สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

สมัชชาแผนสุขภาพตำบล (2)

รายงานการประชุมความร่วมมือเครือข่ายแผนตำบล

วันที่ 18 มิถุนายน 25 51 เวลา 10.00 – 14.00 น.

ณ สำนักงาน สปสช.สงขลา

ผู้เข้าร่วม

  1. ตัวแทนสสจ. ฝ่ายประสานเครือข่ายพันธมิตรสุขภาพ
  2. คณะทำงานเครือข่ายสร้างสุขภาพจ.สงขลา
  3. ตัวแทนประชาคมทุ่งหวัง
  4. ตัวแทนเทศบาลตำบลน้ำน้อย
  5. ตัวแทนสปสช.สงขลา

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น.

ที่ประชุมร่วมกันทบทวนที่มา อันเกิดจากความต้องการบูรณาการงานสร้างสุขภาพโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยดำเนินการร่วมกันระหว่างเครือข่าย แผนสุขภาพตำบล สช.(คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) สนับสนุนโครงการสมัชชาสุขภาพเชิงพื้นที่/ประเด็น/กลไกภาค/ HADI สสจ.และสมาคม อสม.จังหวัดสงขลา สปสช.(สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)สงขลา  พม. ที่มีการสนับสนุนเครือข่ายคุณธรรม ส่งเสริมสวัสดิการชุมชน เครือข่ายครอบครัว และสกว. มีการจัดทำแผนชุมชน โดยใช้บัญชีครัวเรือน ทั้งระดับบุคคล และกลุ่ม มีกระบวนการวิเคราะห์ จัดทำแผน

การดำเนินการของกองทุนสุขภาพระดับตำบล เงินสนับสนุนนั้น มาจากอบต. และสปสช. จัดตั้งกองทุนแล้วให้ชาวบ้านส่งโครงการเข้ามา คณะกรรมการจะมีการเรียกประชุมพิจารณาอนุมัติโครงการ

การจัดตั้งกองทุน สปสช.ลงขันกับอบต.(37.50 บ. X จำนวนประชากรx งบลงขันของอปท.ตามเกณฑ์) หากเป็นพื้นที่ระดับเทศบาลจะต้องลงขัน 50%  กองทุนนี้จะมีคณะกรรมการดูแล มีนายกอบต.เป็นประธาน สมาชิกอบต. 2 อสม. 2 เจ้าหน้าที่สอ. 1 คน ตัวแทนชุมชนหมู่ละ 1 คนและปลัดอบต.เป็นเลขานุการ

สปสช. มีระเบียบการใช้เงินกองทุน พื้นที่สามารถปรับระเบียบให้สอดคล้องกับพื้นที่

งบประมาณหลักประกันสุขภาพแยกย่อยเป็น 4 ก้อน (253 บ.)

  • PP.Far ใช้สำหรับป้องกันโรค
  • PP.COM ส่งเสริมสุขภาพชุมชน (37.50)
  • PP.Area แก้ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่
  • PP.Vertical ใช้สำหรับป้องกันโรค

บทบาทคณะกรรมการ

  1. ผลักดันเชิงนโยบาย
  2. สนับสนุนให้ชุมชนได้ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  3. ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพด้วยตัวเอง
  4. การจัดการสิ่งแวดล้อม
  5. พัฒนาศักยภาพบุคลากร

บทเรียน สปสช.

กรณีน้ำน้อย

เริ่มต้นกิจกรรม ปี 2549 (งบมา 2550)

บทเรียน

พื้นที่ทำงานมีข้อจำกัดกระชั้นด้วยเวลาและเป็นเรื่องใหม่ ปีแรกไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การทำงานในปีที่สองจึงได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น แต่ก็มีเงินเหลือ เนื่องจากใช้เฉพาะที่จำเป็น

อุปสรรค

  1. ติดขัดระเบียบ จึงได้มีการแก้ไขให้สอดคล้องกับพื้นที่
  2. สไตล์การทำงานของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน

ข้อเสนอ - จัดทำแผน (มีโครงการบูรณาการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่เทศบาล/ สอ./หน่วยงาน จัดทำแผน) - ชุมชนส่งโครงการขอการสนับสนุน เทศบาลขอได้ สอ.ขอได้

กรณีทุ่งหวัง

  • ยึดถือตามระเบียบ
  • การจัดทำแผน นำข้อมูลมือสองของสอ.มาให้คณะกรรมการดำเนินงาน
  • กลไก คณะกรรมการบริหาร อนุติดตาม/พี่เลี้ยง อนุปชส.
  • ประชุมพิจารณา อนุมัติโครงการ 100% และอนุมัติบางส่วน มีการทำสัญญา และรับงบดำเนินการ

บทเรียน

  1. ต้องมีพี่เลี้ยง ดูแลการใช้จ่ายเงิน/เอกสาร
  2. ทบทวน ทำความเข้าใจตอนทำสัญญา
  3. โครงการส่วนใหญ่ สอ.รับผิดชอบ

ข้อเสนอ

  1. การเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ ในประเด็นสุขภาพ  เช่น 6 อ. สุขภาวะ กฏออตตาวา โดยใช้อสม.จัดเก็บข้อมูล
  2. สร้างแบบสอบถาม จัดโปรแกรมข้อมูลภาพรวมพื้นที่/กิจกรรมงาน บุคคล ชุมชน มีนักจัดการข้อมูล เพื่อ Empowerment ระดับชุมชน จัดระบบข้อมูล/ตารางวิเคราะห์
  3. จัดทำแผน

ข้อเสนอ เริ่มต้นค่อยเป็นค่อยไป

  1. เพิ่มยุทธศาสตร์ สิ่งแวดล้อม นโยบายสาธารณะ ให้ชุมชนเข้าถึงงบโดยตรงมากขึ้น
  2. พัฒนาศักยภาพบุคลากร
  3. กำหนดสัดส่วนงบประมาณ ระหว่างการป้องกันโรค/ส่งเสริมสุขภาพ
  4. มีนักกลยุทธ์ระดับจังหวัด
  5. มีการประชุมกลุ่มย่อย จัดทำแบบสอบถาม โดยนัดหมายเตรียมการประชุม 12 กรกฏาคม 2551

นัดหมายครั้งต่อไป นำบทเรียนกรณีการใช้บัญชีครัวเรือนมาจัดทำแผนเป็นกรณีศึกษา วันที่ 23 กรกฏาคม 2551

ประเด็นเพิ่มเติม

โครงการเมืองไทยหัวใจมนุษย์

มาจาก สช.(คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) ร่วมมือกับ สปสช. เชื่อมประสานและขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ โดยใช้แนวทาง “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” พัฒนาตามหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง ประสานด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม/สิ่งแวดล้อม มนุษย์/ครอบครัว/ชุมชน/สังคม

ยุทธวิธี พัฒนาการเรียนรู้/การจัดการความรู้/การสื่อสาร/นโยบายสาธารณะ

เป้าหมาย เมืองไทยหัวใจมนุษย์

  • ค้นหาสิ่งดีๆ(บุคคล/เครือข่าย/องค์กร/ชุมชน)
  • ทำฐานข้อมูล/บันทึกเรื่องราวดีๆเผยแพร่
  • จัดการความรู้
  • พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • สื่อสาร
  • นโยบายสาธารณะ

ทั้งนี้ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พศ.2550 มี 4 เรื่องหลักที่จะดำเนินการ ได้แก่

  1. ธรรมนูญสุขภาพ
  2. HIA (ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ)
  3. นโยบายสาธารณะ
  4. สมัชชาสุขภาพ

โดยการบริหาร ระดมทรัพยากร(สช. สสส. สปสช.) มีสช.เป็นเลขานุการ และมีระยะเวลาดำเนินการ 2551-2554

ปิดประชุม

ไฟล์ประกอบเอกสาร
  1. tsk.pdf - ดาวน์โหลด
Comment #1อยากทราบงบPP Performance
Posted @8 ต.ค. 52 15:10 ip : 61...197

งบ    PP Performance ใหม่สุด 53 น่ารักน่าชังมากไหม๊เอ่ย

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว