สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

ดูงาน - กระบวนการทำงาน FAB MODEL

by Little Bear @31 พ.ค. 52 22:32 ( IP : 61...63 )

FAP MODEL (Family and Community Assesment Program) เป็นระบบที่ใช้งานอยู่ที่ สอ.บางปู ของ อบต.ปากพูน

ผลที่ได้อย่างหนึ่งคือ สรุปภาวะสุขภาพรายครอบครัว เช่น สุขภาพของสมาชิก , โครงสร้างครอบครัว , โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ฯลฯ

FAB3 เพิ่มแฟ้มชุมชน ซึ่งประกอบด้วยสถานที่ , คน และระบบทางสังคม ใช้กระบวนการ 5 กระบวนการเข้ามาจับในการทำงาน มีปฎิทินชุมชน

ปี 47 ทุกหมู่บ้านเริ่มออกกำลังการเป็นหลักเพราะข้อมูลที่ได้แสดงถึงผลของปัญหาสุขภาพ

โครงการของสถานีอนามัย

  • จัดให้มีคลินิก NP
  • จัดให้มีคลินิกโรคเรื้องรัง
  • โครงการพัฒนาเยาวชนด้านการรักษาพยาบาล โดยเอาเด็กทั้งหมด 200 กว่าคนไปอบรมที่ ม.วลัยลักษณ์ เป็นเวลา 5 วัน ให้เป็นหนูน้อยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หนูน้อยพยาบาล เด็กกลุ่มนี้ได้พัฒนามาเป็น อสม.น้อยในเวลาต่อมา

ปี 2548 มีการทำโครงการ "การพัฒนารูปแบบชุมชนสุขภาพ : กรณีศึกษาบ้านศาลาบางปู

เป็นการศึกษาขุมทรัพย์(ทุนทางสังคม)ทางสุขภาพในชุมชน , การสร้างเครือข่าย , การบูรณาการความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี , มีความเสมอภาค , ระบบการดูแลสุขภาพ

ทำให้ FAB3 ไม่เพียงพอต่อการทำงาน เนื่องจากเป็นการจัดการข้อมูลเชิงคุณภาพ ไม่ใช่ข้อมูลเชิงปริมาณ จึงพัฒนาเป็น FAP4

ทำให้ทราบปัญหาหลักของหมู่บ้าน คือ

  1. สมาชิกมีปัญหาสุขภาพทุกหมู่บ้าน
  2. ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
  3. บกพร่องด้านการดูแลสุขภาพ

โครงการที่เกิดขึ้น คือ

  1. งานวิจัย การพัฒนาเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ
  2. งานวิจัย
  3. การจัดการข้อมูลสารสนเทศ GIS

มีการดูแลเรื่องอาหาร

ปี 2550

มีการประยุกต์ใช้ GIS มาใช้งานอย่างจริงจัง ผ่าน Google Map แสดงตำแหน่งบ้านเรือน , ใช้สีแสดง

เจาะลึกการทำงานลงไปถึงแต่ละครัวเรือน ผลของ GIS ทำให้ทราบพื้นที่ที่มีปัญหาอย่างชัดเจน เป็นการลงไปแก้ปัญหาระดับครัวเรือนหรือกลุ่มครัวเรือน

ปี 2551 FAB6 - พัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน มีการผลิตผงนัวรั้วกินได้สำหรับใช้แทนผงชูรส โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ ทดลองทำมา 5 สูตร แล้วนำมาทดลองปรุงอาหารแข่งกัน

อบรมการใช้และอบรมการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งการตรวจสอบข้อมูลมีความสำคัญมากที่ทุกอย่างต้องถูกต้อง 100% โดยชาวบ้านที่เป็นผู้รับผิดชอบจะเป็นคนตรวจสอบข้อมูลกันเอง

มีการคัดแกนนำจาก 12 หมู่บ้าน

ช่วงเก็บข้อมูลใช้เวลา 2 เดือน โดยเก็บข้อมูลทุกครัวเรือน ทุกคน เก็บทุกตำบลทั้ง 12 ตำบล ให้ อสม.น้อยบันทึกข้อมูลเก็บ เอาแกนนำ 15 คนมาตรวจสอบข้อมูล วิเคราะห์แล้วแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย ให้แกนนำหรือผู้จัดการหมู่บ้านนำข้อมูลไปเล่าให้ฟังกันเอง

ชาวบ้านจะเป็นผู้เขียนโครงการเพื่อแก้ปัญหาในหมู่บ้านของตนเอง ซึ่งปัญหาเดียวกันแต่อาจจะใช้วิธีแก้ปัญหาไม่เหมือนกันเช่นปัญหาเรื่องการกำจัดยุง บางหมู่บ้านมีต้นมะพร้าวมาก กระรอกเจาะมะพร้าว เมื่อมะพร้าวร่วงจะมีน้ำขังในลูกมะพร้าว ทางแก้ก็เพียงคว่ำลูกมะพร้าวไม่ให้น้ำขัง แต่อีกหมู่บ้านยุงเกิดจากน้ำขังในทุ่งนาก็ใช้วิธีปล่อยปลาวาน (มาจากปล่อยปลาหางนกยูงวานให้เพื่อนไปปล่อย)

กระบวนการทำงาน FAB MODEL

  1. การสร้างทีมงาน คณะทำงานเพื่อการนำใช้ฐานข้อมูล
  2. การใช้แบบสอบถามประเมินชุมชน
  3. การจัดการฐานข้อมูลสุขภาพ
  4. การบันทึกข้อมูล
  5. การวิเคราะห์และประมูล
  6. การทำประชาคม
  7. การจัดทำแผนสุขภาพชุมชน
  8. การดำเนินงานโครงการ
  9. การนำเสนอผลการดำเนินโครงการ

ปี 2552 - โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อการจัดการสุขภาวะโดยชุมชน

ใช้ พัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง การสร้างองค์ความรู้ การจัดการความรู้ การสื่อสารสาธารณะ เป็นตัวหลัก โดยพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (คน สถานที่ กระบวนการถ่ายทอดพ สื่อการสอน) การจัดการสุขภาวะชุมชนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการวิจัยและพัฒนา ไปสู่รูปแบบการจัดการสุขภาวะโดยชุมชน ศักยภาพของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ชุดความรู้เฉพาะพื้นที่เพื่อการจัดการสุขภาวะชุมชน ที่จะนำไปสู่ ตำบลสุขภาวะ

การขับเคลื่อนเครือข่ายการจัดการสุขภาวะโดยชุมชนด้วย 3 เครือข่าย คือ

  • เครือข่ายการจัดการเฉพาะประเด็นของพื้นที่โดยชุมชน
  • เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการจัดการสุขภาวะโดยชุมชน
  • เครือข่าย อปท. การจัดการสุขภาพโดยชุมชน

แนวคิด

  • ตำบลต้นแบบเป็นที่ปรึกษา
  • คิดเชิงบวก

FAP7 ระบบการพัฒนาข้อมูลเพื่อสร้างสุขภาวะของชุมชน ยังอยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการเพื่อกำหนดทิศทางในการทำงาน

ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่อยู่กับเรื่องกระบวนการและการเก็บรวบรวม-ตรวจสอบข้อมูล ซึ่งใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ข้อมูลและเจ้าของข้อมูลมามีส่วนในการจัดเก็บรวบรวมและตรวจสอบ

ขั้นตอนการทำประชาคม

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมการ - ประชาสัมพันธ์ เตรียมข้อมูล

ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการการประชุม - การเสนอข้อมูล

วิสัยทัศน์ของ อบต.

  • การใช้ข้อมูลกำหนดนโยบาย
  • ใช้แผนพัฒนาขับเคลื่อนงาน
  • การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม
  • การประเมินผลการดำเนินงาน
  • การพัฒาอย่างต่อเนื่อง

ออกแบบกิจกรรมสร้างสุขภาพวะจากปัญหาและความต้องการของชุมชนจริง มีข้อมูล เห็นข้อมูลจริง กำหนดกลุ่มประชากรเป้าหมาย กำหนดปัจจัย

Comment #1โปรแกรม นี้ สามารถใช้งานผ่าน Network ได้หรือไม่ครับ
กิตติ ลิมปวรางกูร (Not Member)
Posted @5 พ.ย. 54 13:49 ip : 180...189

สวัสดีครับ สอบถามครับ พอดีผมมีเพื่อนทำงาน ที่ อ.บ.ต. แห่งหนึ่ง ใน จ.สุรินทร์ ได้ใช้งานโปรแกรมตัวนี้อยู่ แต่เป็นแบบ Stand alone อยากทราบว่า โปรแกรมนี้สามารถทำงานพร้อมกันได้หรือไม่ และอยากจะทราบว่าสามารถใช้งานได้จำนวนกี่เครื่อง หากมีการทำงานพร้อมกัน มีหลักการอย่างไร  ขอบคุณมากครับ

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว