สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

สวย ทน ดี

**สวย ทน ดี**

“หาเช้ากินค่ำ” คำกล่าวกันทั่วไป อาจหมายถึงประชาชนคนธรรมดาของสังคมเรา เคยได้ยินคำว่า “หาค่ำกินเช้า”เหมือนกัน รัตภูมิเมื่อห้าปี สิบปีก่อน คงมีแต่ หาเช้ากินค่ำ

เมื่อโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาดำเนินกิจการในพื้นที่ มีการเข้าทำงานเป็นกะเป็นรอบทั้งกลางวันกลางคืน
เมื่อมีร้าน 7-11 เกิดขึ้นก็เริ่มมีคนหาค่ำกินเช้ามีโอกาสหาค่ำกินดึกขึ้นมา หรือว่ารัตภูมิของเราถึงยุคตื่น
ตื่นอยู่ดลอดเวลาอย่างน้อยก็มีคนตื่นมา “รับซาลาเปาเพิ่มไหมคะ?”

แล้ว “เช้าชามเย็นชาม”ละเกี่ยวหันไหม อีกซักคำ “กินข้าวให้มีแรงพอชักผ้าห่มได้” ความหมายใกล้เคียงกัน เรื่อย ๆ มาเรียง ๆ  ไม่รีบ ยังไงก็ได้ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว

เรื่องดี ๆ ดีกว่า เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีโอกาสเข้าร่วมประชุมที่บ้านนิคมพัฒนาเขาพูดด้วยเรื่องการจัด ทำบัญชีครัวเรือน จับประเด็นได้ว่าหลักการทำบัญชีครัวเรือน นั้นความซื่อสัตย์ต่อตัวเองสำคัญที่สุด

ต้องมีความซื่อสัตย์กับตัวเองแล้วการจัดทำบัญชีครัวเรือนก็จะประสพความสำเร็จในการออมลองคิดเล่น ๆ ดู
(ถ้าคิดแล้วทำจริงก็ได้ประโยชน์) ว่าเราจะลดรายจ่ายตามหลักพื้นฐานของการทำบัญชีครัวเรือน ลองลดค่าใช้จ่าย เช่นค่าโทรศัพท์มือถือเฉลี่ยเดือนละ 1,500 บาท (สองเครื่อง)หนึ่งปีเท่ากับ 18,000 บาท ถ้าลดส่วนนี้คงเป็นเงินมากโข แต่ ก็มีข้ออ้าง เหตุเพราะเราอยู่ในโลกแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน ไหนจะเป็นห่วงลูก ห่วงภรรยา คิดถึงเพื่อนกับธุรกิจอีกมายมายจริง ๆ  ขนาดภรรยาอยู่บนบ้านเรายังโทรถามว่า “น้องทำอะไรอยู่” เพียงตะโกนก็ได้ยิน  เชื่อแล้วละมันช่างไร้พรมแดนสำหรับการสื่อสารในสังคมปัจจุบันจริง ๆ

ส่วน ค่าอินเตอร์เน็ท ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เราต้องจ่ายรายเดือน เดือนละ 712 บาท(590 บวก ภาษี22บาทค่าคู่สายสำหนับโทรศัพท์พื้นฐานอีก100บาท) รวมแล้วเฉลี่ยปีละ 8,544บาท ข้ออ้างที่เอามาหักล้างก็เรามันต้องสืบค้นข้อมูลเพื่ออัพเดสตลอดเวลากลัวไม่ทันโลก ส่วนข้อมูลของลูกของหลานต้องon MSM กับ hi 5 ตั้งแต่กลับจากโรงเรียน จนถึงห้าทุ่มเที่ยงคืน ข้อมูลอยู่ที่เดียว hi555?

ขอถ่ายทอดเรื่อง ดี ๆ ของบัญชีครัวเรือนกันบ้าง คนทำบัญชีครัวเรือนมีอาชีพกรีดยาง เมื่อยามว่างก็ปลูกพืชปลูกผักตามฤดูกาล มีค่าใช้จ่ายเกินจำเป็นอยู่ชนิดหนึ่ง เขาใช้ชื่อในบัญชีครัวเรือนว่า “ค่าสร้างสรรค์สังคม” แปลเต็มตัวก็คือ ค่าเหล้า ค่าสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ค่าออกงานสังคมนั้นเอง ตั้งงบประมาณไว้ 600 บาทต่อเดือน เดือนไหนไม่จ่าย หรือจ่ายไม่หมด ก็จะยกยอดไปไว้เดือนหน้า ทำอย่างนี้จนครบรอบปี ถ้ามีเงินเหลือจากส่วนนี้ เขาบอกว่า จะนำไปซื้อสินค้าเกินจำเป็น จำพวกเครื่องใช้ ของเล่นให้ลูก ฯลฯ เขาบอกว่ามีงบส่วนนี้เหลือทุกรอบปี แต่ที่สำคัญก็คือต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง แบบ “ห้ามติดลม”

เรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้นหน้าร้าน ดี ดี เจ้าของร้านสร้างกิจกรรม “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย” ให้กับลูกจ้างในร้าน โดยการ ให้พื้นที่หน้าร้าน ขายสินค้าของว่างที่เรียกว่า “กะโป๊ะ” โดยการลงทุนให้ก่อนผ่อนทีหลัง(ปลอดดอกเบี้ย)
เมื่อขายได้แล้วค่อย ๆ ผ่อนค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ กลับมาชดใช้เงินทุนที่ลงไป  เจ้าของร้านบอกว่าเมื่อมาซื้อ กะโป๊ะ
แล้วเขาก็มาซื้อน้ำ ซื้อของในร้านเอง คิดบวกแบบนี้เลยใช้ชื่อว่า ร้าน “ดี ดี”

มุมคิดมุมมองก็คือ ที่หัวเตาแก๊ส สำหรับตั้งกระทะทอด กะโป๊ะ  มีการทำการตลาดสำหรับขายสินค้าของผู้ผลิต หัวเตาแก๊ส โดยการขึ้นรูปโลหะสำหรับทำเตาแก๊สว่า “สวย” และอีกคำหนึ่งว่า “ทน” แต่ไม่มีคำว่า “ดี” เลยแปลกใจ แต่เมื่อคิดอีกที มีคำว่า “ดี” ยกกำลัง2อยู่ในตัวแล้ว ก็ชื่อร้านนั้นแหละ “ร้าน ดี ดี” หรือ บางทีต้องบอกว่า

“เหตุ ดี ๆ ที่ร้าน ดี ดี”

หมายเหตุ ฯ

กะโป๊ะ คือข้าวเกรียบปลาแบบสด (หัวข้าวเกรียบ) ทำจากเนื้อปลาผสมแป้ง ปั้นเป็นก้อน ความยาวประมาณ
ศอกเศษ ๆ เวลาจะนำไปทอดต้องหั่นหนา ๆ ประมาณ .5-10 ซม.เป็นอาหารเฉพาะถิ่นขึ้นชื่อเป็นสินค้าotop
ของจังหวัดปัตตานี เป็นอาหารของชาวมุสลิม ที่คนทั่วไปนิยมบริโภค

...

Comment #1
Posted @2 ธ.ค. 52 14:51 ip : 118...137

แหม คิดได้งัย ค่าสังสรรค์สังคม ของผมเดือนนึงหลายเหมือนกันแฮะ... อย่างนี้จะคิดบัญชีกะคัยดีละนี่ อิอิ

Comment #2
Posted @4 ธ.ค. 52 15:48 ip : 222...247
  • รัตภูมิถึงยุคตื่นตลอดเวลา ฟังดูดีน่ะครับ
  • กรณีเงินค่าสังสรรค์สังคม ซึ่งแต่ละคนคงไม่เหมือนกันซะทีเดียว แต่ที่เหมือนกันคือไม่ได้เป็นรายจ่ายประจำที่จำเป็น น่าสนใจน่ะครับมีการตั้งงบประมาณด้วย คงขึ้นอยู่กับรายรับของแต่ละคน อาจจะ 5-10 % ของรายรับ ผมก็ทำอยู่ครับ รายรับ รายจ่าย เห็นเลยครับว่าเงินมันรั่วไปทางไหนบ้าง
ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว