สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

น้ำขวด: ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก

by Momo @10 พ.ย. 49 10:29 ( IP : 61...97 ) | Tags : ข่าวสุขภาพประจำวัน

ข่าวที่ไม่เป็นข่าว ประจำปี พ.ศ. 2549 - โดย ภัควดี

ผู้บริโภคใช้จ่ายเงินรวมกันถึง 100 พันล้านดอลลาร์ต่อปีไปกับน้ำขวด ด้วยความเชื่อ-ที่ส่วนใหญ่เป็นความเชื่อผิด ๆ ว่า-น้ำขวดดีกว่าน้ำก๊อก การบริโภคน้ำขวดทั่วโลกพุ่งขึ้นถึง 41 พันล้านแกลลอนในปี ค.ศ. 2004 มากกว่าปี ค.ศ. 1999 ถึง 57%

"แม้แต่ในพื้นที่ที่น้ำประปาดื่มได้อย่างปลอดภัย ความต้องการน้ำขวดก็ยังเพิ่มขึ้น ทั้ง ๆ ที่มันก่อให้เกิดขยะอย่างไม่จำเป็นและสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมหาศาล" เป็นรายงานของเอมิลี อาร์โนลด์ นักวิจัยแห่งสถาบันนโยบายโลก (Earth Policy Institute)

"แน่นอน น้ำดื่มสะอาดราคาเหมาะสมเป็นหัวใจสำคัญต่อสุขภาพของชุมชนโลก" อาร์โนลด์ยืนยัน "แต่น้ำขวดไม่ใช่คำตอบในโลกพัฒนาแล้ว อีกทั้งมันไม่ได้แก้ปัญหาให้ประชากรอีก 1.1 พันล้านคนที่ขาดแคลนแหล่งน้ำด้วย การพัฒนาและขยายระบบน้ำประปาที่สะอาดและปลอดภัยต่างหาก น่าจะเป็นคำตอบของการมีแหล่งน้ำที่ยั่งยืนในระยะยาว" สมาชิกขององค์การสหประชาชาติเห็นพ้องต้องกันว่า จะต้องหาทางลดจำนวนประชากรที่ขาดแคลนแหล่งน้ำดื่มลงครึ่งหนึ่งภายในปี ค.ศ. 2015 เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ชุมชนโลกต้องเพิ่มงบประมาณในการจัดทำน้ำประปาจาก 15 พันล้านดอลลาร์ต่อปีในขณะนี้ขึ้นไปอีก 2 เท่า แม้ว่าตัวเลขจะดูมากมาย แต่ถือว่าจิ๊บจ๊อยเมื่อเทียบกับการใช้จ่ายถึง 100 พันล้านดอลลาร์ต่อปีไปกับน้ำขวด

น้ำประปาส่งมาถึงเราได้ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภา พ ในขณะที่น้ำขวดต้องขนส่งเป็นระยะทางไกล หลายครั้งต้องข้ามพรมแดน ใช้ทั้งเรือ รถไฟ เครื่องบินและรถบรรทุก เท่ากับสิ้นเปลืองน้ำมันไปเป็นจำนวนมาก

ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2004 เพียงปีเดียว บริษัทน้ำในเฮลซิงกิส่งน้ำขวดสัญชาติฟินแลนด์ถึง 1.4 ล้านขวดลงเรือรอนแรมไปซาอุดีอาระเบียที่ไกลออกไปถึง 2,700 ไมล์ และแม้ว่าน้ำขวด 94% ที่ขายในสหรัฐอเมริกาจะผลิตขึ้นภายในประเทศก็ตาม แต่ชาวอเมริกันก็ยังนำเข้าน้ำขวดจากฟิจิที่ไกลออกไปตั้ง 9,000 กิโลเมตร เพื่อตอบสนองสิ่งที่อาร์โนลด์เรียกว่า "น้ำขวดเพื่อความเท่และความเทศ"

การบรรจุน้ำลงขวดต้องสิ้นเปลืองน้ำมันอีกเช่นกัน ขวดน้ำส่วนใหญ่ทำจากพลาสติกที่ได้จากน้ำมันดิบ "เฉพาะการผลิตขวดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวอเมริกัน ก็ต้องใช้น้ำมันไปถึง 1.5 ล้านบาร์เรลต่อปี เท่ากับน้ำมันที่เติมให้รถราว 100,000 คันวิ่งได้ทั้งปี" อาร์โนลด์ตั้งข้อสังเกต

พอดื่มน้ำหมดขวด ขวดน้ำก็กลายเป็นขยะ ขวดน้ำพลาสติก 86% ในสหรัฐฯ ลงเอยในถังขยะ การเผาขวดก่อให้เกิดสารพิษ เช่น ก๊าซคลอรีน และขี้เถ้าที่มีโลหะหนัก ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสัตว์ หากกำจัดด้วยการฝังดิน ขวดน้ำต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 1,000 ปี

ทั่วทั้งโลก พลาสติกราว 2.7 ล้านตันหมดไปกับการผลิตขวดน้ำทุกปี ในขณะเดียวกัน ชุมชนที่เป็นแหล่งน้ำต้องเสี่ยงกับการขาดแคลนน้ำเสียเอง ในอินเดีย มีมากกว่า 50 หมู่บ้านที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ หลังจากบรรษัทโคคา-โคลาเข้ามาดูดน้ำไปขายเป็นน้ำขวดยี่ห้อ Dasani ปัญหาคล้ายคลึงกันเกิดขึ้นในรัฐเท็กซัสและในเขตเกรทเลกของอเมริกาเหนือ

ชาวอเมริกันบริโภคน้ำขวดต่อหัวมากที่สุดในโลก แต่ปริมาณการบริโภคกำลังพุ่งสูงขึ้นในประเทศที่มีประชากรหนาแน่น เช่น ในเม็กซิโก อินเดียและจีน แน่นอน ผู้ที่ได้กำไรจากน้ำขวดมากที่สุดย่อมเป็นบริษัทเอกชนผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำขว ดนั่นเอง

คำถามสำคัญที่เราควรถามก็คือ ถ้าหากระบบน้ำประปาสาธารณะสามารถผลิตน้ำดื่มที่มีคุณภาพได้ในราคาประหยัดกว่ าแล้ว อะไรคืออุปสรรคที่ทำให้ไม่เกิดการลงทุนในเรื่องนี้ทั้งในประเทศร่ำรวยและยาก จน และประชาชนอย่างเราจะเอาชนะอุปสรรค์เหล่านี้ได้อย่างไร?

Relate topics

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว