สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

เสี้ยวศตวรรษชมรมแพทย์ชนบท

by kai @14 ธ.ค. 47 22:26 ( IP : 61...150 ) | Tags : มุมมองหมอ

เสี้ยวศตวรรษชมรมแพทย์ชนบท จากขบวนการแพทย์ชนบทถึงสถาบันเครือข่ายแพทย์ชนบท

นพ. ชูชัย  ศุภวงศ์ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท 2 สมัย (พ.ศ. 2529 - 31)

    ในโอกาสที่ชมรมแพทย์ชนบทจัดประชุมวิชาการประจำปีในวันที่  21  สิงหาคม  2547  และเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี   ของการ

ก่อตั้งชมรมแพทย์ชนบท (กุมภาพันธ์ 2521)  จึงเป็นโอกาสดีที่จะมาทบทวนขบวนการแพทย์ชนบททั้งหมด  เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางในอนาคต  ในการมองอนาคตนั้น  หากสามารถเหลียวมองไปข้างหลังได้ไกลเท่าไร  ก็ย่อมแลไปข้างหน้าได้ไกลและชัดมากขึ้นเท่านั้น

    คนโบราณถือว่าวัยเบญจเพส  (เบญจ แปลว่า ห้า  บวกกับ  วีส  แปลว่า ยี่สิบ)           เป็นวัยที่สำคัญ เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลง  เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต  จึงมักเตือนคนในวัยนี้ให้ครองตนด้วยความไม่ประมาท  เพราะอาจถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญ  หากก้าวแรกมั่นคงก็จะเป็นฐานของชีวิตสำหรับก้าวต่อไปในอนาคต

๑.  การก่อกำเนิด คงจะยากที่จะปฏิเสธว่าชมรมแพทย์ชนบทได้สืบสานเจตนารมณ์จากสหพันธ์แพทย์ชนบท (เมษายน  2519)  หลังก่อตั้งสหพันธ์แพทย์ชนบทได้เพียง  4  เดือนเท่านั้น  ก็เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม  2519  ขึ้น  สหพันธ์ ฯ จึงต้องยุติบทบาทไป  อย่างไรก็ตามในวารสารสหพันธ์แพทย์ชนบท  ฉบับเดือนสิงหาคม  2519  ได้บันทึกความตอนหนึ่งไว้  ซึ่งสะท้อนให้เห็นจิตสำนึกสาธารณะ 14 ตุลา 2516  และ 6 ตุลาคม 2519 ว่า  "....สหพันธ์แพทย์ชนบทจะเป็นศูนย์กลางในการสรุปความจัดเจนของพวกเขา และสนับสนุนนโยบายสาธารณสุขที่เอื้อประโยชน์แก่สาธารณชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง  สหพันธ์แพทย์ชนบทจะเป็นกำลังส่วนหนึ่งในการผลักดันให้การบริการแพทย์และสาธารณสุขไปสู่ชนบทได้ปรากฎเป็นจริงขึ้นมาในอนาคตอันใกล้นี้  นี่คือภาระหน้าที่อันสูงส่งและมีเกียรติของสหพันธ์แพทย์ชนบท !"

    ดังนั้น  จึงอาจกล่าวได้ว่าการเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของชมรมแพทย์ชนบทเป็น                 ปรากฏการณ์ทางสังคมอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม  2516 และ 6 ตุลาคม 2519 โดยแท้

๒.  พัฒนาการ นับจากเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521  จวบจนปัจจุบัน  ชมรมแพทย์ชนบทได้แสดง            บทบาทในการพัฒนาระบบงาน  ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในโรงพยาบาลอำเภอ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลชุมชน)  บทบาทในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยอาศัยโรงพยาบาล ชุมชนเป็นฐาน  หรือเป็นกลไกในการสนับสนุนประชาสังคมท้องถิ่น  บทบาทในการทำงานร่วมกับเครือข่ายประชาคมสาธารณสุข เช่น คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนด้านสาธารณสุข (คปอส.)  กลุ่มศึกษาปัญหายา เป็นต้น  บทบาทในองค์กรวิชาชีพ เช่น แพทยสภา ต่อมาได้ขยาย บทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกโดยอาศัยความร่วมมือจากสังคม (Social mobilization) เช่น โครงการวิ่งรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่คนไทยร่วมลงชื่อกว่า 6 ล้านรายชื่อ  บทบาทในด้าน การสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยผ่านทางองค์การอนามัยโลก กระทรวงสาธารณสุข สถาบัน วิชาการในต่างประเทศ และองค์กรภาคประชาสังคมในต่างประเทศที่สมาชิกแพทย์ชนบท แต่ละคน ได้สร้างเครือข่ายออกไปอย่างกว้างขวาง  บทบาทในการสร้างธรรมาภิบาลในกระทรวงสาธารณสุข  ไม่ว่าจะเป็นกรณี แต่งตั้งโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม  หรือกรณีทุจริตยาจนสามารถขับไล่นักการเมืองระดับรัฐมนตรี  และข้าราชการที่ทุจริตให้พ้นจากกระทรวง ฯ ได้  ต่อมาได้ขยายบทบาทในการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ  โดยมีส่วนสำคัญในการผลักดันนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ รัฐบาลปัจจุบันนำไปใช้และเรียกว่า  นโยบาย 30 บาทรักษา ทุกโรค  บทบาทในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ  ตลอดจนการพัฒนากลไกในการปฏิบัติตามแผน ฯ บทบาทในการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเมืองในคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.)  ซึ่งเป็นฐานความรู้ที่สำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  นอกจากนี้  ยังได้แสดงบทบาทที่สำคัญในการติดตามตรวจสอบนโยบาย  30 บาท  บทบาทในการผลักดันนโยบายสาธารณะที่ดี  (ร่าง พ.ร.บ.ประกันสุขภาพแห่งชาติ)  ซึ่งสร้างการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในขอบเขตทั่วประเทศ  และบทบาทอื่น ๆ ที่ไม่สามารถกล่าวได้ทั้งหมด ณ ที่นี้

    พัฒนาการดังกล่าวข้างต้นของขบวนการแพทย์ชนบทตลอดเสี้ยวศตวรรษที่ผ่านมา&nbsp; ได้บ่มเพาะหล่อหลอมและพัฒนาความคิด&nbsp; จิตสำนึกสาธารณะ อุดมการณ์ และศักยภาพของแพทย์ชนบท&nbsp; ทั้งในด้านวิชาการความรู้ การเคลื่อนไหวทางสังคม&nbsp; ตลอดจนการสื่อสารสาธารณะ<br />

๓.  ศักยภาพและโอกาส อันที่จริงแพทย์ชนบทไม่ใช่ผู้วิเศษมาจากไหน  เป็นปุถุชนคนธรรมดาที่ยังมีกิเลส
มีผิดมีถูก  มีทุกข์มีสุข  แต่การเกิดขบวนการแพทย์ชนบทเป็นอิทัปปัจจยตา  (ความมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย  สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น)  ทางสังคมที่เกิดขึ้นในแผ่นดินนี้  การช่วยกันวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้ เห็นถึงศักยภาพและโอกาสของขบวนการแพทย์ชนบทจะช่วยให้สังคมไทยสามารถใช้ประโยชน์จากขบวนการนี้ได้

    เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้วศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ&nbsp; วะสี&nbsp; ได้เขียนบทความ&nbsp; "ศักยภาพของแพทย์"&nbsp; โดยชี้ให้เห็นว่าแพทย์อยู่ในฐานะที่ดีกว่าคนอื่นอย่างน้อยในสถานะ&nbsp; ๔<br />

ดังต่อไปนี้  ๑)  ฐานะทางเศรษฐกิจ  ๒)  สติปัญญา  ๓)  สถานะภาพทางสังคม  ๔)  มีทางเลือก
ทั้งนี้  ในบทความดังกล่าวเข้าใจว่าผู้เขียนคงมุ่งหวังให้แพทย์ซึ่งเป็นบุคคลที่ผู้เขียนเห็นว่ามีศักยภาพสูงสามารถช่วยพัฒนาสังคมให้เกิดความสุขสมบูรณ์

    แต่กล่าวสำหรับแพทย์ชนบทแล้ว&nbsp; ศักยภาพของแพทย์เป็นศักยภาพของขบวนการแพทย์ชนบท&nbsp; ซึ่งเกิดจากการรวมตัวเพราะมีจิตสำนึกสาธารณะ&nbsp; (Civic Consciousness)&nbsp; และมี

อุดมการณ์เพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตนหรือกลุ่มวิชาชีพของตน  ซึ่งอุดมการณ์นี้สะท้อนให้เห็นได้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการรวมตัวเป็นขบวนการ  การกำหนดวัตถุประสงค์ของ  "สหพันธ์แพทย์ชนบท"  และ  "ชมรมแพทย์ชนบท"  ไม่ใช่อุดมการณ์ของปัจเจก  แต่เป็นอุดมการณ์ของกลุ่ม  อุดมการณ์เหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งเป็นเสมือนบรรทัดฐานให้คนในขบวนการนี้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติให้เป็นไปตามความคาดหวังของเพื่อนสมาชิกและของสังคม  จึงได้รับความยอมรับของสังคมสูง  เมื่อมีประเด็นปัญหาทางการแพทย์  หรือสาธารณสุข  หรือในกระทรวงสาธารณสุข  จะมีคำถามจากสื่อมวลชนและสังคมว่า  "แพทย์ชนบทมีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร"  หรือ  "ทำไมแพทย์ชนบทไม่มีความเห็นหรือเคลื่อนไหวในเรื่องนี้"  ภาพลักษณ์  (Identity)  และความเชื่อถือของสังคม  (Credibility)  ของขบวนการแพทย์ชนบท  จึงเป็นทุนทางสังคม  และเป็นโอกาสในการร่วมพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไป

    การรวมกลุ่มเป็นขบวนการ&nbsp; และการจัดโครงสร้างของขบวนการในการทำงานที่มีลักษณะความสัมพันธ์แนวราบ&nbsp; (Civic Organizations)&nbsp; ทำให้มีกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติอย่างกว้างขวาง&nbsp; (interactive learning through action)&nbsp; อีกทั้งมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน&nbsp; ให้กำลังใจกัน&nbsp; ถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นตั้งแต่ท่านอาจารย์หมอเสม&nbsp; พริ้งพวงแก้ว&nbsp; ท่านอาจารย์หมอประเวศ&nbsp; วะสี&nbsp; ท่านอาจารย์หมอบรรลุ&nbsp; ศิริพานิช&nbsp; ท่านอาจารย์หมอไพโรจน์&nbsp; นิงสานนท์&nbsp; ฯลฯ<br />

จึงเป็นโครงสร้างของขบวนการที่มีทั้งทุน  ปัญญาและบารมี

    พัฒนาการตลอดช่วงเสี้ยวศตวรรษที่ผ่านมา&nbsp; ขบวนการนี้ได้เติบโตและมีเครือข่ายขยายออกไปอย่างกว้างขวาง&nbsp; (Civic Network)&nbsp; จากจุดเริ่มต้นที่สหพันธ์แพทย์ชนบทมาเป็นชมรมแพทย์ชนบท&nbsp; และต่อมาเชื่อมต่อกับมูลนิธิแพทย์ชนบท&nbsp; ซึ่งประกอบด้วยปูชนียบุคคลในวงการแพทย์และสาธารณสุขเป็นกรรมการมูลนิธิ ฯ&nbsp; ทำให้มีบารมี&nbsp; อีกทั้งมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน&nbsp; ต่อมาได้ขยายบทบาทเข้าไปในสภาวิชาชีพ&nbsp; การเข้าไปร่วมงานกับองค์กรเอกชนด้านสาธารณสุข&nbsp; การมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับสื่อมวลชน&nbsp; และบางส่วนเชื่อมโยงหรือเข้าไปทำงานทางการเมือง<br />

(ส.ส., ส.ว.)  โดยมีการสื่อสารผ่านจุลสารและวารสารของชมรมแพทย์ชนบทโดยสม่ำเสมอ
ขบวนการแพทย์ชนบทจึงมีโครงสร้างในลักษณะสถาบันแบบเครือข่ายในที่สุด

    พัฒนาการดังกล่าว&nbsp; จากขบวนการแพทย์ชนบทจนเป็นสถาบันเครือข่ายแพทย์ชนบท&nbsp; ที่มีโครงสร้าง กลไก กระบวนการและวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงถักทอเป็น เครือข่ายทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง ทั้งในระดับฐานรากของสังคมจนถึงระดับนานาชาติ&nbsp; ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ&nbsp; ภายใต้โครงสร้างของสถาบันเครือข่าย ฯ นี้&nbsp;  สมาชิกแพทย์ชนบทจึงกระจายอยู่ในเกือบ

ทุกภาคส่วนของสังคมไทย

    จึงอาจกล่าวได้ว่าสถาบันเครือข่ายแพทย์ชนบทสามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายจากประชาสังคมท้องถิ่น (Local civil society)&nbsp; จนถึงประชาสังคมโลก (Global civil society)<br />

๔.  ทิศทางในอนาคต สถาบันเครือข่ายแพทย์ชนบทจึงเป็นปรากฏการณ์ในสังคมไทยที่อาจกล่าวได้ว่า เป็นความงามที่ประดับไว้ในแผ่นดินไทย  และไม่ง่ายนักที่จะเกิดขึ้นในแผ่นดินอื่น  เพราะเหตุปัจจัยที่ต่างกัน

    สถาบันเครือข่ายแพทย์ชนบทจึงนับเป็นทุนทางสังคมอันไพศาลที่สมาชิก&nbsp; ทั้งรุ่นอาวุโสสูง (แพทย์ผู้สูงอายุ) รุ่นอาวุโส&nbsp; รุ่นกลาง&nbsp; และรุ่นใหม่&nbsp; ตลอดจนสมาชิกในรุ่นหน้า&nbsp; สามารถใช้เป็นเครื่องมือ (รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ)&nbsp; ในการสร้างและพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้&nbsp; สังคมเข้มแข็ง (civil society)&nbsp; การเมืองภาคพลเมือง&nbsp; ประชาธิปไตยแบบการมีส่วนร่วม (ทางตรง)&nbsp; เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็น