาตรี เจ้าหน้าที่ข้อมูลและประสานงาน

สื่อของเครือข่าย :

  1. http://www.songkhlahealth.org
  2. จดหมายข่าว "สุขภาพคนสงขลา" ราย 2 เดือน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. มีกลไกการจัดการงานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพระดับจังหวัด
  2. มีนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
  3. มีการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ

Relate topics

Comment #1
สายใจ (Not Member)
Posted @2 ก.ย. 49 01:05 ip : 203...11

พอช. (องค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้)  แก้ให้ถูกเป็น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

Comment #2แนะนำเวบ ชมรมไท้เก๊กเทศบาลนครหาดใหญ่
นุ่น (Not Member)
Posted @5 พ.ย. 51 12:51 ip : 118...124

แนะนำเวบ ชมรมไท้เก๊กเทศบาลนครหาดใหญ่

http://taichi-hatyai.net23.net/

สำหรับชาวหาดใหญ่ที่สนใจด้านสุขภาพการออกกำลังกายไท้เก๊ก

ชมรมไท้เก๊กเทศบาลนครหาดใหญ่  เปิดสอนไท้เก๊กฟรี ให้สมาชิก

เชิญสมัครเป็นสมาชิกได้ที่ สนามกีฬากลางจิระนคร โถงอเนกประสงค์ ข้างสนามเทนนิส เวลา 17.00 - 19.00 น

Comment #3เวบ ชมรมไท้เก๊กเทศบาลนครหาดใหญ่ ย้ายไปที่อยู่ใหม่ เป็น http://ta
นง (Not Member)
Posted @8 ก.ค. 57 10:55 ip : 115...131

เวบ ชมรมไท้เก๊กเทศบาลนครหาดใหญ่ ย้ายไปที่อยู่ใหม่ เป็น http://taichihatyai.com/

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว