สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

หนังสือสัญญาเช่ารถ ที่ไม่เป็นธรรม ต่อผู้เช่า

by คุณปรีชา @11 ก.ย. 54 20:52 ( IP : 49...99 ) | Tags : คุยกับทีมงาน

กราบเรียน สื่อสารมวลชน ทุกท่าน

เรื่อง หนังสือสัญญาเช่ารถ ที่ไม่เป็นธรรม ต่อผู้เช่า

ข้อมูลผู้แจ้ง
นายปรีชา วัชระนัย  โทร. 081408-7373

ประวัติงานผู้แจ้ง

เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและการตลาด บริษัท เยนเนรัลคอมเทค จำกัด

รักษาการผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท แทคแท็ค จำกัด

ผู้สื่อข่าวนิตยสาร 100 วัตต์ (นิตยสารเกี่ยวกับวิทยุสื่อสาร)

รองประธานฝ่ายบริหารศูนย์ปลอดภัยกระทรวงคมนาคม

อนุกรรมการฝ่ายวิทยุสมัครเล่น ประจำศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

คณะอนุกรรมการฝ่ายวิทยุสมัครเล่น สำนักงาน กสทช.

เหตุการณ์ดังนี้

เมื่อวันที่ 4 กันนายน ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าพร้อมทีมงานมีความประสงค์เดินทางไปทำงานที่สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ และได้ติดต่อเช่ารถ จาก หจก. หาดใหญ่รถเช่า จำนวน 4-5 วัน ในการพูกคุยในโทรศัพท์  โดยมีค่าโอนเงินค่ามัดจำรถเป็นจำนวน 2,000 บาท โดยวิธีการโอน และเมื่อวันที่ 6 กันนายน 2554 ข้าพเจ้าพร้อมทีมงานได้ถึง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เจ้าหน้าทางรถเช่า ก็มารับข้าพเจ้าที่ ทางรถ บขส. เพื่อไปทำสัญญาเช่ารถกัน ข้าพเจ้าได้ลงลายมือในสัญญารถเช่า จำนวน 5 วัน ซึ่งได้ชำระค่าประกันรถยนต์ เป็นจำนวนงนเงิน 5,000 บาท ค่าเช่ารถ วันละ 1,200 บาท จำนวน 5 วัน เป็นจำนวนเงิน 6,000 บาท รวมทั้งสิ้น 11,000 บาท หักยอดที่โอนมาล่วงหน้า 2,000 บาท จึงได้ชำระเป็นเงินสดเป็นจำนวนเงิน 9,000 บาทถ้วน  และได้คุยกับเจ้าหน้าที่ว่าถ้าเสร็จงานก่อน สามารถนำรถมาคืนก่อนพี่จะคืนเงินประกันค่าเช่ารายวันให้ได้ไหม พี่เค้าบอกว่าคุยกันได้ เราเองก็สบายใจเพราะว่าเราก็เคยใช้บริการพี่เค้ามาแล้ว 1 ครั้ง
เหตุการณ์เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน 54 เวลาประมาณ 16.00 น.  ข้าพเจ้า ได้โทรมาแจ้งความจำนงในการคืนรถเช่าก่อนกำหนด เพราะว่างานเสร็จแล้ว จึงโทรแจ้งให้เจ้ารถเช่ามารับคืน  และข้าพเจ้าก็ได้รับเงินค่าประกันภัยรถยนต์คืน เป็นำจำนวนเงินคืน 5,000 บาท และคิดว่าจะได้รับเงินค่าเช่ารายวันอีก 1 วัน ที่ได้ส่งคืนรถก่อนกำหนด เป็นจำนวนเงิน 1,200 บาท  ปรากฏว่าเจ้าที่ หจก.หาดรถเช่า มิได้ได้คืนเงินค่าเช่ารายวัน อีก 1 วัน เป็นจำนวนเงิน 1,200 บาท ตามหนังสือสัญญาเช่ารถ “ข้อ 8 หากผู้เช่า ตกลงทำสัญญา เช่ากัน ตามจำนวนวัน/เวลา ที่ตกลงข้างต้น แต่นำรถที่เช่าไปมาคืนก่อนกำหนดให้ถือว่าสิ้นสุดการเช่า และทางบริษัท จะไม่คืนเงินส่วนที่เหลือกลับคืนให้ “ ข้าพเจ้าได้ทักทวงและได้ทำการโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเพื่อประนีประนอมกับทางฝ่ายเจ้าของรถเช่า ซึ่งปรากฏว่า ไม่สามารถคุยกันได้ และได้ไล่ให้ข้าพเจ้ามาแจ้งความไว้ ดังเอกสารสถานีตำรวจหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดย  รตอ.ปาณชัย ปรีชา พนส.ได้รับแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน

ข้อเสนอแนะ อยากให้ทางรายการช่วยดำเนินการสอบถามให้ด้วยคับ ว่าเหตุการณ์ในลักษณะแบบนี้ ประชาชนเราจะมีวิธีการรับมือกับสัญญาเช่ารถ ที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้เช่าได้อย่างไร

ขอแสดงความนับถือ

นายปรีชา วัชระนัย

        ทนายคลายทุกข์ขอนำเรื่องข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคมานำเสนอ  ซึ่งปัจจุบันมีข้อสัญญาที่เอาเปรียบผู้บริโภคทุกสินค้าและบริการ เช่น รถยนต์ บ้าน  ที่ดิน  ฟิตเนส  ห้างสรรพสินค้า  เป็นต้น  และนับวันสัญญาที่เอาเปรียบประชาชนยิ่งมีมากขึ้น  ตัวอย่างของสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่เอาเปรียบผู้บริโภคมีดังต่อไปนี้ 1. การจองรถทั้งรถใหม่และรถเก่า  มีข้อยกเว้นความรับผิด เช่น ส่งมอบรถช้า  ขอเงินคืนไม่ได้  เรียกร้องค่าเสียหายหรือดอกเบี้ยไม่ได้ 2. ใบรับรถ  มีการยกเว้นว่า ได้ตรวจสอบสภาพรถแล้วยอมรับว่ารับรถในสภาพที่สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว  แต่ปรากฏว่า ยังชำรุดบกพร่องซ่อนอยู่ 3. จองรถแล้วกู้ไม่ผ่าน จ่ายเงินดาวน์แล้ว ผู้รับจอง/เต็นท์ ไม่ยอมคืนเงินดาวน์หรือเงินที่ผ่อนชำระไปแล้ว 4. ซื้อรถใหม่ พนักงานของศูนย์ นำรถมาส่งให้กับผู้บริโภค แต่ให้ลงนามในใบส่งมอบรถว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุระหว่างทางศูนย์ไม่ต้องรับผิดชอบ  และให้ผู้ซื้อรับผิดชอบเอง 5. ให้เช่าซื้อรถยนต์  ส่งมอบรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อเป็นรถป้ายแดง แต่ไม่ยอมส่งป้ายดำตามปกติ  เป็นเหตุให้ตำรวจปรับทุกวัน และไฟแนนซ์มีสัญญายกเว้นความรับผิดไว้ 6. ฟิตเนส  มีข้อยกเว้นห้ามยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด  ถ้าเลิกสัญญาก่อนกำหนด จะต้องถูกปรับเป็นเงินจำนวนมาก เท่ากับระยะเวลาตามข้อตกลง 7. ฟิตเนส ให้บริการลูกค้าเป็นจำนวนมาก  ปริมาณผู้ใช้บริการมากกว่าอุปกรณ์ออกกำลังกาย  ทำให้ไม่เป็นไปตามที่ตกลง  แต่มีข้อสัญญาห้ามบอกเลิกสัญญา 8. รถเช่าตามสนามบิน มีเอกสารจำนวนหลายรายการให้ลูกค้าลงนามก่อนใช้บริการ  ยกเว้นความรับผิดอันเกิดจากความบกพร่องของรถยนต์  โดยมีข้อสัญญาระบุไว้  รวมทั้งมีข้อความสละสิทธิ์ในเงินค้ำประกันความเสียหายจำนวน  20,000 บาท โดยประมาณที่รูดบัตรเครดิตตอนใช้บริการ  ทั้งที่ยังมีข้อโต้แย้งเรื่องการละเมิด และจำนวนค่าเสียหาย 9. แฟรนไชส์  มีการกำหนดยืนยันว่า ถ้าซื้อแฟรนไชส์รับประกันรายได้  แต่ไม่เป็นไปตามโฆษณามีข้อความระบุห้ามเลิกสัญญา สละสิทธิ์ในการขอคืนเงินและไม่มิสิทธิ์ขอเงินคืน 10.ตลาดนัดเปิดตลาดใหม่  ระบุว่าจะมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ามาใช้บริการ  มีที่จอดรถ  แต่ไม่มีการประชาสัมพันธ์  แม่ค้าขายสินค้าไม่ได้  แต่สัญญาระบุห้ามขอคืนเงินหรือเลิกสัญญา 11.จองบ้านหรือคอนโด  ไม่มีกำหนดเวลาสร้างเสร็จ  ห้ามบอกเลิกสัญญา 12.จองบ้านผ่อนดาวน์ครบ  กู้ไม่ผ่านไม่ยอมคืนเงิน  มีข้อตกลงไม่มีการคืนเงินหรือริบเงิน 13.อาคารจอดรถตามห้าง  มีระบบรักษาความปลอดภัยแต่รถหาย  เพราะความประมาทในการรักษาความปลอดภัย  แต่มีข้อสัญญาไม่รับผิดชอบความเสียหาย 14.สัญญาว่าจ้างกำจัดปลวก  มีการรับประกันว่าปลวกจะไม่กินบ้าน  แต่ปลวกกินบ้านมีข้อสัญญายกเว้นความรับผิด 15. สัญญาให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ให้บริการความเร็วต่ำกว่าที่ตกลง  แต่มีสัญญายกเว้นความรับผิดไว้ว่า  ผู้ใช้บริการไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย หากท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  สอบถามได้ที่ทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700 หรือ www.decha.com ยินดีให้คำแนะนำเพื่อป้องกันสิทธิของท่านเอง  ก่อนลงนามในสัญญาควรอ่านให้ละเอียดก่อนลงนามรับเงื่อนไขนะครับ  และเมื่อลงนามแล้ว  ท่านยังมีสิทธิฟ้องศาลให้ยกเลิกแก้ไขได้ เพราะถือว่าไม่มีข้อสัญญาดังกล่าวอยู่ ตัวบทกฎหมายอ้างอิงเกี่ยวกับสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4  ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความสัญญาสำเร็จรูปไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งมิได้เป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปนั้น ข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น (1)  ข้อตกลงยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญา (2)  ข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด (3)  ข้อตกลงให้สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ (4)  ข้อตกลงให้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือปฏิบัติตามสัญญาในระยะเวลาที่ล่าช้าได้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (5)  ข้อตกลงให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกร้องหรือกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา (6)  ข้อตกลงในสัญญาขายฝากที่ผู้ซื้อฝากกำหนดราคาสินไถ่สูงกว่าราคาขายบวกอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี (7)  ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดราคาค่าเช่าซื้อ หรือกำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับภาระสูงเกินกว่าที่ควร (8)  ข้อตกลงในสัญญาบัตรเครดิตที่กำหนดให้ผู้บริโภคต้องชำระดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าใช้จ่ายหรือประโยชน์อื่นใดสูงเกินกว่าที่ควรในกรณีที่ผิดนัดหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการผิดนัดชำระหนี้ (9)  ข้อตกลงที่กำหนดวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นที่ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระสูงเกินกว่าที่ควร ในการพิจารณาข้อตกลงที่ทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสาม จะเป็นการได้เปรียบเกินสมควรหรือไม่ ให้นำมาตรา 10 มาใช้โดยอนุโลม

Comment #1ช่วยแก้ไข
ภาสกร บำรุง (Not Member)
Posted @25 มี.ค. 55 13:31 ip : 101...28

ให้ทางร้านเขาสลักหลังสัญญาตามตกลง และบันทึกเสียงจากมือถือเราเองเป็นหลักฐาน ก็คงแก้ไขได้(ถ่ายสัญญา 1 ฉบับเป็นหลักฐานเก็บไว้ครับไม่มีปัญหา แต่เปลี่ยนที่ใหม่ดีกว่าครับแน่นอน มีเยอะไป

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว